Toggle navigation
วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
วิเคราะห์-บทความ-คอลัมน์
ปลดเกียร์ว่าง...เดินหน้าฟื้นเศรษฐกิจ!
ปลดเกียร์ว่าง...เดินหน้าฟื้นเศรษฐกิจ!
วันจันทร์ที่ 09 มิถุนายน พ.ศ. 2557
Tweet
สยามธุรกิจวิเคราะห์
หลังทำรัฐประหารยึดอำนาจมาครบ 7 วัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยความในใจผ่านโทรทัศน์ทั่วประเทศว่า การตัดสินใจยึดอำนาจครั้งนี้ทำเพื่อคืนความสุขให้ประชาชนคนไทยทั้งชาติ รวมทั้งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วน ยุติความรุนแรงด้วยการใช้อาวุธสงครามเพื่อให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้
นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้แถลงถึง “โรดแมปประเทศ ไทย” ว่าจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ช่วงแรกของการควบคุมอำนาจจะดำเนินการเรื่อง “ปรองดองสมานฉันท์” ในระยะเวลา 2-3 เดือน
ระยะที่ 2 จะเป็นการใช้ “รัฐธรรมนูญชั่วคราว” จัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, สรรหานายกรัฐมนตรี, ตั้งคณะรัฐมนตรี, ร่างรัฐธรรมนูญ, ตั้งสภาปฏิรูป เพื่อปฏิรูปแก้ไขทุกเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องการและเป็นที่ยอมรับ โดยคาดว่าจะใช้เวลา 1 ปี มากกว่าหรือน้อยกว่าก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
ระยะที่ 3 การ “เลือกตั้ง” ตามระบอบประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ที่ทุกพวกทุกฝ่ายพอใจ กฎหมายทันสมัยทุกด้าน กฎระเบียบกติกาต่างๆ ได้รับการแก้ไข ได้คนดี สุจริต มีคุณธรรมมาปกครองบ้านเมือง
ที่เร่งด่วนคู่ขนานกันไป กับภารกิจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของคสช.ก็คือการ “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” ให้ไปข้างหน้า เห็นได้จากการแต่งตั้งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจที่มีความสามารถทั้ง “หม่อมอุ๋ย” ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล, ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และ ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี โดยมีพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้า คสช. หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ประกาศ “โรดแมปเศรษฐกิจ” ตั้งเป้าดันจีดีพี โตให้ได้ 3%!
ทีมเศรษฐกิจของคสช.ได้จัดอันดับความสำคัญก่อนหลังในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเริ่มต้นด้วยการเร่งหาเงินมาจ่ายหนี้ชาวนา 9.2 หมื่นล้านบาท จะทำให้มีเม็ดเงินเข้าไปหมุนในระบบเศรษฐกิจหลายๆ รอบอย่างน้อยๆ ก็ 4-5 แสนล้านบาท
การเร่งแก้ปัญหาภาคธุรกิจ SMEs ซึ่งปิดกิจการไปแล้วเกือบๆ แสนราย จะช่วยแก้ปัญหาคนตกงานได้นับแสนคนแต่ที่เป็น “ไฮไลต์” คือ เร่งเบิกจ่ายงบฯ ปี 2557 “ค้างท่อ” ที่จะต้องเร่งรัดให้มีการเบิกจ่ายให้มากที่สุดโดยเฉพาะงบการลงทุน พร้อมกับเร่งจัดทำงบฯ ปี 2558 ประมาณ 2.6 ล้านล้านบาท ที่ชะลอมากว่าครึ่งปีให้ทันใช้ในปีงบประมาณนี้
“โรดแมปเศรษฐกิจ” ระยะเร่งด่วน จะประกอบด้วย ตรึงราคาน้ำมันดีเซล ไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ออกไปอย่างไม่มีกำหนด ขณะเดียวกันให้ตรึงราคาก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี ภาคครัวเรือนไว้ที่ 22.63 บาทต่อกิโลกรัม ออกไปไม่มีกำหนด และให้คงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ไว้ที่ 7% อีก 1 ปี พร้อมเร่งปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ
นอกจากนี้ ยังมีโครงการเร่งด่วน คือ “โครงการประกันภัยข้าวนาปี 2557” โดยเตรียมวงเงินไว้สำหรับจ่ายค่าเบี้ยประกัน และจ่ายค่าเสียหายที่จะเกิดขึ้น และให้เร่งลงทุนขับเคลื่อน “โครงสร้างพื้นฐาน” รถไฟฟ้า รางรถไฟ และถนน โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมด่วนเพื่อหาแนวทางขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงพัฒนา “พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน” ทั้งไทย-มาเลเซีย ไทย-ลาว ไทย-พม่า อย่างเป็นรูปธรรมให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้
นอกจากนี้ ยังให้ขับเคลื่อนโครงการเร่งด่วน เช่น “การค้ำประกันสินเชื่อ” ให้ผู้ประกอบการ SMEs โอท็อป และไมโคร เพื่อให้นักลงทุนเกิด “ความเชื่อมั่น” และให้ผลักดันสินเชื่อที่อยู่อาศัยผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) รายละ 1.5 ล้านบาท ดอกเบี้ย 1-3 ปี คงที่ 4.125% และเร่งแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ
ในขณะที่ภาคธุรกิจเองก็ขานรับเต็มที่โดยเฉพาะคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ได้จัดทำข้อเสนอไปยังคสช.ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วยเหลือธุรกิจ SMEs และเรียกความเชื่อมั่นที่มีต่อประเทศไทยให้กลับคืนมาคือ การกระตุ้นเศรษฐกิจ จะเร่งรัดในการออกพ.ร.ก.ขยายเวลาการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออกไปอีก 2 ปี
เร่งรัดการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ด BOI) ซึ่งขณะนี้ยังมีเงินลงทุนที่รอการพิจารณาอีก 6.6 แสนล้านบาท สำหรับใช้ในโครงการขนาดใหญ่ที่สำคัญ
ส่วนมาตรการช่วยเหลือ SME นั้น เนื่องจากขณะนี้ผู้ประกอบการ SME มีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง ซึ่ง กกร.เห็นว่าการปล่อยสินเชื่อให้ถึงมือผู้ประกอบการที่เร็วที่สุดคือการปล่อยสินเชื่อผ่านธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะมีการจัดหาสถาบันการเงินระหว่างประเทศเพื่อเข้าร่วมประกันสินเชื่อกับบรรษัทประกันสินเชื่อขนาดย่อม (บสย.) เพื่อให้สามารถเพิ่มระดับการค้ำประกันจากเดิมที่ค้ำประกับความสูญเสียจากโครงการ บสย.ที่สูงสุดที่ 18% มาเป็น 50%
ในส่วนของการ “สร้างความเชื่อมั่น” ต่อประเทศไทยมองว่าจำเป็นต้องเร่งสร้างความเข้าใจกับนักลงทุน และนักท่องเที่ยวเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กลับมา ซึ่งภาคเอกชนไทยจะนำคณะไปเยือนประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมประชุม เช่น การประชุมเจรจาธุรกิจการค้าการลงทุนเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการค้า รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยด้วย
การออกนโยบายรวดเร็ว รวมทั้งการร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะข้าราชการที่จะเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมาก จะเป็นการเรียกความเชื่อมั่นจากเอกชน นักลงทุนไทยและต่างชาติ รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้
วันนี้ข้าราชการที่เคยเกียร์ว่าง ต้องเปลี่ยนเกียร์เร่ง เดินหน้ากันคึกคัก...อย่าให้ “ท่าดี ทีเหลว” ก็แล้วกัน…!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
ภาษีบุหรี่: ความล่าช้า 4 หมื่นล้านบาทที่...
...
ภาษีบุหรี่ ค้างคา "แช่แข็ง" ไม่เดินหน้...
...
อะไรคือ ? โจทย์ใหญ่ กระทรวงการคลัง ที่มา...
...
ttb analytics มองเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็ง...
...
มาตรการ MPOWER เสาหลักกฎหมายควบคุมผลิตภั...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ