มินเทล ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลการตลาดระดับโลก ได้เผยแพร่ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับบทบาทของอาหารและเครื่องดื่มในการสนับสนุนการมีสุขภาพจิตที่ดีในกลุ่มผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย
งานวิจัย1จากมินเทลพบว่า 1 ใน 7 ของผู้บริโภคไทยเคยประสบปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งรวมถึงความเครียด อาการนอนไม่หลับ ความวิตกกังวล ความโดดเดี่ยว ความไม่มั่นใจในตนเอง และการหมดไฟในการทำงาน อาการเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคพยายามแสวงหาแบรนด์ที่สามารถช่วยให้สบายใจขึ้นและบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดจากความเครียดในแต่ละวัน
Rashmika Khanijou นักวิเคราะห์อาวุโส แผนกอาหารและเครื่องดื่ม มินเทล รีพอร์ทส์ ประเทศไทย นำเสนอผลงานวิจัยนี้ใน THAIFEX 2023 งานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย Rashmika Khanijou แนะนำความเป็นไปได้ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้แบรนด์ปรับตัวเข้ากับเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคด้านสุขภาพจิต
ภาวะจิตใจของผู้บริโภค
ผู้บริโภคไทยจำนวนเกือบครึ่ง (49%) ระบุว่าพวกเขามีสุขภาพจิตที่ ‘ดี’ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งมีแค่ 16% เท่านั้นที่บอกว่าพวกเขามีสุขภาพจิตที่ ‘ดีมาก’ อย่างไรก็ตามผู้บริโภคจำนวนมากกว่า 1 ใน 3 ระบุว่าสุขภาพจิตของพวกเขาอยู่ในเกณฑ์ ‘ปานกลาง’ (22%) ‘แย่’ (10%) และ ‘แย่มาก’ (3%)2 งานวิจัยจากมินเทลระบุว่าผู้บริโภคเจน Z ในประเทศไทยจำนวนกว่า 38% พบกับปัญหาความโดดเดี่ยว ส่งผลให้กลุ่มนี้กลายเป็นช่วงอายุที่โดดเดี่ยวที่สุดหากเทียบกับผู้บริโภคในช่วงอายุอื่น ๆ (27%)3
ผู้บริโภคไทยจำนวนมากกว่าครึ่ง (51%) พยายามหาวิธีในการลดความเครียด4 โดยให้ความสำคัญกับอาหารเพื่อการเยียวยาจิตใจ หรือ คอมฟอร์ท ฟู้ด (Comfort Food) ได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยสนับสนุนสุขภาพจิตที่ดี ผลงานวิจัยพบว่าผู้บริโภคจำนวน 46% ใช้คอมฟอร์ท ฟู้ดเป็นตัวช่วยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคนิยมใช้มากที่สุดรองจาก การพูดคุยกับครอบครัว/เพื่อน (56%) และการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความบันเทิง (51%)5
เทรนด์ผู้บริโภคตามช่วงอายุ
‘เสาะหาโภชนาการแบบองค์รวม’: ผู้บริโภคไทยที่มีอายุมากกว่ามีส่วนช่วยเพิ่มสัดส่วนความต้องการอาหารและเครื่องดื่มฟังก์ชั่นที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่เกี่ยวกับการชะลอวัย ผู้บริโภคเจน X มากกว่าครึ่ง (54%) เชื่อว่าอาหารและเครื่องดื่มสามารถช่วยปรับปรุงสุขภาพจิตได้6
‘ดื่มด่ำกับอารมณ์’ :ผู้บริโภคเจน Z และผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล ใช้ประสบการณ์ทางอารมณ์ในการยกระดับสภาพจิตใจของพวกเขา ซึ่งรวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อความบันเทิง (57% และ 55% ตามลำดับ) และเล่นวิดีโอเกม (52% และ 45% ตามลำดับ) 7 ผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้ความสนใจกับแบรนด์อาหารและเครื่องดื่มที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของพวกเขาและให้ความสำคัญกับสุขภาพจิต
รสชาติ รสสัมผัส และคุณสมบัติ
งานวิจัยของมินเทลชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของกลิ่นในการตัดสินใจเลือกอาหารและเครื่องดื่ม ผู้บริโภคไทยจำนวน 6 ใน 10 ระบุว่า ‘กลิ่นหอม’ (เช่น กลิ่นหอมของอาหารและเครื่องดื่ม) เป็นคุณสมบัติที่ช่วยทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น และแนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนมากในกลุ่มผู้บริโภคที่มองว่ารสชาติของอาหารส่งผลโดยตรงต่อสภาพจิตใจ (73%)8
ขนมขบเคี้ยวรสเค็มได้รับความนิยมสูง โดยผู้บริโภคไทยจำนวนมากกว่า 3 ใน 4 (77%) ระบุว่าขนมขบเคี้ยวเป็นวิธีที่ดีในการมอบความสุขแก่ตนเอง9 มีการรายงานว่าความเครียดทำให้เกิดอาการนอนกัดฟัน โดยเฉพาะในช่วงการระบาดใหญ่10 ขนมขบเคี้ยวส่วนใหญ่มีความกรุบกรอบ แบรนด์สามารถใช้โอกาสนี้ในการผลิตสินค้าที่มีรสสัมผัสที่แตกต่างเพื่อช่วยบรรเทาความเครียด รวมถึงรสสัมผัสที่เหมาะสมกับผู้ที่มีอาการปวดกรามอีกด้วย สินค้าที่มีประโยชน์เพิ่มเติมต่าง ๆ (เช่น ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น การรับรู้ และการผ่อนคลาย) สามารถดึงดูดผู้บริโภคที่กำลังมองหาการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตจากแบรนด์
โอกาสสำหรับแบรนด์
เส้นใยอาหารช่วยให้อายุยืนแบบมีสุขภาพดี อาหารที่มีเส้นใยสูงยังช่วยปรับปรุงอารมณ์อีกด้วย ส่วนผสมที่มีไซโคไอโอติกส์ (ตัวอย่างเช่น แบคทีเรียมีชีวิตรวมถึงโปรไบโอติกส์) สามารถช่วยปรับปรุงสุขภาพจิต ผู้บริโภคเจน X ในประเทศไทยจำนวน 46% เห็นด้วยว่าระบบย่อยอาหารที่มีสุขภาพดีทำให้มีอารมณ์ดี11 แบรนด์สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้โดยการใช้ประโยชน์จากความรู้ของพวกเขาในด้านจิตวิทยาโภชนาการและการเชื่อมโยงระหว่างร่างกายและจิตใจ
สำหรับผู้บริโภคอายุน้อยที่ใช้ชีวิตผ่านการเสาะหาประสบการณ์ เช่นกลุ่มมินเลนเนียลและเจน Z แบรนด์สามารถนำเสนอสัญญาณด้านสัมผัสและอารมณ์ที่ชวนให้นึกถึงอดีตผ่านการรสชาติและกลิ่นเฉพาะต่างๆ
ข้อความถึงบรรณาธิการ
1,3 มินเทล รีพอร์ทส์ ประเทศไทย ทัศนคติต่อสุขภาพจิตในประเทศไทย 2565
2,5,6,7,8,11 มินเทล รีพอร์ทส์ ประเทศไทย อาหารและเครื่องดื่มสำหรับสุขภาพจิตที่ดี 2566
4 มินเทล โกลบอล คอนซูเมอร์ ผู้บริโภคองค์รวม 2566
9 มินเทล รีพอร์ทส์ ประเทศไทย ขนมขบเคี้ยว 2565
10 สมาคมทันตกรรมแห่งอเมริกา วารสารการแพ