Toggle navigation
วันพุธ ที่ 9 กรกฎาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
วิเคราะห์-บทความ-คอลัมน์
หน้ากากขาวฉะ! นโยบายยางล้มเหลว
หน้ากากขาวฉะ! นโยบายยางล้มเหลว
วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556
Tweet
พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี หรือคอซิมบี๊ ณ ระนอง เจ้าเมืองตรัง ผู้พัฒนาเมืองตรังให้เจริญก้าวหน้าจน กลายเป็นเมืองเกษตรกรรมเป็นต้น ตระกูลอันดับ 3 ของตระกูล "ณ ระนอง" และที่สำคัญคือ..ท่านผู้นี้เป็นผู้ที่ถือต้น ยางต้นแรกมาฝังรากในแผ่นดินไทย!!..
"ณ ระนอง" ..คงไม่มีใครไม่ทราบว่าเป็นนามสกุลของ "กิตติรัตน์" รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หนึ่งในตัวแทนการเจรจาฝ่ายรัฐบาลเรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาของชาวสวนยาง โดยเสนอมาตรการแก้ปัญหาราคายาง ด้วยการให้เงินช่วยลดต้นทุนการผลิตและค่าปุ๋ย 1,260 บาทต่อไร่ จำกัดจำนวนไม่เกิน 10 ไร่ต่อราย ต่อที่เจรจาก่อนจะทุบโต๊ะเจรจาเนื่องจากข้อเสนอขัดกับข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมที่ต้องการให้รัฐบาลอุดหนุนราคายางที่ 120 บาท/กก.
ต้องยอมรับว่าสถานการณ์การชุมนุมเท่าที่ผ่านมาก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาคธุรกิจแล้วไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท โดยเฉพาะภาคการขนส่ง และคมนาคม ซึ่งต้องขับรถอ้อมไม่ต่ำกว่า 50 กม. หากจะเดินทาง หรือขนส่งสินค้าไปในภาคใต้ จึงนับเป็นโจทย์ที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขให้จบโดยเร็ว
เมื่อไม่นานมานี้ "สยามสิน วลิตวรางค์กูร" สมาชิกระดับก้านสมองของกลุ่ม "v for Thai land" ..ออกมาให้ความเห็นทางหน้าเพจเฟซบุ๊กถึงกรณีนี้ว่า
"รัฐบาลนี้กำลังแก้ไขปัญหายางพาราอย่างหลงทิศ คำนึงแต่ผลประโยชน์ของคนกลางซึ่งเป็นนักการเมืองของพวกตน ถึงขั้นมีมติเอาเงินภาษีประชาชนไปสนองประโยชน์ โดยไม่คำนึงถึงข้อเรียก ร้องของชาวสวนยางเลยแม้แต่น้อย ถ้าอย่างนี้จึงเห็นว่า เรื่องนี้คงจบไม่สวยเสียแล้ว และเรื่องนี้รัฐบาลต้องรับผิดชอบกับผลที่จะต้องตามมาอย่างเต็มๆ จะมาแก้ตัวอย่างน้ำขุ่นๆ อีกไม่ได้แล้ว... หากบ้านเมืองเป็นจลาจล รัฐบาลต้องรับผิดชอบ..."
+ เรื่องปัญหาราคายาง
ผมนั้นไม่อยู่ในวงการ "ยาง" แต่ก็สัมพันธ์กับ พี่น้องที่ประกอบอาชีพสวนยางอยู่บ้าง ผมเองเคยเข้าใจว่า พี่น้องชาวสวนยางน่าจะมีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าอาชีพชาวสวนอื่นๆ แต่เมื่อสัมผัสภายนอกกลับเห็นว่า ทำไมเดี๋ยวนี้ ชาวสวนยาง ถึง ย่ำแย่ลงเป็นลำดับ ขายยางไม่มีราคา ทั้งที่ตลาดโลกต้องการยางเป็นจำนวนมาก และประเทศไทยก็เป็นแหล่งผลิตยางที่ใหญ่ประเทศหนึ่ง แต่ทำไมชาวสวนยางจึงยังคงย่ำแย่อยู่อย่างนั้น
คำตอบที่ได้รับมาเสมอคือ "ราคาตลาด" เป็นตัวกำหนด ทำให้ผมยิ่งสงสัยหนักเข้าไปอีก ในฐานะที่ศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์มาด้วย ยิ่งทำให้เกิดข้อกังขาอย่างยิ่งต่อคำว่า "ราคาตลาด" ผมตั้งคำถามว่า "ราคาตลาด ของใคร?" แล้วใครได้ประโยชน์จากการค้ายาง
เมื่อพิจารณาจากกลไกราคาตลาดโลก ก็ได้ข้อมูลว่า มีการซื้อขายยางกันอยู่ที่ "ราคา 110-120 บาทต่อกิโลกรัม" เพราะฉะนั้น ถ้าเราประกันราคายางอยู่ที่ "100 บาทต่อกิโลกรัม" ก็สามารถทำได้ แต่ทำไมถึงไม่กระทำ... ตรงนี้ จึงทำ ให้เกิดข้อสงสัยอย่างยิ่ง ว่าเกิดอะไรขึ้นกับชาวสวนยางที่ขาดโอกาสที่จะได้รับราคา 100 บาทต่อกิโลกรัม...
เมื่อหาข้อมูลการเดินทางของผลผลิตยางต่อราคาตั้งแต่ "ต้นน้ำถึงปลายน้ำ" ก็ทราบในทันทีว่า "ผลผลิตเดินทางจากต้นน้ำกว่าจะไปถึงปลายน้ำนั้น ต้องผ่านกลางน้ำด้วย"
โอ้! เวรกรรม! ท่านทราบหรือไม่ว่า ผลผลิตยางจากต้นน้ำ คือรับซื้อจากชาวสวนยางโดยตรงนั้น อยู่ที่ "ราคา 35-40 บาทต่อกิโลกรัม" เท่านั้น ทั้งที่ปลายน้ำราคายางที่ขายกันอยู่ที่ "ราคา 110-120 บาทต่อกิโลกรัม" แล้วส่วนต่างตรงนี้มันหายไปไหนคำตอบที่ได้รับคือพวกกลางน้ำ ก็คือ พวกนักการเมือง ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ชุดนี้นี่แหละ...
ท่านทราบไหมว่า พวกกลางน้ำไปกดราคาชาวสวนยางอยู่ที่ราคา 35-40 บาทต่อกิโลกรัม แต่ไปแสวงหากำไรอยู่ที่ราคา 75-80 บาทต่อ กิโลกรัม" และประเทศที่รับซื้อกับพวกกลางน้ำที่กดราคาชาวสวนยาง ก็คือ "มาเลเซีย" เหมาซื้อยางไทยไว้หมด แล้วไปตีตรายางมาเลเซีย" นำไปขายใน "ราคา 110-120 บาทต่อกิโลกรัม"
และนี่แหละที่ทำไมถึงมีการขัดขวางไม่ให้มีการประกัน "ราคา 100 บาทต่อกิโลกรัม" เพราะพวกกลางน้ำ มันกินเลือดชาวสวนยางอยู่นี่แหละครับ
ถามว่า รัฐสามารถประกันราคายางอยู่ 100 บาทต่อกิโลกรัม ได้หรือไม่ ตอบได้เลยว่า ได้แน่นอน... โดยตัดพวกกลางน้ำทิ้งเสียให้หมด โดยรัฐรับซื้อจากชาวสวนยางที่ราคา 100 บาทต่อกิโลกรัม ถ้า มาเลเซียยังจะซื้อยางจากไทยก็ซื้อในราคา 105 บาทต่อกิโลกรัม หากไม่รับซื้อก็ไม่เป็นไร ประเทศไทยจะเสนอขายตรงไปยังประเทศจีนที่รับซื้อจากมาเลเซีย ที่ 110-120 บาทต่อกิโลกรัม โดยประเทศไทยขายเพียงราคา 105 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น แค่นี้ เราก็ทำราคาได้แล้ว มีหรือที่ประเทศจีนจะไม่ซื้อจากเรา เขาซื้อแน่ เพราะเขาซื้อยางไทยอยู่แล้วโดยผ่านมาเลเซียเป็นผู้เสนอขายให้เขา และท่านทราบหรือไม่ ยางรถยนต์ยี่ห้อ "MAXIS" ซึ่งเป็นยี่ห้อของจีนก็ใช้ยางของไทยทำทั้งสิ้น แต่ซื้อยางจากมาเลเซีย...
นี่แหละที่ทำไม ชาวสวนยางทุกวันนี้ไม่สามารถสร้างอนาคตได้... ต้องจนลงๆ ทั้งที่น่าจะร่ำรวย...
ไม่ว่างานนี้จะลงเอยอย่างไร แต่ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว และหากไม่รีบแก้ไข เชื่อว่าเรื่อง นี้อาจเป็นปัญหาที่บานปลายต่อไป รัฐบาลเคยพลาด เรื่องเกี่ยวกับนโยบายภาคการเกษตรมาแล้วเพราะ การจำนำข้าว เชื่อว่าครั้งนี้คงไม่อยากให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย แต่ปัญหาของชาวสวนยางจะไม่ช่วยก็ไม่ได้เพราะยางเป็นพืชเศรษฐกิจตัวสำคัญของประเทศ และงานนี้ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" ยังต้องรบกับสมบัติของตระกูลอีกด้วยต้องยอมรับว่างานนี้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคงอยู่ในฐานะที่.. กลืนไม่เข้า คายไม่ออก!!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
ภาษีบุหรี่: ความล่าช้า 4 หมื่นล้านบาทที่...
...
ภาษีบุหรี่ ค้างคา "แช่แข็ง" ไม่เดินหน้...
...
อะไรคือ ? โจทย์ใหญ่ กระทรวงการคลัง ที่มา...
...
ttb analytics มองเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็ง...
...
มาตรการ MPOWER เสาหลักกฎหมายควบคุมผลิตภั...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ