‘เบ็นคิว’ เผย ปรับกลยุทธ์ธุรกิจแบบผสมผสานรับวิกฤตโควิด-19 ไปได้สวยส่งผลรายได้ปี 2021 เติบโตพุ่งขึ้นกว่า 56% เปิดแผนปีนี้ลุยขยายฐานกลุ่มผลิตภัณฑ์จอกระดานอัจฉริยะเต็มกำลัง

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2565

‘เบ็นคิว’ เผย ปรับกลยุทธ์ธุรกิจแบบผสมผสานรับวิกฤตโควิด-19 ไปได้สวยส่งผลรายได้ปี 2021 เติบโตพุ่งขึ้นกว่า 56% เปิดแผนปีนี้ลุยขยายฐานกลุ่มผลิตภัณฑ์จอกระดานอัจฉริยะเต็มกำลัง


บริษัท เบ็นคิว (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้เปิดเผยถึงการเปลี่ยนแปลงขององค์กรครั้งใหม่ ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงจากการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดและกลุ่มผู้บริโภค ด้วยการเติบโตแบบผสมผสานผ่านกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เจาะเข้าถึงการใช้งานที่ตรงจุด รองรับกับสถานการณ์วิกฤตโควิด – 19 ได้อย่างดี

นายวัชรพงษ์ วงษ์มา รองผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ ได้เผยภาพรวมการตลาดของ เบ็นคิว ประเทศไทย ในช่วงปี 2021 ที่ผ่านมา ว่า ภาพรวมรายได้ของ เบ็นคิว ประเทศไทย ในปี 2021 เติบโตขึ้นกว่า 56% เมื่อเทียบกับปี 2020 ซึ่งรายได้ทั้งหมดไม่ได้มาจากกลุ่มผลิตภัณฑ์หลักเพียงอย่างเดียว แต่เติบโตแบบผสมผสาน จากการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจออกแบบแผนรองรับการใช้งานให้ตรงจุด และเข้ากับสถานการณ์ช่วงโควิด-19 ที่ระบาดหนัก โดยภาพรวมธุรกิจโปรเจคเตอร์ของ เบ็นคิว ประเทศไทย เติบโตร้อยละ 34.79 เมื่อเทียบกับปีก่อนในเชิงของรายได้แต่ในขณะที่จำนวนเครื่องที่ถูกปล่อยออกสู่ตลาดนั้นเท่าเดิม จากการมุ่งเน้นการรณรงค์ในเรื่องของ Hybrid Learning Room ได้ชูจุดเด่นของ Smart Projector เป็นตัวหลัก เพื่อเจาะกลุ่มตลาดโรงเรียนที่มีงบประมาณจำกัด แต่ต้องการฟังก์ชั่นการใช้งานที่มากกว่าเดิม โดย Smart projector ของ BenQ สามารถเข้าสู่ระบบ Cloud แล้วดึงข้อมูลออกจาก Drop Box หรือ Share Drive เพื่อใช้ในการเรียนการสอนหรือการประชุมได้โดยที่ไม่ต้องเสียบสายเพื่อเปิดไฟล์พรีเซนต์ฯ จาก โน๊ตบุ๊ค แบบโปรเจคเตอร์ปกติทั่วไป จึงทำให้ได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้ใช้งานจนมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในยอดจำหน่ายมากกว่า 800 เครื่อง ซึ่งถือว่าโตขึ้นกว่า 30% เมื่อเทียบกับปี 2020

พร้อมกันนี้ได้ปรับกลยุทธ์รองรับตลาด Entertainment ที่ไม่เน้นแค่ยอดจำหน่ายของกลุ่มโปรเจคเตอร์ 4K เพียงอย่างเดียว เรามองถึงองค์รวมของคำว่า Home Entertainment ที่เจาะกลุ่มผู้ใช้งานที่ชอบอยู่บ้านและใช้ชีวิตกับครอบครัว ด้วย Projector Gaming ที่สามารถสร้าง Frame rate ได้สูงๆ และกลุ่ม Projector Portable ที่ต่อเข้ากับเครื่อง Nintendo และ PS5 เพื่อสร้างความสนุกได้มากยิ่งขึ้น

กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเสริมรายได้ให้กับ เบ็นคิว ประเทศไทย เติบโตมากยิ่งขึ้น คือ ผลิตภัณฑ์จอกระดานอัจฉริยะ หรือ Interactive Flat Panel (IFP) โดยภาพรวมตลาดธุรกิจจอกระดานอัจฉริยะนับว่าเติบโตแบบก้าวกระโดด หากมองย้อนไปช่วงเปิดตัวทำตลาดในปี 2017 มีส่วนแบ่งทางการตลาดเพียง 2.7% ขณะที่ปริมาณมวลรวมของตลาดในเวลานั้นอยู่ที่ 1,259 เครื่อง แต่ในไตรมาตรที่ 3 ของปี 2021 เบ็นคิว ประเทศไทย กลับได้รับส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุดที่ 26.76% ในขณะที่ตลาดมวลรวมปิดตัวมากกว่า 3,200 เครื่อง และสำหรับในปี 2022 เรายังคงเดินหน้าทำการตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์จอกระดานอัจฉริยะแบบเต็มกำลังด้วยจุดยืนบนความเชื่อในเรื่องของเทคโนโลยีที่จะเข้ามาทดแทนกระดาน Interactive Projector หรือกระดาน White Board ในชั้นเรียนได้ในอนาคต รวมทั้งคุณครูยุคใหม่จะสามารถผลิตสื่อการเรียนการสอน หรือนำโปรแกรมสำเร็จ เช่น KAHOOT, SNOWFLAKE และโปรแกรมอื่นๆ ที่เป็นซอฟแวร์มาเปิดเล่นได้ทั้งบน Platform Window, Android, Chrome มาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนให้แก่เด็กๆ นักเรียนได้ด้วยเช่นเดียวกัน

ผู้บริหารหนุ่ม กล่าวต่อว่า สำหรับภาพรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์ ZOWIE ของตลาดไทยในช่วงปี 2021 มีการแข่งขันในตลาดจอเกมมิ่ง ชนิดเฟรมเรท 240Hz มีความยากอยู่ไม่น้อยในช่วงปี 2020 - 2021 ที่ผ่านมา เพราะปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามากดดันในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นราคาต้นทุนการซื้อเครื่องประกอบต่อชุดที่เพิ่มสูงขึ้นใน 2 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งราคาจำหน่ายปลีกของผลิตภัณฑ์ประเภท GPU ที่มีราคาที่สูงขึ้น ตลอดจนสงครามราคาจอมินิเตอร์ประเภท 240Hz ที่แข่งกันทำโปรโมชั่นเพื่อระบายสินค้าออกในช่วงวิกฤต ซึ่งสวนทางกับต้นทุนในการนำเข้าที่ค่อยๆ สูงขึ้นเรื่อยๆ จากปัญหา Global Supply Chain และต้องยอมรับว่าในตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา แบรนด์ ZOWIE ไม่ได้มองถึงการเป็นเจ้าตลาดในกลุ่ม 144Hz หรือ 240Hz แต่กลับมองที่ตัวแบรนด์เองว่าปีนี้ต้องเติบโตกว่าปีก่อนๆ และต้องเป็นการโตขึ้นอย่างมั่นคง นั้นหมายถึงผลิตภัณฑ์แบรนด์ ZOWIE ต้องมี Social Response ที่ดีจากสังคมและลูกค้าหรือฐานแฟนๆ และต้องมอบประสบการณ์ที่ดีจากการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างถูกวิธีและเข้าใจในทุกๆฟีเจอร์ (Features) รวมถึงคุณประโยชน์ต่างๆ ให้มากขึ้นและนำไปสู่การบอกต่อแบบปากต่อปาก ซึ่งภาพรวมของแบรนด์ ZOWIE มียอดจำหน่ายที่เป็นตัวเครื่องและมูลค่ายอดจำหน่ายที่เยอะขึ้น  โดยส่วนแบ่งการตลาดของ จอ 144Hz ในปี 2021 มียอดจำหน่ายสูงถึง 10,481 เครื่อง ซึ่งถือว่าโตกว่าปี 2020 อยู่ที่ 1 เท่าตัว ส่วนภาพรวมของตลาดจอ 240Hz ได้มีการจำหน่ายออกไปไม่ต่ำกว่า 2,272 เครื่องทั่วประเทศ เมื่อเทียบกับปี 2020 มีการเติบโตที่ 28.94% และสำหรับในปี 2022 ยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างและขยายฐานธุรกิจจอมอนิเตอร์ให้โตขึ้นแบบมีคุณภาพและยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับทฤษฎี ZMOT (Zero Moment of Truth) ที่ดำเนินนโยบายและกลยุทธ์ทางการตลาดต้องส่งผลให้ผู้บริโภคมีการตัดสินใจซื้อที่รวดเร็วยิ่งขึ้น



บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ