Toggle navigation
วันพุธ ที่ 9 กรกฎาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
วิเคราะห์-บทความ-คอลัมน์
7 ปี 19 ก.ย. 49 ตาสว่างแล้ว สว่างอีก
7 ปี 19 ก.ย. 49 ตาสว่างแล้ว สว่างอีก
วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556
Tweet
วิเคราะห์การเมือง : by นพคุณ ศิลาเณร
ในปัจจุบันพรรคประชาธิปัตย์ออกอาการ เพี้ยนทางการเมือง นักวิเคราะห์ประเมิน กันว่า ส่วนหนึ่งคงต้องการให้ทหารยึดอำนาจ เพื่อเปิดโอกาสได้เป็น "ผู้ชนะ" อีกครั้งเหมือนเคยเกิดมาแล้วเมื่อ 7 ปีผ่านมา
สถานการณ์ขณะนี้ พอเป็นใจให้พรรคประชาธิปัตย์บรรลุความอยากอยู่บ้าง แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) พยายามเบี่ยงกายหลบแรงหนุนหลังให้ยึดอำนาจ แต่ผู้นำทหารกลุ่มอื่นกลับซุ่มคิดการใหญ่ รอให้ความขัดแย้งสุกงอม แล้วเป็นข้ออ้างเคลื่อนทหารออกมา ล้มรัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ไม่มีใครปัดแนวทาง "ทหารยึดอำนาจ" ทิ้งไปได้เบ็ดเสร็จ ทั้งๆ ที่อำนาจทหารเป็นพลังล้าหลัง ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาสังคมเชิงสร้างสรรค์ แต่ความขัดแย้ง หนักหน่วงในขณะนี้ ทหารมักถูกเรียกร้องให้เข้าแทรกแซงการเมืองอยู่เสมอ
กลุ่มหน้ากากขาว กลุ่มกองทัพประชาชน โค่นระบอบทักษิณ (กปท.) ที่ตั้งม็อบอยู่สวน ลุมพินี องค์กรพิทักษ์สยาม และอีกหลายกลุ่มที่เป็นปรปักษ์กับรัฐบาล ล้วนมีเป้าหมาย ให้ทหารเข้ามาเปลี่ยนแปลงการเมืองทั้งสิ้น
แต่ทหารยังอยู่นิ่งในกรมกอง บางครั้ง พล.อ.ประยุทธ์ อึดอัด รำคาญ เขาไม่พอใจกับความพยายามลากทหารไปปะปนในความขัดแย้งทางการเมือง ราวกับเข็ดขยาดและ "ตาสว่าง" กับเหตุการณ์ทหารยึดอำนาจครั้งล่าสุดเมื่อ 19 กันยายน 2549 จนทำให้ความขัดแย้งฝังลึก ยากต่อการเยียวยา
+ บทเรียนตัวช่วยผู้แปรพักตร์
ช่วงค่ำประมาณสามทุ่มของวันที่ 19 กันยายน 2549 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็น ผบ.ทบ. ได้นำทหารในชื่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. เข้ายึดอำนาจ ไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกจากนายกรัฐมนตรี และเร่ร่อนอยู่ต่างประเทศจนถึงปัจจุบัน
ตอนดึกๆ ของวันดังกล่าว พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี นำ คปค. ประกอบด้วย พล.อ.สนธิ, พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผบ.ทร. และ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก ผบ.ทอ. เข้าเฝ้าถวายรายงาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
แล้วการยึดอำนาจของ พล.อ.สนธิ จึงราบรื่น สงบ ไม่มีการต่อต้านจากกลุ่มอำนาจทักษิณ มีแต่กลุ่มมวลชนออกมาโห่ร้องชื่นชม มอบดอกไม้แดงให้ทหารประจำรถถัง แล้วเฉลิมฉลองด้วยสาวน้อยเต้น โคโยตี้อย่างเมามันสุดเหวี่ยงกลางถนน
เริ่มแรก พล.อ.สนธิ กลายเป็นผู้ช่วยชาติบ้านเมืองจากกลุ่มทุนสามานย์ แต่เมื่อพ้นจากอำนาจทหาร ลงเล่นการเมืองตั้งพรรคมาตุภูมิ และได้เป็น ส.ส.ในปัจจุบัน เขา เป็นคนแรกเสนอแนวคิดออกกฎหมายปรองดอง และประกาศว่า "ต้องการที่จะแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการก่อการรัฐประหารให้เกิดความถูกต้องเสีย"
นับแต่นั้นมา พล.อ.สนธิ ถูกประณามอย่างรุนแรงว่า เป็นผู้แปรพักตร์ เป็นคนของ ทักษิณ แล้วกลายเป็นปรปักษ์ของกลุ่มรักชาติไปอีกคน
ความผิดพลาดของ พล.อ.สนธิ จากการยึดอำนาจที่เด่นชัดที่สุดคือ การตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่มีนายนาม ยิ้มแย้ม เป็นประธาน ขึ้นมาเล่นงานกลุ่มนักการเมืองสนับสนุนทักษิณ และสนับสนุน ให้มีองค์กรอิสระมากมายในรัฐธรรมนูญ 2550 เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ผู้ตรวจการแผ่นดิน รวมทั้งคณะป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)
องค์กรอิสระเหล่านี้ได้เข้ามาแทรกแซงการเมือง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา และขยายความขัดแย้งในสังคมการเมืองให้บานปลายยิ่งขึ้นไปทุกขณะ
7 ปีผ่านมา พล.อ.สนธิ ตาสว่างขึ้น เข้าใจความผิดพลาด มองเห็นสัจธรรมทางอำนาจ เขาผลักดันให้ออกกฎหมายปรองดอง ที่มีเนื้อหา "นิรโทษกรรม" ผู้กระทำความผิดตั้งแต่ 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา
ราวกับเขาต้องการล้าง"ผิดให้เป็นถูก" และอยากชำระบาปที่กระทำกับนักการเมืองที่ผ่านการเลือกตั้งของประชาชน
บัดนี้เขาคงเข้าใจระบอบประชาธิปไตย ที่ทหารล้มล้างรัฐบาลและฉีกรัฐธรรมนูญ 2540 ลงถังขยะอย่างลุ่มลึก จนถูกทาบทามเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการเมือง ซึ่งรัฐบาลพยายามผลักดันให้เป็นจริงในขณะนี้
+ เงื่อนไขใหม่ ฟื้นอำนาจทหาร
ความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบัน ดูเหมือนรุนแรงเท่าทวีกว่ายุคของทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี การก่อหวอดปั่นป่วนวุ่นวายเกิดขึ้นทั้งในสภาและกลุ่มกดดันข้างถนน กลุ่มปรปักษ์รัฐบาลเรียกร้องให้ทหารกลับมายึดอำนาจเพื่อโค่นระบอบทักษิณ ให้สิ้นซากเป็นครั้งสุดท้าย
ระบอบทักษิณคืออะไร มีจริงหรือไม่ ยังไม่มีคำอธิบายได้ชัดเจน แต่ทั่วไปเข้าใจเพียงว่า เป็นระบอบการเมืองผ่านการเลือกตั้งแล้วทำให้กลุ่มการเมืองทักษิณกลับมามีอำนาจเพื่อดำเนินนโยบายประชานิยมให้คนชนบทได้ประโยชน์ ดังนั้น การสร้างภาพการเมืองในปัจจุบัน จึงลากโยงไป สู่ทักษิณเป็น "คนบงการ" ทั้งสิ้น เพื่อโจมตีระบอบทักษิณอย่างเข้มข้นอีกครั้ง
ประเมินกันว่า หากสร้างความขัดแย้ง ถึงขั้นสุกงอมแล้ว ทหารต้องกลับมายึดอำนาจอีกครั้งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้การโจมตีนโยบายทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐบาลล้วนมีเป้าหมายสู่การยกระดับให้เข้าสู่เงื่อนไขสุกงอมทั้งสิ้น
เงื่อนไขสร้างความชอบธรรมให้ทหารออกมายึดอำนาจในขณะนี้ ล้วนพุ่งเป้าไปที่ การออกกฎหมายนิรโทษกรรม โครงการกู้เงิน 2 ล้านล้าน เพื่อปรับปรุงโครงสร้างคมนาคมขนส่งของประเทศให้ทันสมัยสอดรับกับการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมทั้งโครงการ กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำ ท่วมทั้งระบบทั่วประเทศ ตลอดจนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมดจำนวน 200 คน
ทั้งหมดทั้งปวงนั้น ล้วนเป็นเงื่อนไขใน รหัส "โกงกิน" ซึ่งเคยเป็นจุดอ่อนของระบอบ ทักษิณมาแล้ว และกลับมารื้อสร้างใหม่อีกครั้งเพื่อเรียกร้องให้ฟื้นอำนาจกลับมาไล่รัฐบาลออกจากไป
ฝ่ายกองทัพ รวมทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ ยังไม่ออกอาการคล้อยตามเสียงเรียกร้องจากม็อบข้างถนน บ้างครั้งทหารอึดอัดอยู่บ้างในกรณีลากให้ไปรับผิดชอบกับเหตุการณ์ สลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 แต่นั่นเป็นบางเสี้ยวอารมณ์เกิดขึ้น และวูบหายไปอย่างรวดเร็ว
ทหารถูกกลุ่มปรปักษ์รัฐบาลประชดประชันมากขึ้นว่า ไม่รักชาติบ้านเมือง เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจรัฐบาล ประนีประนอมกับทักษิณ อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ ได้แต่ยืนยันด้วยเสียงเตือนเสมอว่า อย่าลากทหารไปเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง ซึ่งต้องแก้ไขด้วยทางการเมืองกันเอง
แม้ พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันอย่างไรก็ตาม แต่ในความเชื่อของสังคมแล้ว ทหาร ยังไม่หลุดพ้นจากการยึดอำนาจแน่นอน แต่จะเกิดขึ้นในวันใดนั้น ไม่สามารถคาดการณ์ได้ เพราะทุกอย่างล้วนเป็นอุบัติเหตุทางอำนาจที่กำหนดไม่ได้แน่ชัด
+ "ตาสว่าง" กลางสถานการณ์ใหม่
ทหารจะยึดอำนาจอีกหรือไม่ ตอบยากเหลือเกิน แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ สถานการณ์ทางสังคมในปี 2556 ได้เปลี่ยนไปจากช่วงการยึดอำนาจเมื่อ 19 กันยายน 2549 อย่างลิบลับ
เมื่อ 19 กันยายน 2549 พล.อ.สนธิ นำทหารยึดอำนาจด้วยความราบรื่น ไม่มีการต่อต้านจนทำให้เลือดตกยางออก แต่ใน ปี 2556 ไม่เหมือนกัน เพราะมวลชนเกิดการตื่นตัวทางการเมือง คนรากหญ้าเข้าใจสิทธิ และความเท่าเทียมทางการเมืองเหนือกว่าคนชั้นกลางผู้มากการศึกษาในกทม.
ถ้ามีการยึดอำนาจอีกครั้ง คงไม่ง่ายเหมือนทหารกระทำเมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา เพราะต้องเกิดการต่อต้านจากพลังมวลชนทั่วประเทศ ความไม่สงบคงเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ รวมทั้งฝ่ายประชาธิปไตยจากต่างประเทศคงไม่สนับสนุนการล้มล้างการเมืองตามแนวทางเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย
พล.อ.ประยุทธ์ คงคิดถูกและตาสว่างมากขึ้น เขาจึงยืนยันว่า ความขัดแย้งทางการเมือง ต้องแก้ไขด้วยการเมือง เพราะการเข้าแทรกแซงของทหารเพื่อยุติความขัดแย้งทางการเมืองนั้น ง่ายและรวดเร็ว แต่แนวทางการเมืองต้องใช้ความเข้าใจทางเหตุผลและพัฒนาไปทีละขั้นตอน ใช้เวลานานกว่าบรรลุสังคมปรองดอง
สังคมปรองดอง ไม่ได้อยู่ที่เป้าหมายยุติความขัดแย้ง แต่เนื้อหาที่แท้จริงนั้น กลับอยู่ที่ระบบของ "เหตุผล" ในสังคมประชาธิปไตยที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย นั่นหมายความว่า ความขัดแย้งมีได้แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานเหตุผลตามวิถีการเมือง โดยต้องไม่เจือปนอคติทางอำนาจแบบไม่ยอมปล่อยวางอำนาจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของสังคมที่เปลี่ยนไป
ในกลุ่มพลังมวลชนในปี 2556 ล้วนรับรู้ปัญหาทางการเมืองอย่างกว้างขวาง เหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2553 มีคนตายเป็นร้อยศพ จนเกิดตาสว่างทั้งแผ่นดินขึ้นในสังคมชาวบ้าน
ตาสว่างแบบมองเห็นอำนาจเบื้องหลังการเมือง ที่คอยบ่งการให้เกิดความขัดแย้ง และเข้าแทรกแซงกระบวนการของเหตุผลเพื่อยุติความขัดแย้งอย่างมีกติกาชอบธรรม ตามสังคมยุติธรรม
อำนาจเบื้องหลังการเมืองเป็นเนื้อร้าย อย่างชัดเจนในสังคมไทย ที่คอยให้ท้ายกลุ่มพลังอื่นก่อหวอดล้มรัฐบาลจากการเลือกตั้งมามากต่อมาก และพรรคประชาธิปัตย์ยังเชื่อมั่นในอำนาจเบื้องหลังนี้อยู่มิคลายว่า จะทำให้มีโอกาสชนะทางการเมืองอีกสักครั้ง
โอกาสของพรรคประชาธิปัตย์เริ่มหมดลง นับแต่ประชาชนตาสว่างมากขึ้น การโหนอำนาจเบื้องหลังไปสู่ชัยชนะทางการเมืองจึงแทบไม่มีประโยชน์อันใดเลย
ทั้งๆ ที่ประชาชนตาสว่าง แต่ประชาธิปัตย์กลับงมโข่งอยู่ในความมืดมิดทางอำนาจที่ไม่อยู่ตามกระบวนประชาธิปัตย์ของประชาชน
สำหรับประชาชนแล้ว ตาสว่างแล้ว สว่างเลย... ต้องเข้าใจในสัจธรรมนี้จึงจะเป็นผู้ชนะทางการเมือง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
ภาษีบุหรี่: ความล่าช้า 4 หมื่นล้านบาทที่...
...
ภาษีบุหรี่ ค้างคา "แช่แข็ง" ไม่เดินหน้...
...
อะไรคือ ? โจทย์ใหญ่ กระทรวงการคลัง ที่มา...
...
ttb analytics มองเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็ง...
...
มาตรการ MPOWER เสาหลักกฎหมายควบคุมผลิตภั...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ