Toggle navigation
วันเสาร์ ที่ 21 ธันวาคม 2567
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
วิเคราะห์-บทความ-คอลัมน์
วิกฤติ "ไซปรัส" สะเทือนโลก! แผนสหภาพธนาคารยูโรสะดุด
วิกฤติ "ไซปรัส" สะเทือนโลก! แผนสหภาพธนาคารยูโรสะดุด
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556
Tweet
ไซปรัส ดิ้นหนีภาวะล้มละลาย ต้อง ยอมเจ็บปวดรับเงื่อนไขขึ้นภาษีเงินฝาก แลกกับขอเงินกู้ต่างประเทศแลกกับการขึ้นภาษี จนประชาชนแห่ถอนเงินและประท้วงหนักขณะที่ ยูโรกรุ๊ป ยันแผนช่วย เหลือไซปรัสเป็นแนวทางดีที่สุดเพื่อป้องกัน การล้มละลาย รวมทั้งลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจยุโรป
ไซปรัส ประเทศเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ของประเทศตุรกี และเป็นเพื่อนบ้านของ กรีซ ซึ่งมีประชากรไม่ถึงล้านคน ซึ่งมีผลิต-ภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไทยคิดเป็น 0.2% ของยูโรโซน กำลังกลายเป็นเหยื่อวิกฤติเศรษฐกิจจนกลายเป็นประเทศที่ 5 ในยูโรโซน ที่ต้องพึ่งเงินกู้จากต่างประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะล้มละลาย สร้างความวิตกกังวลต่อเศรษฐกิจทั่วโลกเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ ไซปรัสและเจ้าหนี้ระหว่างประเทศ ประกอบด้วย สหภาพยุโรป (อียู), ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี), และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ทำข้อตกลง เมื่อวันเสาร์ที่ 16 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยจะให้เงินกู้ 10,000 ล้านยูโร (13,000 ล้านดอลลาร์) แก่ไซปรัสเพื่อช่วยให้ไม่ต้องตกอยู่ในภาวะล้มละลาย
ตามข้อตกลงช่วยเหลือดังกล่าว ผู้ฝากเงินในธนาคารของไซปรัสจะได้รับผล กระทบจากการจัดเก็บภาษีแบบครั้งเดียว (one-off) สำหรับเงินฝากของพวกเขา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่แผนการช่วยเหลือทางการเงินประเทศในยูโรโซนระบุเงื่อนไขที่ทำให้ผู้ฝากเงินในประเทศนั้นต้องเสียเงินโดยตรง ซึ่งผู้มีเงินฝากในบัญชีธนาคารมากกว่า 100,000 ยูโร จะถูกหักภาษี 9.9% และจะมีการเก็บภาษี 6.75% สำหรับจำนวนเงินที่ต่ำกว่านั้น ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ไซปรัสระดม ทุนได้ 5.8 พันล้านยูโร และรัฐบาลจะต้องปรับขึ้นภาษีเงินได้บริษัท จาก 2.5% เป็น 12.5% อย่างไรก็ตาม ไซปรัสเกรงว่า เงินจะ หลั่งไหลออกนอกประเทศ เพราะเงินฝากประมาณ 2 ใน 3 ของไซปรัสเป็นเงินฝากจากต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวรัสเซีย ชาว อังกฤษ แต่ไม่รวมธนาคารไซปรัสสาขาต่างประเทศ หลังจากทราบข่าวการขอรับ ความช่วยเหลือทางการเงินจากนานาชาติ ชาวไซปรัสต่างพากันถอนเงินจากธนาคารเป็นจำนวนมาก จนธนาคารต้องปิดทำการ
นายเจอโรน ดิจเซลโบลม ประธาน ยูโรกรุ๊ป กล่าวหลังการประชุมของรัฐมนตรีคลังยูโรโซนว่า ตามข้อตกลงช่วยเหลือ ดังกล่าว ผู้ฝากเงินในธนาคารของไซปรัสจะได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีแบบ ครั้งเดียว (one-off) สำหรับเงินฝากของพวกเขา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่แผนการช่วยเหลือทางการเงินประเทศในยูโรโซนระบุเงื่อนไขที่ทำให้ผู้ฝากเงินในประเทศนั้นต้องเสียเงินโดยตรง มาตรการนี้ประกอบกับการ สนับสนุนทางการเงินระหว่างประเทศจะมี ขึ้นเพื่อฟื้นความอยู่รอดของระบบธนาคารไซปรัส และจะช่วยปกป้องเสถียรภาพทาง การเงินในไซปรัสด้วย หากไม่มีมาตรการนี้ ไซปรัสจะเผชิญกับสถานการณ์ที่จะทำให้ ผู้ฝากเงินอยู่ในภาวะที่เลวร้ายกว่านี้มาก นอกจากนี้ ยูโรกรุ๊ปยังสร้างความมั่นใจแก่ผู้ฝากเงินรายย่อยว่า พวกเขาจะควรได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจากผู้ฝากเงินรายใหญ่
นอกจากนี้ ยูโรกรุ๊ปได้เรียกร้องให้ทาง การและรัฐสภาของไซปรัสตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะสามารถดำเนินมาตรการตามที่ตกลงกันไว้ได้โดยเร็ว ขณะที่ให้คำมั่น ที่จะให้ความช่วยเหลือไซปรัสในความพยายามด้านการปฏิรูปบนพื้นฐานของแผน การปรับโครงสร้างที่มีการตกลงกัน ซึ่งยูโร กรุ๊ป ต้องการให้จัดเก็บภาษี 15.6% กับผู้ฝากเงินที่มีฐานะร่ำรวย เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเก็บภาษีจากบัญชีเงินฝากขนาดเล็ก
ด้าน นายนิคอส อนาสตาเซียเดส ประธานาธิบดีไซปรัส เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ นิติบัญญัติผ่านกฎหมายเพื่อเก็บภาษีเงินฝาก ในธนาคารไซปรัส หลังจากสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรได้ออกเสียงคัดค้าน เพราะถ้าไม่ผ่าน กฎหมายอาจนำไปสู่สถานการณ์ที่เลวร้าย และกลายเป็นการล่มสลายที่ไม่สามารถควบคุมได้ของระบบธนาคารไซปรัส
โดยขณะนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า รัฐสภา ไซปรัสจะอนุมัติแผนภาษีหรือไม่ แต่ถ้าหาก รัฐสภาไซปรัสไม่อนุมัติแผนภาษีนี้ ก็จะส่งผล กระทบไปทั่ว 17 ประเทศในยูโรโซน
ขณะเดียวกัน วิกฤติไซปรัสอาจกระทบ ต่อการจัดตั้งสหภาพธนาคารในยูโร โดยสมาชิกรัฐสภาของสหภาพยุโรป (อียู) เตรียม ที่จะให้อำนาจแก่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในสัปดาห์นี้ในการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ นับตั้งแต่กลางปี 2014 อย่างไรก็ตาม สมาชิก รัฐสภาอียูจะประสบความยากลำบากในการ กำหนดวิสัยทัศน์สำหรับการจัดตั้งสหภาพธนาคารในวงกว้าง เพราะแผนการจัดเก็บภาษีเงิน ฝากธนาคารในไซปรัสส่งผลเสียต่อ แผนจัดตั้งสหภาพธนาคาร
หลายประเทศได้ตกลงกันในปี 2012 ในการให้อำนาจใหม่แก่อีซีบีในการกำกับ ดูแลธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซนตั้งแต่ปี 2014 โดยมาตรการนี้ถือเป็นขั้นตอนแรก ที่จะนำไปสู่การประสานระบบต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นเพื่อช่วยปกป้อง ยูโร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
ดร.ประศาสน์ ตั้งมติธรรม แห่งศุภาลัย วิเค...
...
ส่องรายได้ - กำไร 9 เดือน (บริษัทอสังหาฯ...
...
อย. สหรัฐฯ ชู กฎหมายคุมบุหรี่ไฟฟ้าได้ผลอ...
...
ถอดรหัสความสำเร็จจากยุค 90s สู่ T-Pop กั...
...
น้ำท่วมหนัก! สัญญาณเตือนวิกฤตอาหารและโลก...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ