เช็คอาการ 'ปวดไหล่' แบบใหนเข้าข่ายภาวะเส้นเอ็นฉีกขาด

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562

เช็คอาการ 'ปวดไหล่' แบบใหนเข้าข่ายภาวะเส้นเอ็นฉีกขาด


อาการ 'ปวดไหล่เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อธรรมดา ไม่นานก็หาย ไปจนถึงอาการปวดบ่อย ๆ ปวดเรื้อรัง ต้องพึงระวัง เพราะอาจมีภาวะเส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดซ่อนอยู่ หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลให้เส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดมากขึ้นจนไม่สามารถยกไหล่ขึ้นได้ในท้ายที่สุด

นพ.ชัชพล ธนารักษ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เวชศาสตร์การกีฬาและโรคข้อไหล่  ระบุว่า อาการปวดไหล่ เกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ปวดกล้ามเนื้อ  ไหล่ติด  เส้นเอ็นอักเสบ และ เส้นเอ็นฉีกขาด ซึ่งอาการปวดไหล่ เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่พบได้บ่อยในกลุ่มคนที่เริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ เนื่องจากในผู้สูงอายุ เส้นเอ็นต่าง ๆ จะเสื่อมสภาพไปตามวัย นอกจากนั้นกระดูกบริเวณเหนือไหล่ก็หนาตัวขึ้น เมื่อมีการเคลื่อนไหวของหัวไหล่ เส้นเอ็นก็จะเคลื่อนที่ไปมา เกิดการเสียดสีของเส้นเอ็นกับกระดูก ซึ่งเมื่อเสียดสีไปเรื่อย ๆ สามารถทำให้เส้นเอ็นฉีกขาดได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีอุบัติเหตุรุนแรงอะไร

โดยสามารถ สังเกตอาการปวดไหล่แบบนี้ เข้าข่ายปัญหาเกี่ยวกับเส้นเอ็น  ดังนี้ 1.มีอาการปวดที่บริเวณด้านข้างหัวไหล่ และอาจปวดร้าวลงมาที่บริเวณข้อศอก 2.เมื่อยกหรือกางหัวไหล่ออกด้านข้าง จะมีอาการปวดมากขึ้น ทำให้สวมใส่เสื้อผ้าลำบาก และ 3.เวลานอนอาจมีอาการปวดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อนอนตะแคงด้านหัวไหล่ที่มีปัญหา สำหรับวิธีการดูแลรักษาเบื้องต้น เมื่อมีอาการปวดไหล่ คือ ควรหลีกเลี่ยงการยก หรือสะพายของหนัก เลี่ยงการยกกางแขนด้านข้าง หมั่นบริหารออกกำลังเส้นเอ็นหัวไหล่ให้แข็งแรงเป็นประจำทุกวัน และสังเกตอาการเป็นเวลา 4-6 เดือน หากอาการปวดไหล่ไม่ดีขึ้น หรือปวดมากขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด

ทั้งนี้ การตรวจวินิจฉัย เส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดแพทย์จะตรวจร่างกายโดยละเอียด หากพบลักษณะที่บ่งบอกถึงภาวะการฉีกขาดของเส้นเอ็นหัวไหล่ แพทย์จะตรวจเพิ่มเติมด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (MRI) ว่าเส้นเอ็นไหล่นั้น มีการฉีกขาดมากน้อยแค่ไหน เพื่อบอกแนวทางการรักษาขั้นต่อไป อย่าง ผ่าตัดส่องกล้อง แผลเล็ก เจ็บน้อย รักษาผู้ป่วยเส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด หากเส้นเอ็นฉีกขาดเพียงเล็กน้อย แพทย์จะแนะนำให้ทำการบริหาร แต่หากเส้นเอ็นฉีกขาดค่อนข้างมากหรือมีขนาดใหญ่ แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัด เพื่อเย็บซ่อมเส้นเอ็น เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ เส้นเอ็นจะฉีกขาดเพิ่มขึ้น จนอาจซ่อมแซมไม่ได้ และทำให้ข้อไหล่เสื่อม จนในที่สุดผู้ป่วยอาจไม่สามารถยกแขนขึ้นได้  วิธีการผ่าตัดเย็บซ่อมเส้นเอ็นหัวไหล่ในปัจจุบัน ใช้การผ่าตัดส่องกล้องเป็นหลัก โดยจะนำเครื่องมือเข้าไปเย็บซ่อมเส้นเอ็น ผ่านแผลผ่าตัดขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร ด้วยแผลผ่าตัดขนาดเล็ก ผู้ป่วยจึงเจ็บน้อย และสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

สำหรับวิธีการป้องกันเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด ควรระมัดระวังกิจกรรมที่ต้องเหวี่ยง หรือกระชากหัวไหล่ และหมั่นบริหารเส้นเอ็นหัวไหล่สม่ำเสมอ เพื่อให้เส้นเอ็นมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น แต่หากจะออกกำลังกายด้วยการแกว่งแขน ควรทำด้วยความระมัดระวัง ทำอย่างช้า ๆ อย่าทำรุนแรงจนเกินไ




บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ