5 เทคนิคฝ่าสภาวะ ร่วงโรย ไม่ฟิต จิตห่อเหี่ยว วัย 30 อัป

วันศุกร์ที่ 06 ตุลาคม พ.ศ. 2560

5 เทคนิคฝ่าสภาวะ ร่วงโรย ไม่ฟิต จิตห่อเหี่ยว วัย 30 อัป


สำหรับใคร ๆ ที่เข้าสู่ช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป คือช่วงระยะเวลาสำคัญของร่างกายและสภาวะจิตใจที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่วัยผู้ใหญ่เต็มตัว หน้าที่และความรับผิดชอบทางการงานก็เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้หน้าเหี่ยว ผิวไม่เด้ง ร่างกายไม่ฟิต ไม่เป๊ะปังเหมือนวัยหนุ่มสาว แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ อย่าละเลยที่จะดูแลตัวเอง #อย่าปล่อยให้เปลี่ยน

แพทย์หญิงกอบกุลยา จึงประเสริฐศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 2 กล่าวว่า “ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป ความสมดุลของฮอร์โมนจะเริ่มเปลี่ยนแปลง ทำให้ระดับพลังงานลดลงการเผาผลาญในร่างกายก็จะไม่มีประสิทธิภาพ หลายคนยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไหร่ สภาวะร่างกายก็ยิ่งเสื่อมโทรมและถดถอยลง” โดยเราสามารถสังเกตได้จากสัญญาณความร่วงโรย  ดังนี้   1. กระดูกและข้อเสื่อม เมื่อก่อนออกกำลังกายนิดหน่อยก็สบาย ทำกิจกรรมหนักเบาแค่ไหนก็ไม่ยี่หระ ไม่ปวดไม่เจ็บกล้ามเนื้อ แต่พอเวลาผ่านไป เริ่มมีอาการปวด มีเสียงกระดูกลั่น แม้กระทั่ง นั่ง นอน ยืน เดิน   2. มองอะไรก็ไม่ชัด สมัยสาวๆ สายตาจะเป็นปกติ แต่เมื่อมีการใช้สายตามาตลอด พอถึงวัยผู้ใหญ่บางรายสายตาจะสั้น บางรายสายตาจะยาว  3. ผมร่วง ขาดง่าย นอนตื่นมา อาบน้ำ หรือใช้ชีวิตประจำวันผลหลุดร่วงง่ายกว่า ตอนอายุยังน้อย นี่คือสัญญาณว่าคุณเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เต็มตัว

4. ผิวเหี่ยวย่น มีริ้วรอยไม่พึงประสงค์ปรากฏอยู่ทั้งบริเวณใบหน้าและร่างกาย สัมผัสผิวแล้วไม่นุ่ม ชุ่มชื้น และเปล่งปลั่งดังเดิม   5. ไม่อึด ถึก ทนทาน เมื่อก่อนสภาพร่างกายสามารถทนทรหดต่อกิจกรรมต่างๆ ได้นานและถี่แม้พักผ่อนน้อย แต่ความเหนื่อยล้า อ่อนแรง เพลีย ง่วงหงาวหาวนอน เกิดขึ้นบ่อยกว่าเดิม  และ  6. โกรธ โมโห เหวี่ยง อดทนต่อสิ่งแวดล้อม และผู้คนน้อยลง รู้สึกว่าทุกสิ่งอย่างมักไม่ได้ดังใจ และอารมณ์ร้อนอ่อนไหวเป็นที่สุด

ทั้งนี้  แพทย์แนะเติมวิตามินกาย-ใจ  ด้วยหลากหลายวิธี  ได้แก่ 

1. ฝึกออกกำลังกาย เรียกคืนระบบการเผาผลาญ - มีงานวิจัยจาก Missouri State University บอกว่าวัยซีเนียร์ควรออกกำลังกาย ที่ได้ใช้พลังงานและการยืดตัวเยอะๆ อย่างเช่น ปั่นจักรยานในร่ม และพยายามฝึกตัวเอง บริหารทุกส่วนของร่างกายเป็นประจำทุกสัปดาห์ เช่น เข่า แขน และเอว 

2. จัดระเบียบอาหารการกิน - ลดการกิน “หวาน มัน เค็ม” ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการจากสหรัฐอเมริกา เผยว่า อาหารที่เรารับประทานในแต่ละวัน ควรจำกัดโซเดียมให้ไม่เกิน 1,300 มิลลิกรัม และจำกัดคาเฟอีนที่ 200 – 300 มิลลิกรัม จะสามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ ได้ อย่างความดันโลหิตสูง 

3. ฝึกหายใจ เข้าออก นั่งสมาธิ - อยู่กับตัวเอง เราควรใช้ชีวิตในทุกๆ วัน ด้วยความไม่ประมาท ไม่โกรธ หรือโมโห กับทุกๆ เรื่อง และควรปล่อยวางเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจ ให้จิตใจได้วิตามินฟื้นพลัง

4. นอนให้พอ ควรหลีกเลี่ยงการเล่นโทรศัพท์ที่มีแสงจ้า หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท เพราะเครื่องมือเหล่านี้ รบกวนการนอนหลับของเรา ทำให้หลับไม่สนิท อีกทั้งปัจจัยอื่นๆ อย่างการทำงานดึก เราควรกำหนดเวลาการนอนของเรา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเราควรหลับอย่างน้อย 6-8 ชม. (ในช่วงเวลา 22.00 น.เป็นต้นไป ถ้าทำได้) 

5. ปรึกษาแพทย์เป็นกรณี - ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ช่วยให้เราได้ทราบข้อมูล ได้ง่ายขึ้นว่าร่างกายเรายังต้องการวิตามินตัวใด ด้วยโปรแกรมการตรวจระดับสมดุลของสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระ มีวีธีที่จะช่วยให้เราทราบ คือ การเจาะเลือดตรวจแบบพิเศษ จะสามารถทำให้เราทราบค่าพันธุกรรม ค่าเลือด และภาวะฮอร์โมนต่างๆ รวมไปถึงวิตามินหรือแร่ธาตุในร่างกาย ภายใต้การตรวจและติดตามอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ”

 

 




บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ