BCPG เพิ่มทุนขยายโอกาสทางธุรกิจ ช่วยเสริมสภาพคล่อง/ดันมูลค่าหุ้นพุ่ง

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563

BCPG เพิ่มทุนขยายโอกาสทางธุรกิจ ช่วยเสริมสภาพคล่อง/ดันมูลค่าหุ้นพุ่ง


สถานการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2563 ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาคาดการณ์ว่า จะยังหดตัวน้อยลง โดยปรับลดประมาณการ GDP ปี 2563 เป็นหดตัว 7.8% จากปีก่อน แต่ปี 2564 คาดขยายตัวต่ำลงเหลือ 3.6% จากปีก่อน จากการเปิดรับนักท่องเที่ยวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

เมื่อมีสัญญาณบ่งชี้ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังไม่มีทิศทางที่ดีขึ้น ดังนั้น ภาคเอกชนก็ต้องเตรียมความพร้อมสร้างความแข็งแกร่งโดยเฉพาะด้านการเงินไว้ เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจและผลักดันการเติบโตในอนาคต

บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) หรือ BCPG ภายใต้การบริหารงานของ "บัณฑิต สะเพียรชัย" กรรมการผู้จัดการใหญ่  เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีโอกาสฟันฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจในรอบนี้ไปได้อย่างแน่นอน เพราะบริษัทได้เตรียมพร้อมรับมือไว้แล้ว โดยเฉพาะการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ด้วยวิธีการเพิ่มทุนจดทะเบียน จาก 10,000 ล้านบาท เป็น 16,508.50 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ จำนวน 1,301.70 ล้านหุ้น แบ่งจัดสรรหุ้นจำนวน 250 ล้านหุ้น เสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (RO) อัตรา 8 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นเพิ่มทุน ราคาเสนอขาย 11.50 บาท ขึ้นเครื่องหมายไม่ได้รับสิทธิเพิ่มทุน (XR) เมื่อวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา

พร้อมกันนี้ ได้จัดสรรหุ้นเพิ่มทุน จำนวน 674.5 ล้านหุ้น เสนอขายให้บุคคลในวงจำกัด (PP) ในราคาหุ้นละ 11.50 บาท ให้แก่ Pilgrim Partners Asia (Pte.) Ltd. จำนวน 195.75 ล้านหุ้น คิดเป็น 5.93% ของทุนชำระแล้ว และ Capital Asia Investments Pte. Ltd. จำนวน 195.75 ล้านหุ้น คิดเป็น 5.93% และ จัดสรรหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 283 ล้านหุ้น เสนอขายให้ PP โดยผ่านกระบวนการเปิดให้ผู้ลงทุนสถาบันแสดงความประสงค์ซื้อหุ้นเพิ่มทุน ณ ระดับราคาที่ต้องการ

นอกจากนี้ จัดสรรหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 377.2 ล้านหุ้น รองรับการใช้สิทธิใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ (วอร์แรนต์) จำนวน 4 รุ่น คือ BCPG-W1, BCPG-W2, BCPG-W3 และ BCPG-ESOP โดยบริษัทจะแจก BCPG-W1 ให้ผู้ถือหุ้นเดิมที่ใช้สิทธิเพิ่มทุน ในอัตรา 2.80 หุ้นเพิ่มทุนต่อ 1 วอร์แรนต์ ราคาแปลงสิทธิ 8 บาท อายุ 2 ปี อัตราใช้สิทธิ 1 ต่อ 1

ส่วน BCPG-W2 จะแจกให้กับผู้ถือหุ้นเดิมที่ใช้สิทธิเพิ่มทุนเช่นกัน ในอัตรา 2.80 หุ้นเพิ่มทุนต่อ 1 วอร์แรนต์  ราคาแปลงสิทธิ 8 บาท อายุ 3 ปี อัตราใช้สิทธิ 1 ต่อ 1 ส่วน BCPG-W3 จะแจกให้กับผู้ถือหุ้นเพิ่มทุน PP ในอัตรา 2.1924 หุ้นเพิ่มทุนต่อ 1 วอร์แรนต์ ราคาแปลงสิทธิ 8 บาท อายุ 1 ปี อัตราใช้สิทธิ 1 ต่อ 1 นอกจากนี้ บริษัทจะแจก BCPG-ESOP ให้กับกรรมการและพนักงานบริษัท โดยมีราคาใช้สิทธิครั้งแรก 13.70 บาท อายุ 5 ปี อัตราใช้สิทธิ 1 ต่อ 1

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจะเห็นได้ว่า การเพิ่มทุนน่าจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องของหุ้นได้อีกทาง โดยปกติบริษัทจดทะเบียนบางแห่งก็จะใช้กลยุทธ์การเพิ่มทุนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องของหุ้นเช่นกัน ซึ่งหุ้น BCPG ปัจจุบัน มีจำนวนหุ้นซื้อขายหมุนเวียนในตลาดไม่สูงมากนัก โดยจากข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะเห็นว่า % การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free float) อยู่ในระดับแค่ 29.74% ดังนั้น การเพิ่มทุนน่าจะช่วยให้สัดส่วนฟรีโฟลทสูงขึ้นได้

จากการสำรวจข้อมูลจากของนักวิเคราะห์ ส่วนใหญ่มีมุมมองที่ดีต่อการเพิ่มทุนของ BCPG และแนะนำให้ซื้อและถือหุ้นไว้ โดยประเมินราคาที่เหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐานหลังเพิ่มทุน ซึ่งอยู่ระหว่างราคา 14.50-17.30 บาท น่าจะสะท้อนได้ว่า การเพิ่มทุนครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มมูลค่าหุ้นจากปัจจุบันที่ซื้อขายในระดับ 11-13 บาท

บริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้ ประเมินว่า การเพิ่มทุนช่วยให้งบดุลแข็งแกร่งเพิ่มโอกาสในการทำ M&A ซึ่งแผนการเพิ่มทุนที่ผ่านมา จะช่วยให้ BCPG มีเงินเพิ่มขึ้น 1.03 หมื่นล้านบาท และจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 3.02 พันล้านหุ้น จากเดิมที่ 1.99 พันล้านหุ้น แต่ยังไม่ได้รวมหุ้นที่เป็น Private Placement และด้วยเงินทุนที่เพิ่มขึ้นจะทำให้บริษัทสามารถทำ M&A เพิ่มได้ในอนาคต พร้อมทั้ง D/E ที่ลดลงจากเดิม 1.8 เท่า เป็น 0.7 เท่าในปี 2566 เพิ่มโอกาสในการขยายพอร์ตการลงทุ

รวมทั้งคาดการเติบโตของ EBITDA ที่ 80% สำหรับโครงการ hydropower (114 MW ที่คาดว่าจะเข้ามารับรู้ในปีนี้) และโครงการพลังงานลม (270MW ที่จะ COD ในไตรมาส 4/66) ที่ สปป.ลาว รวมถึงโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ญี่ปุ่น และได้รวมโครงการใหม่ (มูลค่า 3.7 พันล้านบาท หรือ 36% ของเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนที่จัดสรรสำหรับโครงการใหม่)โดยคาดว่าจะช่วยหนุนกำไรจากการสิ้นสุดของโรงฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย ช่วงปี 2565-2567 ซึ่งคาดรายได้และส่วนแบ่งกำไรจะเติบโตจาก 4.6 พันล้านบาทในปี 2563 เป็น 5.4 พันล้านบาทในปี2564 และ 7.4 พันล้านบาทในปี 2565  อย่างไรก็ตาม คาดว่า  EPS จะเพิ่มขึ้น 6.8% ในปี 2565 และมี upside จากโครงการใหม่

นอกจากนี้ การเพิ่มทุนจะช่วยเสริมสถานะทางการเงิน และเตรียมพร้อมการ M&A  ดั้งนั้น ประเมินมูลค่าเหมาะสมได้ที่หุ้นละ 14.50 บาท หลังเพิ่มทุน จึงยังคงแนะนำถือลงทุน

ขณะที่ บริษัทหลักทรัพย์หยวนต้า (ประเทศไทย) ประเมินว่า การระดมทุนช่วยหนุนการเติบโต โดยบริษัทจะมีกระแสเงินสดเพิ่มขึ้นอีกราว 7.3 พันล้านบาท คาดเสร็จสิ้นการเพิ่มทุนภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยมีความสามารถกู้เงินเพิ่มขึ้นมากถึง 2.2 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม บริษัทตั้งเป้าหนี้สินต่อทุน (DE Ratio) ในระยะยาวที่ 1.5 เท่า และไม่เกิน 2.0 เท่า ทำให้บริษัทมีเงินลงทุนจากการกู้เพิ่มขึ้นราว 1.1-1.4 หมื่นล้านบาท หรือมีงบลงทุนทั้งหมดราว 1.8-2.1 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยยังคงคำแนะนำซื้อ ในหุ้น BCPG ที่ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2564 ที่ 15.70 บาทต่อหุ้น อิงเฉพาะการใช้สิทธิ RO และ PP เต็มจำนวน) ซื้โดยราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายอยู่บน PER 2563-64 ที่ 13.8 เท่า และ 15.7 เท่า ตามลำดับ  ในระยะสั้นหุ้นจะถูกกดดันจากประเด็นดังกล่าวระยะหนึ่ง แต่การเพิ่มทุนจะช่วยปลดล็อก Overhang และเมื่อเพิ่มทุนสำเร็จจะทำให้บริษัทมีกระแสเงินสดมากพอรองรับการขยายกิจการในอนาคต

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่าได้ว่า การเพิ่มทุนของ BCPG จะมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย โดยเฉพาะจะสนับสนุนการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงเป็นการเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ หนี้สินลดลง กระแสเงินสดสูงขึ้น เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และสิ่งสำคัญ เพิ่มมูลค่าหุ้นให้สูงขึ้นได้ สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นได้อย่างสม่ำเสมอ 



บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ