Toggle navigation
วันพุธ ที่ 9 กรกฎาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
วิเคราะห์-บทความ-คอลัมน์
"จุฬา" เปิดโต๊ะฉะ "กสทช." มัดมือสื่อ-ปิดตาปชช.
"จุฬา" เปิดโต๊ะฉะ "กสทช." มัดมือสื่อ-ปิดตาปชช.
วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556
Tweet
เป็นที่บริภาษกันในวงกว้างของสังคมถึงคดีการฟ้องร้องเรียก ศักดิ์ศรีของหน่วยงานราชการ กับการทำงานของคณะนักวิชาการ และสื่อมวลชน ที่ภาพฉายออกมาถึงการพยายามเด็ดปีกนกพิราบ งานนี้จำต้องเปิดโต๊ะระดมสมองกันครั้งใหญ่เมื่อต่างฝ่ายต่างเชื่อมั่นในการทำงานของตนและศักดิ์ศรีแรงด้วยกันทั้งคู่..
โดยงานนี้เปิดโต๊ะถกกันที่ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ชื่องานเสวนาวิชาการ "คดีฟ้องร้องนักวิชาการกับบทบาทหน้าที่สาธารณะ"
นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า แม้ มาตรา 50 รัฐธรรมนูญ 2550 จะเขียนถึงเสรีภาพ ทางวิชาการไว้ แต่ก็เขียนไว้กว้างมาก ว่า "บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน" ซึ่งการตีความเป็นเรื่องดุลพินิจ ซึ่งยากจะกำหนดกรอบว่าอะไรคือเสรีภาพทางวิชาการ เพราะหากกระทบ กับองค์กรหรือบุคคลอื่น อาจถูกเปลี่ยนประเด็นว่าขัดต่อหน้าที่พลเมืองได้
ทั้งนี้ แม้ว่า เสรีภาพทางวิชาการ จะถูกรับรองในรัฐธรรมนูญหลายประเทศ และอยู่ในสังคมนาน จนน่าจะกลายเป็นสิทธิมนุษยชนประเภทหนึ่งได้ไม่ยาก แต่กลับยังไม่มีคำจำกัดความที่ชัดเจน ซึ่งเขามองว่าเป็นเพราะบ้านเราพยายามมีทุกอย่างที่ต่างประเทศมี แต่ไม่ได้สานต่อ เช่น รับรองการมีส่วนร่วมของประชาชน เสรีภาพ ในการชุมนุม แต่ไม่มีกติกา ไม่มีการขยายความหรือวางกรอบให้ชัดว่าคืออะไร ดังนั้น เสรีภาพทางวิชาการจึงเคว้งคว้าง แม้แต่นักวิชาการก็บอกไม่ได้ว่าคือใครบ้าง
นอกจากนี้ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ยังกล่าวต่อว่า ตามหลักนักวิชาการมีเสรี ภาพทางวิชาการตามรัฐธรรมนูญ แต่ก็ต้อง ระมัดระวัง ไม่ให้การใช้สิทธิเสรีภาพของตัวเองกระทบกับเรื่องส่วนตัวของผู้ที่ตนเอง วิจารณ์มากเกินไป ขณะที่หน่วยงานต่างๆ ก็ต้องใจกว้างพอสมควร กรณีที่ไม่เห็นด้วย กับสิ่งที่นักวิชาการพูดนั้น ทำได้หลายทาง แต่การฟ้อง เป็นขั้นสุดท้ายกว่า สุดท้าย "นันทวัฒน์" ได้ตั้งคำถามไปถึงภาครัฐว่า "ถามจริงๆ ว่ารัฐควรจะเป็นปฏิปักษ์กับประชาชน ซึ่งใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ หรือเปล่า"
แต่โดยส่วนตัวมองว่า ไม่ถูกต้อง โดย กสทช. ควรตระหนักว่า เงินเดือนที่ได้จำนวน มหาศาลมาจากภาษีของประชาชน ดังนั้น จึงควรตั้งโต๊ะเจรจา โต้กันในเวทีสาธารณะ หากบอกว่ามีข้อมูลผิดก็แถลงข่าว ชี้แจงกัน ทุกคนมีโอกาสพลาดได้
อย่างไรก็ตาม หากสื่อเองเผยแพร่ ข่าวออกไปโดยที่ฐานข้อมูลทางวิชาการยังไม่ชัดเจน สื่อก็ต้องรับผิดชอบด้วย
"พิรงรอง รามสูต" ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ มองว่า ผู้ถูกฟ้องทั้งสองคนเป็นกลไก ของการตรวจสอบผู้มีอำนาจ โดยการจะกำหนดนโยบายสาธารณะจากภาคประชาสังคม ทำได้โดยนักวิชาการร่วมกับสื่อ เพื่อ ทำข่าวไม่เป็นข่าวให้เป็นข่าว เนื่องจากการ สร้างวาระข่าวสารนั้นทำได้ยาก เพราะเมื่อ งบโฆษณาจำนวนมากลงไป ก็ทำให้สื่อเกิด ความเกรงใจ
เมื่อสำรวจในต่างประเทศ พบว่า องค์กร กำกับดูแล เช่น ออฟคอม ของอังกฤษ หรือ แอคมา ของออสเตรเลีย ไม่มีการฟ้องสื่อ ถ้ามี จะเป็นกรณีที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลแล้วไม่ปฏิบัติตาม
อาจารย์พิรงรอง ยังกล่าวอีกว่า การ ทำงานของนักวิชาการ โดยเฉพาะนักวิชาการที่ทำวิจัยประเด็นสาธารณะอย่าง "อาจารย์ เดือนเด่น" หรือทีดีอาร์ไอ อาจไม่เป็นประโยชน์ ขัดประโยชน์องค์กรรัฐและเอกชน ซึ่งมีความเสี่ยง หากปล่อยให้เกิดการฟ้องร้องนักวิชาการเหล่านี้ขึ้น อาจ ทำ ให้ความกล้าที่จะตรวจสอบของนักวิชาการ หายไป นอกจากนี้ แม้การฟ้องร้องเป็น สิทธิ ตามกฎหมายของ กทค. แต่ควรตั้งคำถาม ด้วยว่ามันถูกต้องตามหลักจริยธรรม หรือไม่
"วีระ สมบูรณ์" อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึง กรณี "SLAPP" (Strategic Lawsuits Against Public Participation) คือ การใช้คดีความเป็นกลยุทธ์คุกคามการมีส่วนร่วมสาธารณะ ซึ่งเป็นเหตุ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป และเป็นกลยุทธ์ ที่สำคัญ
การ SLAPP เป็นการฟ้องร้องโดยไม่จำเป็นต้องเป็นหน่วยงานรัฐ อาจเป็นเอกชน เจ้าหน้าที่รัฐ หรือส่วนตัว เมื่อมีข้อ สงสัยข้อขัดแย้ง ชิงฟ้องก่อน หรือเมื่อมีการหยิบยกมาก็ฟ้อง เพื่อปิดไม่ให้ให้ประเด็น ที่เกิดขึ้นไปสู่พื้นที่ของสาธารณะ
แม้จะมีการอ้างเรื่องเสียชื่อเสียงหรือ หมิ่นประมาท แต่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงคือ การเซ็นเซอร์ คุกคามไม่ให้มีการนำเสนอ โดยผลลัพธ์ไม่อยู่ที่การชนะคดี แต่คือผลต่อบรรยากาศการดีเบต และวัฒนธรรมการเข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องสาธารณะที่จะถูกทำให้หายไป รวมถึงทำให้ผู้ที่เสนอข้อมูลความเห็นต้องมีต้นทุนสูงมาก เพราะ การถูกฟ้องร้อง นำมาซึ่งการเสียขวัญ ไม่มั่นใจ เรื่องเงิน เวลา ทรัพยากรต่างๆ โดย เฉพาะหากทำกับคนธรรมดา คนทั่วไปรู้สึก ไม่คุ้มที่จะสู้
ในต่างประเทศ มีความพยายามหาทางป้องกันเรื่องนี้ เช่น ในสหรัฐฯ มีกฎหมาย Anti SLAPP law ซึ่งออกมาและเรียกร้องการฟ้องร้องในกรณีที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเชิงสาธารณะให้ละเอียดขึ้น ต้องเร่ง รัดให้ยุติการรับฟ้องเร็วที่สุด มีมาตรการช่วยเหลือผู้ที่เข้าสู่กระบวนการนี้ ค่าใช้จ่ายทนายความ บางรัฐบอกว่า ถ้าทำให้เสียงบ ประมาณ ทรัพยากรสาธารณะ หน่วยงานที่ฟ้องต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย และในอังกฤษ มีพ.ร.บ.ว่าด้วยคดีหมิ่นประมาท ที่กำหนดให้ผู้ฟ้องต้องพิสูจน์ว่า เสียชื่อเสียงต้องเสียหายอย่างหนักโดยพิสูจน์ได้
กรณีนี้ ตั้งคำถามว่าหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลคุ้มครองพื้นที่สาธารณะ กำลังใช้อำนาจหน้าที่นั้นทำในสิ่งที่ตรงข้ามหรือไม่ โดยตนเองมองว่า กทค. มีหน้า ที่คุ้มครองสามส่วน หนึ่ง ต้องเคารพในสิทธิเสรีภาพ สอง คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ สาม เติมแต่งหรือพยายามยกระดับสิทธิเสรีภาพของประชาชน ถ้าปล่อยให้ SLAPP เกิดขึ้น โดยที่ กทค. ทำเสียเอง มองว่าน่าเป็นห่วงมาก
กรณีที่มีการอ้างว่าผู้ถูกฟ้องทำให้เสียเกียรติภูมินั้น เขามองว่า ศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของหน่วยงานนั้น ไม่ใช่ของ กทค. ไม่มีใครเป็นเจ้าของ จะเอาเรื่องส่วนตัวมาเกี่ยวข้องไม่ได้ นอกจากนี้ มองว่า กรณี นี้เป็นเรื่องทางสาธารณะ ซึ่งควรพิสูจน์กัน ในพื้นที่สาธารณะ ไม่ใช่ศาล และหากมีผลกระทบส่วนบุคคล ก็ใช้พื้นที่ส่วนบุคคลฟ้อง ค่าใช้จ่ายและการดำเนินการต้องทำในนามส่วนตัว ไม่ใช่ใช้ทรัพยากรสาธารณะ มารับผิดชอบความเสียหายส่วนบุคคล
"นวลน้อย ตรีรัตน์" อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ มองว่า การฟ้องร้อง เป็นกลยุทธ์ทำให้เกิดความกลัว และภาคประชาสังคมถดถอย ทั้งนี้ เป็นไปไม่ได้ที่เมื่อทำประเด็นสาธารณะ แล้วจะไม่แตะต้องใครเลย ไม่เช่นนั้น วิธีที่แก้ปัญหาที่สุด ก็คือไม่แตะต้องใครเลย และในประเด็นสาธารณะนั้น มองว่าต้องแสดงให้เห็นการ ตัดสินใจที่โปร่งใส
พร้อมทั้งมองว่าหาก กสทช. คิดว่าข้อมูลของนักวิชาการไม่ถูกต้อง ก็สามารถ ชี้แจงเรื่องนี้ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับสังคม มากกว่าการฟ้องร้อง ขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นว่า การที่ กสทช. ได้รับมอบสิทธิ์ในการจัดสรรผลประโยชน์ของสาธารณะจำนวนมหาศาล สาธารณชนจึงมีสิทธิ์ตรวจ สอบและถามคำถาม ซึ่ง กสทช. ก็ควรจะต้องพร้อมที่จะตอบคำถามเหล่านั้น
ก่อนจะปิดท้ายว่า กระบวนการทำงานจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความเชื่อถือที่ประชาชนมีต่อ กสทช. เพราะฉะนั้น หาก กสทช. ต้องการได้รับความเชื่อถือ ก็ต้องทำทุกอย่างอย่างตรงไปตรงมาและโปร่งใส
"หน่วยงานของรัฐไม่ใช่หน่วยงานของท่าน หน่วยงานของรัฐเป็นของประชาชน เพราะฉะนั้น เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีทั้งหลายมาจากความเชื่อถือของ ประชาชนที่มีต่อท่าน"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
ภาษีบุหรี่: ความล่าช้า 4 หมื่นล้านบาทที่...
...
ภาษีบุหรี่ ค้างคา "แช่แข็ง" ไม่เดินหน้...
...
อะไรคือ ? โจทย์ใหญ่ กระทรวงการคลัง ที่มา...
...
ttb analytics มองเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็ง...
...
มาตรการ MPOWER เสาหลักกฎหมายควบคุมผลิตภั...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ