Toggle navigation
วันเสาร์ ที่ 14 ธันวาคม 2567
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
"นาโนซิงค์ออกไซด์" เพิ่มคุณภาพ-ปริมาณ (จบ)
"นาโนซิงค์ออกไซด์" เพิ่มคุณภาพ-ปริมาณ (จบ)
วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
Tweet
ฉบับที่แล้วเราได้ไปฟัง "ดร.วิรัตน์ เจริญบุญ" ผู้ช่วยคณบดีวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง มาเล่าถึงโรคแคงเกอร์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียส่งผลให้ปริมาณมะนาวลดลง ซึ่งมะนาวที่เป็นโรคนี้จะเห็นผิวเป็นด่างๆ ทั้งนี้เกษตรกรจะรักษาด้วยการใช้สารสีเขียวหรือสารประกอบทองแดงฉีดพ่นช่วยในการกำจัดโรคซึ่งถ้าสวนไหนใช้สารนี้ผลมะนาวจะกลายเป็นสีฟ้าอมเขียว ทั้งนี้ สารเคมีประเภทนี้ เป็นสารก่อมะเร็ง ด้วย เหตุนี้ทางสถาบันฯ จึงได้ทำการทดลองหา วิธีป้องกันหรือรักษาโรคในแปลงทดลองด้วยการใช้นาโนซิงค์ออกไซด์หรือสังกะสีจนประสบความสำเร็จจึงนำมาให้เกษตรกร ชาวสวนมะนาวได้ใช้วิธีการนี้ ซึ่งอัตรา ส่วนผสมที่เราแนะนำก็คือ เกษตรกรชาว สวนมะนาวควรใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ ในการฉีดพ่นที่ต้นมะนาวในอัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ระยะเวลาในการ ฉีดพ่นทุก 10-15 วันต่อครั้ง
ฉบับนี้เรามาตามต่อจากประสบการณ์ ผู้ใช้นั่นคือ "คุณธนภร ธนภัทรอภิเดชา" เกษตรกรสวนมะนาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเขาได้เล่าให้ฟังว่า "ตัวเองกับเพื่อนๆ ชาวสวนมะนาวด้วยกันเนี่ย เจอปัญหาหลายอย่างมากในการปลูก มะนาวทั้งโรคแคงเกอร์ทั้งปัญหาหนอนกินใบ ซึ่งเราก็ใช้สารเขียวในการจัดการกับโรคแคงเกอร์แต่ราคามันสูงมาก อีกอย่างถ้าเราใช้เยอะเกินไปนี่ผลมะนาวมันร่วงเลยนะ ยังไม่ทันจะโตได้ขนาดเหมาะที่ จะเก็บขายเลยก็ร่วงแล้ว เจอแบบนี้เขาบอกได้เลยชาวสวนมะนาวอย่างเรานี่น้ำตาตกเลยนะ เมื่อก่อนนี้แคงเกอร์รุมสวนมะนาวหนักมาก เราจะใช้สารเขียวที่เป็นคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์กับคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์สำหรับกำจัดศัตรูพืชฉีดลงมะนาว แล้วราคาสารเขียวนี่สูงมาก เยอะ ไปผลก็ร่วง ทีนี้พอทางศูนย์วิจัยเกษตรด่านช้าง เขาได้แจ้งมายังพวกเราว่ามีโครงการให้เกษตรกรได้มาเรียนรู้วิธีการปลูกมะนาวอย่างมีประสิทธิภาพก็เลยลองเข้าไปเรียนรู้ดู แล้วเขาก็แนะนำให้เราลองใช้นาโนซิงค์ดู เราเองก็พยายามมองหาอย่างอื่นที่น่าจะช่วยเราได้นอกจาก สารเขียวซึ่งมีราคาสูงอยู่แล้ว ก็ลองดู"
"ครั้งแรกเลยที่ลองนี่ ลองใช้ฉีดแค่ 4 ไร่ก่อนนะ ก็ถือว่าเป็นการทดลอง แล้วผลที่เราทดลองเอง ทำตามที่ทางศูนย์เขา แนะนำทุกอย่างเลย เราก็พบว่าใบที่เป็นแคงเกอร์มันก็หยุดไม่ลามไปยังใบอื่น และผลัดใบที่มีอาการของโรคแคงเกอร์ทิ้งด้วย ตัวผลมะนาวที่เป็นโรคแคงเกอร์เองก็เป็นน้อยลงมาก คือยังเป็นอยู่บ้างแต่ขนาดมันเล็กลง หรือไม่เป็นเลยและไม่ลุกลามด้วยพอได้ผลอย่างนี้ ก็เอามาใช้ หมดทั้งสวนมะนาวเลย พอใช้หมดทั้งสวน ก็รู้สึกว่ามันช่วยลดแมลงที่เป็นศัตรูกับมะนาวด้วย ตัวผลมะนาวที่ได้ก็เป็นมะนาว เกรดเอ คือผิวสวย ผลใหญ่ เปลือกบาง น้ำเยอะ ขายได้ราคามากกว่าเดิม แล้วตัว นักวิจัยเองเขาไม่ทิ้งเราเลย พอเราลองใช้ ของที่เขาแนะนำแล้ว เขาก็มาคอยดูแล คอยดูผลที่ได้ด้วยว่ามันใช่อย่างที่เขาทดลองในพื้นที่ของเขาไหม ซึ่งตรงนี้ในฐานะเกษตรกรก็ต้องบอกว่าเขาดูแลดี แล้ว ถ้าเรามีอะไรติดขัดเขาก็แนะนำเราได้ด้วย"
"จาก 4 ไร่นะ ตอนนี้ใช้ทั้งหมด 60 ไร่ เลยใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ฉีดพ่น แทนสารเคมีแบบดั้งเดิมที่เคยใช้อยู่ ปรากฏ ว่า เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนของผลผลิตที่ได้ทั้งในเรื่องของคุณภาพและปริมาณ อีกทั้งต้นทุนในการปลูกก็ลดลงด้วย จากเดิมมีต้นทุนในการปลูกต่อไร่ประมาณ 100 บาท หลังจากที่มีการใช้อนุภาคนาโนฯ ทำให้ต้นทุนที่ใช้ลดลงเหลือ เพียง 25 บาทต่อไร่ต่อรอบ การฉีดพ่นสารเคมี และคุณภาพของผลมะนาวก็ดีขึ้น ทำให้คนที่มารับจากสวนไปขาย ก็ให้ราคา ตามมาตรฐานของสวน โรคแคงเกอร์ที่เคย ระบาดในมะนาวก็ไม่เกิดขึ้นอีก อีกทั้งยังสามารถให้ผลผลิตได้เพียงพอกับความต้องการในท้องตลาด ซึ่งสามารถสร้าง รายได้โดยเฉลี่ยเดือนละกว่า 100,000 บาท แล้วผลผลิตที่ได้มีปริมาณมากกว่าที่ไม่ได้ใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ถึง 20% ตอนนี้ พี่เอาไปใช้กับสวนมะละกอด้วย เพราะเห็น ผลที่ใช้จากสวนมะนาวแล้วไง ว่ามันได้ผล ดีจริง วิธีการใช้มันก็ไม่ยาก เอามาละลาย น้ำตามอัตราส่วน แม้ว่าบางทีเราจะใส่หนักมือไปบ้างก็ไม่ส่งผลเสียเหมือนกับสารสีเขียว ก็เป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง"
สำหรับเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ เบอร์โทรศัพท์ 0-2329-800 ต่อ 3034 หรือศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เบอร์โทรศัพท์ 0-2329-8000 ต่อ 3076 หรือ เข้าไปที่ www.nano.kmitl.ac.th
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
6 องค์กรจับมือขยายตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรไท...
...
ครม.เห็นชอบแก้หนี้เกษตรกร 16,794 ราย ภาย...
...
กฟก. เดินหน้าซื้อหนี้ปี 68 สั่งการให้สาข...
...
กฟก. เดินหน้าหนุน “งบ-องค์ความรู้” พัฒนา...
...
"เนสท์เล่" พาทัวร์โมเดลฟาร์มโคนมต้นแบบคว...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ