Toggle navigation
วันอังคาร ที่ 29 เมษายน 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
กทม.- สังคม - การศึกษา - CSR
"ฉะเชิงเทราโมเดล" รอยต่อการศึกษาที่สูญหาย
"ฉะเชิงเทราโมเดล" รอยต่อการศึกษาที่สูญหาย
วันพฤหัสบดีที่ 06 มิถุนายน พ.ศ. 2556
Tweet
ทีมข่าวการศึกษาสยามธุรกิจได้มีโอกาสร่วมเดินทางไปกิจกรรม "ตามรอยฉะเชิงเทราโมเดลรอยต่อที่สูญหายในวงการศึกษาไทย" ตามคำเชิญของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และส่วนงาน Knowledge Communication (KC) ของบริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เพื่อเผยถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์การศึกษาเมื่อกว่า 60 ปีก่อน สะท้อนถึงแนวทางจัดการศึกษาของไทยที่ได้รับความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) โดยในกิจกรรม ได้นำชมโรงเรียนต่างๆ ที่ได้รับเลือกขึ้นมาเป็นโรงเรียนนำร่องในการพัฒนา และที่ถือว่าเป็นไฮไลต์ของทริปนี้คือ การเสวนา "ฉะเชิงเทราโมเดล รอยต่อที่สูญหายในวงการศึกษาไทย" เพื่อสะท้อนบทเรียนตามรอยฉะเชิงเทราโมเดล
การเดินทางย้อนรอยในครั้งนี้ เริ่มต้นจากการพาคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมโรงเรียนต่างๆ ที่เป็นโรงเรียนนำร่องในสมัยนั้น โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์วิโรจน์ ศรีโภคา อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวัดดอนทองที่บริหารโรงเรียนมากว่า 25 ปี และเป็นนักการ ศึกษาคนสำคัญในท้องถิ่นฉะเชิงเทรา มาเป็นวิทยากรร่วมในการนำชมโรงเรียน ต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนวัดดอนทอง, โรงเรียนวัดจุกเฌอ, โรงเรียนวัดสัมปทวน (นอก) และโรงเรียนเทพนิมิตร
หลังจากที่ได้เดินทางย้อนรอยฯ เป็นที่เรียบร้อยก็มาถึงไฮไลต์ของงานคือ การเสวนา "ฉะเชิงเทราโมเดล รอยต่อที่สูญหายในวงการศึกษาไทย" โดยผู้ร่วมเสวนาในครั้งนี้ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านซึ่งล้วนแต่ได้รับอิทธิพลจาก "ฉะเชิงเทราโมเดล" ในสมัยนั้น มาร่วมให้ข้อมูลพร้อมเสวนาเกี่ยวกับหนังสือ อาทิ ศ.กิตติคุณดร. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, ผศ.เอนก เทพสุภรณ์กุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ อาจารย์ประพนธ์ จิตชอบใจ อาจารย์วิโรจน์ ศรีโภคา อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวัดดอนทอง และคุณวิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์ ผู้เรียบเรียง "หนังสือฉะเชิงเทราโมเดล" ด้วย
โดยเริ่มจาก ศ.กิตติคุณดร. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวว่า "อยากให้ทุกคนช่วยกันสานต่อการศึกษาไทย รู้จักใช้ทัศนคติที่ดีร่วมกันพัฒนาการศึกษาชาติ ต้องขอบคุณ UNESCO ที่เข้ามาพัฒนาการศึกษาของไทย และหลายเรื่องนับเป็นความรู้ที่ทันสมัยจนถึงปัจจุบัน ตนเองในฐานะ นักเรียนในสมัยนั้น รู้เลยว่าการจัดการ ศึกษาแนวใหม่นี้ทำให้เด็กมีความกล้าแสดงออกขึ้น พร้อมสนุกสนานกับการเรียนแบบใหม่"
ส่วนอาจารย์ประพนธ์ จิตชอบใจ อดีตผู้บริหารโรงเรียนวัดดอนทอง เป็น ครูใหญ่โรงเรียนวัดดอนทอง มากกว่า 35 ปี ปัจจุบันมีอายุ 96 ปีแล้ว แม้ว่าวัดดอนทองในสมัยนั้นจะไม่ได้อยู่ในโครงการของยูเนสโก้ แต่ท่านอาศัย "ครูพักลักจำ" การจัดการศึกษา ของUNESCO เพื่อมาพัฒนาโรงเรียนของท่าน ซึ่งท่านได้กล่าวว่า "โรงเรียนวัดดอนทองเป็นโรงเรียนประชาบาลที่เริ่ม ต้นมีเด็กนักเรียนประมาณ 30-40 คน สักพักเด็กก็เริ่มย้ายมาจากพระนคร และเริ่มมีนักเรียนเพิ่มมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่ ได้จากยูเนสโกในสมัยนั้น คือ การนำชุมชนเข้ามามีบทบาทกับการเรียนการ สอน และในขณะเดียวกัน ตัวครูเองก็ต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนด้วย เพื่อให้เด็กกับครอบครัว ได้เห็นถึงความ สำคัญกับการเรียนการสอนของครู เห็น ถึงความตั้งใจของครูมากขึ้น ซึ่งความสำเร็จของโรงเรียนวัดดอนทอง เกิดจาก ความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน"
ด้าน ผศ.เอนก เทพสุภรณ์กุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ในฐานะศิษย์เก่าโรงเรียนวัด สัมปทวน และเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่ง ของฉะเชิงเทรา ได้กล่าวว่า "ปัจจุบันโรงเรียนวัดสัมปทวนมีเด็กนักเรียนประมาณ 300 กว่าคน สมัยก่อนใช้การ เรียนการสอนแบบ เลข-คัด-เลิก คือ เรียนเลข คัดไทย เลิกเรียน ทำให้มีความ แตกต่างจากที่ UNESCO เข้ามาปรับปรุง การเรียนการสอนแบบใหม่ทำให้เด็กมีความสนุกสนานในการเรียนมากขึ้น การคิดและกล้าแสดงออก มีอุปกรณ์การเรียนการสอน ครบครัน ถ้าสมัยก่อน ครูหนึ่งคนสอนชั้นเดียว สอนคนเดียว ทำให้เข้าถึงการเรียนแบบนี้ยากขึ้น ต้อง ขอบคุณ UNESCO ที่เข้ามาพัฒนาการ เรียนและพร้อมอุปกรณ์การเรียนอย่าง ครบครัน"
ก่อนจบการเสวนา ทางคุณวิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์ ในฐานะผู้เรียบเรียง หนังสือฉะเชิงเทราโมเดล กล่าวว่า "ฉะเชิงเทราโมเดลเป็นโมเดลการศึกษา ที่ถูกลืมเลือนไปแล้ว กว่าที่จะค้นหาว่า การพัฒนาการศึกษาในสมัย 60 ปีก่อน มีความเป็นมาอย่างไร ต้องใช้เวลาในการค้นคว้าข้อมูลนานพอสมควรสำหรับ หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือประเภทสารคดีผสมผสานระหว่างสารคดีเชิงประวัติศาสตร์และชีวประวัติ ใช้การเล่า เรื่อง เน้นการสัมภาษณ์ ทำให้มีความน่าสนใจ และเนื้อเรื่องที่ไปด้วยกันได้ดี จึงอยากแนะนำให้ทุกคนได้อ่าน"
ปิดท้ายด้วย ผู้ดำเนินการเสวนาครั้งนี้ คือ ดร.นิภาพร กุลสมบูรณ์ ฝ่าย Knowledge Communication (KC) ปิโก (ไทยแลนด์) กล่าวสรุปถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากโครงการฯ ว่า "1.เราได้เรียน รู้และเห็นตัวอย่างการพัฒนาการจัดการศึกษาในอดีตที่ประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะการพัฒนาโมเดลการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา ซึ่งการศึกษา ระดับประถมนี้นับเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาการศึกษาทั้งหมด 2.ได้พบว่าแม้เวลาจะผ่านไปกว่า 60 ปี แนวคิด บทเรียน ตัวอย่างที่ดีจากอดีตยังคงทันยุคสมัย เช่น การพัฒนาการจัดการ ศึกษาที่ให้ความสำคัญในการพัฒนา ครูใหญ่ (ผู้บริหารโรงเรียน) การเปลี่ยนแปลง ที่ต้องเริ่มในห้องเรียนเป็นสำคัญ 3.เห็นตัวอย่างการพัฒนาการศึกษาในรูปแบบพื้นที่โดยใช้จังหวัดเป็นฐาน และ 4.การเรียนรู้จากสากลยังคงเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นอดีตหรือปัจจุบัน ความรู้หลายเรื่องเราสามารถเรียนรู้จากโลกได้ โดยไม่จำเป็นต้องพัฒนาหรือคิดค้นเองทั้งหมด หากแต่ต้องรู้จักเลือกสรรมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและเหมาะกับบริบทของประเทศ"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
ซีพี ออลล์ x มูลนิธิชาวปักษ์ใต้ ร่วมสนั...
...
การเคหะแห่งชาติ จับมือ อคส. ลดภาระค่าครอ...
...
เอไอเอ ประเทศไทย จัดกิจกรรม “เอไอเอ แชร์...
...
“วราวุธ” ติดตามความคืบหน้าโครงการเคหะชุม...
...
การเคหะแห่งชาติ จับมือ สปสช. เดินหน้าติด...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ