‘โดรนปัญญา’ จับมือ ‘สยามธุรกิจ’ … ก้าวใหม่ ‘นวัตกรรมเกษตรไทย’ เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน ประหยัดเวลา

วันเสาร์ที่ 03 สิงหาคม พ.ศ. 2562

‘โดรนปัญญา’ จับมือ ‘สยามธุรกิจ’ … ก้าวใหม่ ‘นวัตกรรมเกษตรไทย’ เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน ประหยัดเวลา


ภายในปี 2050 หรืออีกไม่ถึง 30 ปีต่อจากนี้ หน้าตาของอาหารจะเปลี่ยนไปตามสภาพการณ์ของโลกที่เปลี่ยน แปลงคนมากขึ้น ความต้องการบริโภคมากขึ้น แต่พื้นที่ผลิตอาหารกลับน้อยลงในอนาคต ฟาร์มหมูหรือ ฟาร์มวัวจะหายไปจำนวนมาก เนื่องจากพื้นที่มีปริมาณจำกัด และมลภาวะในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากฟาร์มเหล่านี้ที่ส่งผลต่อโลกร้อน

ทำให้มนุษย์ลดการบริโภคเนื้อหมู และ เนื้อวัว โดยหันไปบริโภคเนื้อสัตว์เล็กที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทนฟาร์มปลา ฟาร์มแมลง จะเข้ามาแทน ด้วยการใช้พื้นที่น้อยกว่า และไม่ก่อปัญหาโลกร้อน ส่วนเนื้อหมูและเนื้อวัวจะถูกผลิตด้วยรูปแบบอื่น ไม่ใช่ในฟาร์ม แต่เป็น…ห้องแล็บ! Cultured Meat หนึ่งนวัตกรรมอาหารแห่งโลกอนาคต

ไม่ใช่เฉพาะรูปแบบของ ‘ฟาร์ม’ เท่านั้นที่จะเปลี่ยนแปลง แต่พื้นที่การเพาะปลูกนอกจากจะไม่สามารถขยายได้แล้ว ยังมีปริมาณที่ลดลง การเพิ่มผลผลิตต่อไร่คือทางออก ทำอย่างไรจะเพิ่มผลผลิตการปลูกข้าวจาก 400-500 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 1,000-1,200 ไร่ นำไปสู่การพัฒนาเทค- โนโลยี ‘สมาร์ทฟาร์มเมอร์’ คือความหวังใหม่ของเกษตรไทย

>สมาร์ทฟาร์มเมอร์ อาชีพยอดฮิต

ปัจจุบันเราเห็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์จำนวนมาก ทำนา ทำไร่ ในรูปแบบใหม่ ด้วยการใช้เทคโนโลยีสมาร์ทโฟนเช็กสภาพภูมิอากาศ ตั้งโปรแกรมรดน้ำต้นไม้ได้ในขณะกำลังนั่งจิบกาแฟ ตามคอนเซปต์ ‘ทำน้อยได้มาก’ และหนึ่งในเครื่องมือที่มาแรงของยุคนี้ก็คือ ‘โดรน’

กระแสสมาร์ทฟาร์มเมอร์ กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเฉพาะจากกลุ่มคนรุ่นใหม่และคนทำงานประจำที่หันไปทำการเกษตรกันมากขึ้น โดยมองว่าเป็นอาชีพที่มั่นคงและสามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มมูลค่าผลผลิตได้ตามต้องการ ซึ่งกลุ่มลูกค้าที่มาซื้อโดรนไม่ใช่เกษตรกรรายเดิมๆ ที่ทำการเกษตรอยู่แล้ว แต่เป็นคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งจบการศึกษา กลุ่มพนักงานประจำที่หันไปทำเกษตร รวมถึงกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มผู้ขายปุ๋ย ขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ต้องการนำโดรนไปรับจ้างบริการฉีดพ่นปุ๋ยให้กับลูกค้าในพื้นที่

ก่อนหน้านี้ โดรนที่ขายในเมืองไทยส่วนใหญ่เป็นโดรนนำเข้าที่มีราคาค่อน ข้างแพง กระนั้นก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพของโดรนที่สามารถพ่นน้ำ พ่นปุ๋ย พ่นยา ได้นับเป็นร้อยไร่ภายในวันเดียว ก็ทำให้เกษตรกรจำนวนมากยอมควักกระเป๋าจ่าย ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานแล้ว ยังหมดปัญหาด้านแรงงานที่นับวันจะหายากมากขึ้น เมื่อเทียบกับค่าจ้างแรงงานที่ต้องจ่ายในการจ้างคนมาพ่นปุ๋ย พ่นยา การลงทุนซื้อโดรนจึงสามารถคืนทุนได้ภายในไม่กี่ปี

>ลดต้นทุน ประหยัดเวลา

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ว่า โดรน หรืออากาศยานไร้คนขับ เป็นทางเลือกที่น่าสนใจในฐานะเครื่องมือทางการเกษตรที่มีความแม่นยำสูง ซึ่งกำลังมาแรงในยุคเกษตร 4.0 ที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ลดต้นทุนการผลิต ประหยัดเวลา และประหยัดการใช้แรงงานคน ท่ามกลางภาวะที่แรงงานภาคเกษตรมีแนวโน้มปรับตัวลดลง อีกทั้งโดรนเพื่อการเกษตรยังสามารถควบคุมคุณภาพการผลิตของสินค้าเกษตร ได้อย่างแม่นยำ โดยคาดว่า

จะสามารถลดต้นทุนการ ผลิตได้ราว 6,000 ล้านบาทภายในปี 2564 ภายใต้เงื่อนไขพื้นที่นาแปลงใหญ่ ที่เป็นไปตามเป้าหมายของภาครัฐ นอกจากนี้ หากภาครัฐมีการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีอย่างเช่นโดรนเพื่อการเกษตรมากขึ้น ตลอดจนกลุ่มทุนมีการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเทรนด์ของสินค้าจำพวกเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มแพร่หลายมากขึ้นและมีราคาถูกลง ก็จะช่วยให้ภาคเกษตรไทยสามารถยกระดับการพัฒนาขึ้นไปได้อีกขั้น

แม้ปัจจุบันการใช้โดรนเพื่อการ เกษตรในประเทศไทยจะยังน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่การเกษตร แต่คาดว่าในอนาคตด้วยราคาโดรนเพื่อการเกษตรที่ถูกลง เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตโดรนมีการแข่งขันกันหลายบริษัท ผนวกกับความนิยมใช้ โดรนของเกษตรกรและผู้ประกอบการที่มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้จำนวนการใช้โดรนเติบโตแบบก้าวกระโดด รวมทั้ง เทรนด์ของสินค้าจำพวกเทคโนโลยีที่มัก จะมีราคาลดลงอย่างรวดเร็วตามเทค- โนโลยีที่พัฒนาขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงประเมินว่าภายในปี 2565 ราคาโดรนเพื่อการเกษตรอาจลดลงราวร้อยละ 20-25 ต่อปี อยู่ที่ 67,000-106,000 บาท จากราคาเปิดตัวในปี 2558 ที่ราว 300,000-500,000 บาท

>‘โดรนปัญญา’ เมด อิน ไทยแลนด์

จตุพงศ์ โตวรรธกวณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอส.เอ.ที.ไอ. แพลตฟอร์ม จำกัด ผู้ผลิต โดรนปัญญาและตัวแทนจำหน่ายโดรนการเกษตร นำเข้า กล่าวว่า บริษัทเริ่มต้นธุรกิจด้วยการเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายโดรนการเกษตร DJI ซึ่งเป็นโดรนมาตรฐานระดับโลกจากจีน ซึ่งต้องยอมรับว่าก่อนหน้านี้ 3-4 ปี โดรนยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่นับจากปี 2017 ภาคการเกษตรเริ่มตื่น ตัวมากขึ้น เพราะภาครัฐและบริษัทที่ทำด้านการเกษตรมีการประชาสัมพันธ์และนำไปทดลองใช้ เช่น มีการซื้อโดรนเพื่อไปทดสอบในการหว่านปุ๋ย ทำให้เกษตรกรมองเห็นว่าประสิทธิภาพของโดรนช่วย ลดเวลาและต้นทุนทางการเกษตร แต่ด้วยราคาของโดรนในช่วงนั้นยังค่อนข้างแพง จึงมีเกษตรกรบางรายเท่านั้นที่เข้าถึงได้ แม้โดรนจากประเทศจีนจะมีราคาถูกกว่าโดรนจากยุโรปและคุณภาพค่อนข้างดี แต่ก็ยังถือว่ามีราคาสูงสำหรับกลุ่มเกษตรกร บริษัทจึงคิดว่าถ้าเราสามารถนำประสบการณ์ที่เคยเรียนรู้ในการนำเข้าโดรนจากต่างประเทศมาพัฒนาโดรนของตัวเองได้ก็น่าจะทำให้เกษตรกรเข้าถึงได้มากขึ้น เนื่องจากโดรนที่ผลิตในเมืองไทยจะมีราคาถูกกว่าโดรนนำเข้าประมาณ 20-30% จึงเป็นที่มาของ ‘โดรนปัญญา’

>บริษัทเอส.เอ.ที.ไอ.จับมือ ‘สยามธุรกิจ’ เปิดช็อปทั่วประเทศ

ซีอีโอ บริษัท เอส.เอ.ที.ไอ. กล่าวต่อว่า สาเหตุที่ใช้ชื่อ โดรนปัญญา เพราะ คำว่า เอส.เอ.ที.ไอ. ที่เป็นชื่อบริษัทอ่านเป็นภาษาไทยคือ ‘สติ’ เมื่อสติมา ทำให้ ‘ปัญญา’ เกิด ถือเป็นคอนเซปต์ของบริษัททีต้องการมอบสิ่งดีๆ ให้กับเกษตรกร โดยในปีนี้มีแผนจะเปิดช็อปเพิ่มขึ้นอีก อย่างน้อย 10 ช็อปกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ ด้วยการจับมือกับหนังสือ พิมพ์สยามธุรกิจ พันธมิตรที่มีศักยภาพและจุดยืนในการสนับสนุนภาคการ เกษตรเหมือนกัน โดยช็อปดังกล่าวจะเป็น ทั้งศูนย์จำหน่ายโดรน, ศูนย์ฝึกอบรมการบินให้กับเกษตรกรเพื่อ ขึ้นทะเบียน, รับซ่อมโดรน, บริการหลังการขาย รวมทั้งจัดการลงทะเบียนสมาชิกทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมีบริการรับฉีดพ่นให้กับเกษตรกรที่ไม่มีโดรนแต่อยากใช้บริการโดรนไปพ่นปุ๋ยพ่นยาในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น นาข้าว ไร่อ้อย ไร่มัน ซึ่งศักยภาพของโดรนสามารถพ่นปุ๋ยพ่นยาได้ถึง 100 ไร่ในวันเดียว

>ตลาดโดรนอนาคตสดใส

นายเจีย ดง ซุน หัวหน้าฝ่ายธุรกิจด้านการเกษตร DJI ภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ผู้ผลิตโดรนชั้นนำในจีน กล่าวว่า ไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ DJI เข้ามาทำตลาด เนื่องจากการเกษตรเป็น 1 ใน 3 อุตสาหกรรมหลักของประเทศ มีพื้นที่การเกษตรกว่า 62 ล้านไร่ สร้างรายได้ต่อจีดีพีคิดเป็น 10-12% ขณะที่กฎหมายการลงทะเบียนโดรนจะช่วยให้การพัฒนานวัตกรรมกับการใช้งานแพร่หลายและมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ไทยยังเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ ในขณะที่ประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งโดรนจะช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร เพิ่มมูลค่าผลผลิต ในขณะที่ต้นทุนการผลิตลดลง เกษตรกรในจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ต่างประสบความสำเร็จในการใช้โดรนทำ การเกษตร โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ต้องการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการทำ การเกษตร ซึ่งประเทศไทยก็ไม่ต่างกัน โดรน จึงถือเป็นเซอร์วิสโพรไวเดอร์สร้างการเปลี่ยน แปลงในอุตสาหกรรมการเกษตร



บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ