สคบ. แนะวิธีช็อปออนไลน์อย่างไร ไม่ให้โดนโกงเงินในยุคดิจิทัล

วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

สคบ. แนะวิธีช็อปออนไลน์อย่างไร ไม่ให้โดนโกงเงินในยุคดิจิทัล


ปัจจุบันเราคงปฏิเสธกระแสโลกาภิวัตน์เกี่ยวกับ Social network ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในระบบการซื้อขายออนไลน์. ประชาชนชื่นชอบและให้ความสนใจการซื้อขายสินค้าออนไลน์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่หลายคนก็ยังกังวล และไม่ค่อยมั่นใจกับเว็บไซต์ หรือหน้าร้านค้าออนไลน์ที่กำลังจะเลือกซื้อ ว่าหลังจากที่เราซื้อสินค้าและจ่ายเงินไปแล้ว เราจะได้สินค้าหรือไม่ วันนี้ขอแนะนำเทคนิคในการเลือกซื้อ เพื่อทำให้ผู้บริโภคมั่นใจมากขึ้น และป้องกันการถูกโกงเงินจากการซื้อสินค้าอีกทางหนึ่ง  โดยทาง สำนักคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ได้แนะนำไว้ว่า

1) ตรวจสอบเว็บไซต์ร้านค้า  ชื่อเว็บไซต์น่าเชื่อถือหรือไม่ พวกชื่อเว็บทีลงท้ายด้วย .cc ค่อนข้างน่ากลัวเพราะเป็นชื่อโดเมนที่แจกฟรี ตรวจสอบว่าชื่อเว็บนี้จดหรือตั้งมานานแล้วหรือยัง สำหรับ .com เช็คได้ที่ http://dawhois.com สำหรับชื่อเว็บที่ลงท้ายด้วย .th เช็คได้ที่ http://thnic.co.th/whois หากเว็บที่เปิดมานานแล้ว เกิน 6 เดือนขึ้นไป ก็จะมีความน่าเชื่อมากกว่าเว็บที่เพิ่งเปิดมาเพียงไม่กี่เดือน (ส่วนใหญ่เว็บที่หลอกลวงจะเปิดได้ในช่วงเวลาสั้นๆ)  หากเป็นเว็บที่เปิดกับผู้ให้บริการที่มีชื่อเสียงก็จะมีความน่าเชื่อถือระดับหนึ่ง เพราะผู้ให้บริการจะมีการตรวจสอบร้านค้ามาก่อน เช่น http://ชื่อร้าน.tarad.com หากจะตรวจสอบก็ติดต่อกับผู้บริการได้เลย เพื่อตรวจสอบข้อมูลเจ้าของร้าน

2) เช็คเว็บบอร์ดของเว็บไซต์ (หากมี) ดูว่ามีคนเข้าไปเขียนตอบอะไรบ้าง อัตราการโต้ตอบในเว็บบอร์ดเร็ว หรือกระทู้ล่าสุดที่่ตอบคือเมื่อวันไหน เมื่อไหร่  อย่างไร  เพราะหากเว็บบอร์ดถูกทิ้งไม่ได้ตอบไว้นาน หรือในเว็บบอร์ดมีแต่คนเข้าไปด่า แบบนี้ก็อย่าไปซื้อกับเว็บนั้นเลย

3) หากซื้อสินค้าผ่านทาง Instagram หรือ Facebook, Social Network ควรจะขอ Facebook หรือ Social Network ของเจ้าของจริงๆ เพราะจะสามารถตรวจสอบตัวตนของเจ้าของนั้นได้ (ระวัง Account ที่เพิ่งสร้างขึ้นมา)

4) ตรวจสอบดูความใหม่ของสินค้าหน้าเว็บไซต์ และการอัพเดทเว็บไซต์ หากเว็บไซต์มีการอัพเดทเป็นประจำ เช่นมีสินค้าใหม่ๆ, มีการเปลี่ยนแปลงโปรโมชั่น การแปลี่ยนแปลงข่าวสารหน้าเว็บเป็นประจำ ก็แสดงให้เห็นว่าเจ้าของร้านดูแลหน้าเว็บไซต์เป็นประจำ ทำให้เรามั่นใจได้มากขึ้น  ดูว่ามีลูกค้าที่เคยซื้อสินค้ากับร้านนี้หรือไม่ ลองเช็คได้ทางเว็บบอร์ดของทางร้าน (หากมี) หรือลอง email ติดต่อไปหาคนที่เคยซื้อไป ว่าบริการของร้านค้าเป็นอย่างไรบ้าง เราจะได้มั่นใจมากขึ้น

5) ต้องระวังหากสินค้ารายการนั้นมีราคาถูกมากจนเกินไป (แบบไม่น่าเชื่อ) ต้องระวังให้ดี และยิ่งหากข้อ 1) และ 2) ด้านบนไม่ครบถ้วนในการตรวจสอบ ก็อาจจะเข้าข่ายน่ากลัวได้เช่นกัน

6) ตรวจสอบข้อมูลของเจ้าของเว็บไซต์ร้านค้า.เบอร์ติดต่อของร้านค้าที่ หากมีเบอร์ที่เป็น 02 หรือ เบอร์บ้านจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า เพราะมีที่อยู่หลักแหล่งแน่นอน

7) ในเว็บไซต์ควรมีที่อยู่ของธุรกิจแสดงอยู่ เพื่อบ่งบอกว่าร้านค้าหรือเจ้าของร้านอยู่ที่ไหน จะดีกว่าเว็บไซต์ที่ไม่แสดงข้อมูลที่อยู่จริงๆ ดูว่ามี ชื่อจริง นามสกุลจริง ของเจ้าของร้านแสดงอยู่ไหม หากมีชื่อจริง หรือเลขบัญชีธนาคารที่เราต้องจ่ายเงินไปให้ ลองใช้ชื่อเหล่านั้นค้นหาตรวจสอบใน Google ก่อนว่ามีประวัติอย่างไรมาบ้าง เพราะหากเป็นชื่อปลอมหรือข้อมูลปลอม ก็อาจจะเจอคนอื่นๆ มาพูดถึงหรือบ่นถึงไว้ในที่อื่นๆ เช่นกัน

หากเว็บไซต์นั้นๆ มีการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ก็จะน่าเชื่อถือมากขึ้น เช็คและตรวจสอบได้ที่ http://www.dbd.go.th/edirectory  หากยังไม่มั่นใจกับเว็บไซต์เว็บน้ัน ให้ลองซื้อของชิ้นที่ราคาถูกๆ ไปก่อน หากบริการดีและน่าเชื่อถือ แล้วค่อยเพิ่มจำนวนการซื้อหรือราคาของสินค้าเพิ่มมากขึ้น  ลองถามชื่อเว็บไซต์กับคนอื่นๆ ที่เค้าอาจจะเคยซื้อ หรือรู้จักร้านนี้มาก่อน เช่นตามเว็บบอร์ดต่างๆ

 

 



บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ