Toggle navigation
วันพุธ ที่ 9 กรกฎาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
วิเคราะห์-บทความ-คอลัมน์
กสม.องค์กรป้องสิทธิมนุษย "มาร์ค"?
กสม.องค์กรป้องสิทธิมนุษย "มาร์ค"?
วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556
Tweet
วิเคราะห์การเมือง : by นพคุณ ศิลาเณร
ชื่อเต็มๆ รายงานฉบับสมบูรณ์ของ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีว่า "รายงานผลการตรวจสอบ เพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายกรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึง 19 พฤษภาคม 2553"
รายงานนี้มีความยาว 88 หน้า ทุกหน้าบรรยายเหตุการณ์ด้วย "ตัวอักษร" ไร้ภาพประกอบ โดยนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธาน กสม. กล่าวว่า ใช้เวลาจัดทำนาน ถึง 3 ปี ตรวจสอบพยานเกือบ 200 ปาก ดูคลิป เอกสารศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริงต่างๆ รวมทั้งดูพื้นที่จริง จึงทำให้ล่าช้า
กสม.ส่งรายงานฉบับนี้ให้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประมาณกลางเดือนกรกฎาคม 2556 แล้ว เก็บตัวเงียบ ไม่มีแถลงอย่างเป็นทางการ แต่จู่ๆ วันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้นำเผยแพร่บนเว็บไซต์ กสม. จนนำไปสู่ข้อกังขาของฝ่ายนักวิชาการและคนเสื้อแดงอย่างกว้างขวาง
คงจำได้ว่า วันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันที่สองที่สภาพิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทร ปราการ พรรคเพื่อไทย วาระแรก บรรยา-กาศในห้องประชุมสภากำลังถกเถียงกันด้วยอารมณ์รุนแรง มีเสียงโห่ โยนกระดาษ เอกสาร และเลยเถิดถึง "ถอดรองเท้า" ชูเปรียบเปรยเบื้องต่ำจาก ส.ส.พรรคเพื่อ ไทยไปให้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์
ไม่น่าใช่ความบังเอิญแน่....แต่ต้องเป็นการ "จงใจจัดสร้าง" ของ กสม.ที่นำรายงานตรวจสอบฉบับเต็มออกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ โดยนายจตุพร พรหมพันธุ์ ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเกมการเมืองของกสม. ที่ต้องการซ้ำเติมรัฐบาลและมวลชนเสื้อแดง เพื่อช่วยเหลือพรรคประชาธิปัตย์ให้การอภิปรายต่อต้านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมมีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
หากพิจารณา "แรงจูงใจ" การปล่อยรายงานของ กสม.แล้ว ต้องเชื่อมกับสถานการณ์ก่อนวันที่ 7-8 สิงหาคมที่ผ่านมา คือ วันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา ศาลอาญากรุงเทพใต้ อ่านคำสั่งในคดีหมาย เลขดำที่ ช.5/2555 ซึ่งอัยการยื่นคำร้อง ขอให้ศาลทำการไต่สวนการตาย 6 ศพในวัดปทุมวนาราม
คำสั่งศาลมีสาระสำคัญอยู่ที่ "การตาย 6 ศพเกิดจากกระสุนปืนความเร็วสูงมาจากฝั่งเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง ศอฉ." นอกจากนี้ ศาลยังพิเคราะห์พยานหลักฐานและชี้ว่า ไม่มีชายชุดดำอยู่ในวัดปทุม
กรณีคำสั่งศาลย่อมทำให้ข้อมูล "ชายชุดดำ" ของพรรคประชาธิปัตย์ขาดความน่าเชื่อถืออย่างสิ้นเชิง แต่เมื่อรายงานของ กสม.ออกมาระบุว่า "มีชายชุดดำจริง" ย่อมเป็นเหตุผลด้านบวกของพรรคประชาธิปัตย์ที่ขายความรุนแรงในเหตุการณ์ปราบปรามประชาชนจนเกิดความตาย 99 ศพว่า เป็นการกระทำของชายชุดดำ
+ กสม.ปกป้อง "มาร์ค"
ทันทีที่รายงานของ กสม.แพร่กระจาย มากขึ้น เสียงสะท้อนด้านบวกมาจากพรรค ประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคถึงกับเรียกร้องให้ประชาชนอ่านรายงานฉบับนี้ให้มากขึ้น แต่เสียงสะท้อน "ด้านลบ" กลับวิจารณ์อย่างเอือมระอากับการทำหน้าที่ของ กสม.
ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุสลายการชุมนุมเม.ย.-พ.ค. 2553 (ศปช.) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ แกนนำ นปช. นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน ล้วน ตำหนิรายงานของ กสม.เป็นเสียงเดียว กันว่า ไม่น่าเชื่อถือเพราะเข้าข้างพรรคประชาธิปัตย์ชัดเจนเกิน
"เวียงรัฐ เนติโพธิ์" อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว ว่า รายงาน กสม.ไม่น่าเชื่อถือเพราะเป็นไปตามสิ่งที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์พูดไว้ "กสม.ปกป้องรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์โดยไม่หาพยานหลักฐานเพิ่มเติม"
"ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์" อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและผู้ประสานงาน ศปช. กล่าวว่า รัฐบาล (พรรคประชาธิปัตย์) ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ กว่า 1 หมื่นคน กระสุนจริงใช้ไปกว่า 1 แสน 2 หมื่นนัด ใช้กระสุนของปืนสไนเปอร์ กว่า 2 พันนัด นี่คือข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏ ในรายงาน
องค์กรฮิวแมนไรต์วอตช์ ระบุว่า ราย งานนี้สรุปว่า การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ไม่ชอบด้านกฎหมายอย่างไร รัฐบาลมีความจำเป็นต้องปราบปรามอย่างไร แต่ไม่ได้ตำหนิการใช้อำนาจของรัฐที่เกินขอบ เขต ซึ่งทำให้เกิดการตายและไม่ได้พูด ถึงการรับผิดชอบที่เกิดขึ้น
"กสม.ไม่มีสิทธิ์ชี้ถูกชี้ผิด ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะกสม.มีหน้าที่ชี้ว่าใครละเมิด สิทธิมนุษยชนบ้าง ไม่ใช่มีแต่รายงานที่เป็นอรรถาธิบาย"
กล่าวโดยรวมแล้ว เสียงตำหนิราย งาน กสม.แบบตรงๆ นั้น อยู่บนหลักการพื้นฐานของการจัดทำรายงานที่บิดเบี้ยว และออกนอกลู่นอกทางของนักสิทธิมนุษยชนไปสู่รายงานเข้าข้างทางการ เมืองอย่าง น่าสงสัยจุดยืนของ กสม.
หากพิจารณารายงานทั้ง 88 หน้าของ กสม.สิ่งที่น่าสนใจอย่างสำคัญอยู่ที่การวิเคราะห์ผลกระทบหรือผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ได้เอา การกระทำของรัฐกระทบต่อสิทธิมนุษยชน เป็นตัวตั้ง แต่กลับเริ่มสมติฐานว่าการกระทำของผู้ชุมนุมเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นตัวกล่าวหา
ไม่เพียงเท่านั้น ในรายงานยังไม่ได้ระบุว่า การใช้อำนาจของรัฐนั้นเป็นการกระทำที่กระทบต่อสิทธิมนุษยชนและ มีเหตุสมควรเพียงพอให้กระทำได้โดยชอบหรือไม่ สมควรต่อเหตุหรือไม่? รวมทั้งการละเมิดสิทธิมีสาเหตุโดยตรงมาจาก หรือมีการกระทำของบุคคลอื่นมากระทบร่วมด้วย หรือมีเหตุอื่นมาตัดรอนผลแห่งการกระทำหรือความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ออกไปเพียงใด?
ถึงที่สุดแล้ว รายงานของ กสม.กลับ ขาดการลำดับข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเพียงพอในเหตุการณ์เฉพาะกรณี และภาพรวม ของเหตุการณ์ทั้งหมด แต่เมื่ออ่านรายงาน ทั้งหมดแล้ว ทำให้เกิดภาพสุดท้ายได้ชัดเจนว่า นปช.ผิด เป็นผู้เริ่มต้นละเมิดสิทธิมนุษยชน สมควรต้องถูกปราบปราม เพราะมีกองกำลังติดอาวุธชายชุดดำ และเป็นสิ่งถูกต้องแล้วที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ทั้งหมดนั้น เป็นจินตภาพของราย งาน กสม.ที่พรรคประชาธิปัตย์สมัยเป็นรัฐบาลได้ประโยชน์ กระทั่งนายอภิสิทธิ์เรียกร้องให้ศึกษาความจริงในสิ่งที่ กสม. จัดสร้างขึ้นเพื่อเกิดหูตาสว่างจากภาพลวง ตาของ นปช.พรางปิดไว้
+ "อมรา" ถูกกล่าวหาว่าเป็น "เหลือง"
คณะกรรมการ กสม.ชุดปัจจุบันทั้ง 7 คน เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 256-257 ผ่านการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหาซึ่งแทบทั้งหมดมาจากตัวแทนศาลยุติธรรม และวุฒิสภาแต่งตั้ง ได้รับการโปรดเกล้าฯเมื่อ 25 มิถุนายน 2552 ซึ่งจะครบวาระในเดือนมิถุนายน 2558
ในปี 2552 พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล นายอภิสิทธิ์เป็นนายก รัฐมนตรี แล้วต้องผจญกรรมการใช้กำลังทหารนับหมื่นคนเข้าสลายการชุมนุมของ นปช.เมื่อเมษา-พฤษภา 2553 จนมีผู้เสียชีวิตร่วม 100 ศพ บาดเจ็บนับพันราย
กสม.ทำได้งานเพียง 1 ปี โดยหน้าที่ นักสิทธิมนุษยชนแล้ว ต้องมาเผชิญหน้ากับงานใหญ่ในพฤษภา 2553 งานแรกคือ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง แล้วตามมาด้วยใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นกฎหมายเด็ดขาด แต่ กสม. กลับนิ่งเฉย ไม่ตำหนิรัฐบาลว่า เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
"สิทธิมนุษยชน" มีความหมายยึด ถือกันว่า เป็นสิทธิของมนุษย์ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เป็นอิสระ มีความเท่าเทียม และอยู่เหนือพันธะของกฎหมาย ดังนั้นประเทศทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับการปกป้องสิทธิของมนุษย์ตามธรรมชาติมากกว่าสิทธิภายใต้กฎหมายบังคับ
แต่การวิจารณ์หน้าที่ กสม. ในไทยและในเหตุการณ์พฤษภา 2553 นั้น ล้วนพุ่งเป้าไปสู่การวิจารณ์ว่า ไม่ปกป้อง คุ้มครอง สิทธิมนุษย์ตามธรรมชาติ แต่กลับให้ความสำคัญในสิทธิบังคับของกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ จึงตำหนิรายงานของ กสม.ว่าบิดเบี้ยวเพราะมีพื้นฐานการทำหน้าที่คลาดเคลื่อนไปจากหลักการพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน
ดังนั้น เสียงวิจารณ์ กสม.จึงดังสอด ประสานไปในทำนองว่า ไม่ใช่องค์กรสิทธิมนุษย์ แต่เป็นเพียงหน่วยทางการเมืองเลือกฝ่าย เพื่อมาทำหน้าที่เลือกข้างปกป้อง พรรคการเมืองบางพรรค
รูปธรรมของเสียงวิจารณ์ดังกล่าวนั้น เกิดจากการเชื่อมโยง "ตัวบุคคล" กับการแสดงออกทางการเมืองเลือกข้างในช่วงเหตุ การณ์ไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถึงปัจจุบัน กระทั่งนำไปสู่การลอกคราบ "อมรา" ประธานกสม.ที่มีอัตราเงินเดือนกว่าแสนบาท
"อมรา" มีความสัมพันธ์ทางแนวคิดกับ ดร.ชัยอนันต์ สมุทรวนิช ซึ่งเป็นแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยของนายสนธิ ลิ้มทองกุล สมัยที่เธอเป็นคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการอุ้มชูจาก ดร.ชัยอนันต์ ทั้งๆ มีคะแนนคัดเลือกมาอันดับสามเพียง 8 คะแนนเท่านั้น แต่ด้วยเหตุผล "คณะรัฐศาสตร์ควรจะลองของใหม่" จึงผลักดันให้เธอได้ตำแหน่งมาครอง
เธอมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการรวบรวมรายชื่ออาจารย์คณะรัฐศาสตร์เพื่อ ต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อเธอเป็นประธาน กสม.ถึงกับรับรอง "ผังล้มเจ้า" ของ ศอฉ. ว่า ไม่ใช่ของใหม่ ความจริงสังคมรับรู้อยู่แล้ว รวมทั้งเกิดเหตุการณ์ปราบปรามประชาชนเมื่อพฤษภา 2553 เธอเงียบ ไม่มีเสียงร้องกล่าวหารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่
แต่เมื่อถึง รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในเหตุการณ์รัฐบาลใช้กฎหมายความมั่นคง และตำรวจใช้แก๊สน้ำตาขับไล่ผู้ชุมนุมที่ต่อ ต้านกฎหมายปรองดอง "อมราและกสม." กลับเป็นเดือดเป็นร้อน ถึงกับร่อนแถลงตำหนิรัฐบาล กล่าวหาตำรวจใช้ความรุนแรง และต้องเรียกมาตรวจสอบหาความจริงที่กระทำไป
บทบาทราวกับเป็นองค์กร 2 มาตร-ฐานเช่นนี้ ทำให้ "อมราและ กสม." ถูกตราหน้าว่า เป็นพวกฝ่ายเสื้อเหลือง และจ้องหาโอกาสกระทำกับฝ่ายเสื้อแดงที่อยู่ตรงข้าม นั่นย่อมเป็นภาพด้านลบจนยากจะสลัดออกได้
+ นปช.เสื้อแดง เจ็บซ้ำซาก
กล่าวถึงที่สุดแล้ว การกล่าวหา "อมรา และ กสม." ว่าเป็นองค์กรทางการเมือง มีแนวคิดอยู่ฝ่ายตรงข้ามพรรคเพื่อไทย และพ.ต.ท.ทักษิณ แต่ปกป้องพรรคประชาธิปัตย์ก็ตาม นั่นเป็นเพียงสะท้อนในแง่บท บาทของตัวบุคคล แล้วนำไปโจมตี "องค์กร กสม." ให้เสื่อมเสียความน่าเชื่อถือ
แต่ความน่าเชื่อถือของ กสม.อยู่ที่การสะท้อนหลักการของนักสิทธิมนุษยชนเพียงไร และแน่นอนรายงานตรวจสอบฉบับเต็มของ กสม.ที่ออกมาในช่วงพรรคประชาธิปัตย์โหมแรงต่อต้านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมนั้น จึงทำให้สังคมเต็มไปด้วยข้อกังขา
เป็นการกังขาที่เต็มไปด้วยคำถามว่า ทำไมในรายงานจึงมุ่งตรวจสอบผู้ชุมนุมเสื้อแดงเพียงฝ่ายเดียว ขณะเดียวกันกลับรับรองสิทธิรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ให้ออกกฎหมายพิเศษใช้กำลังปราบ ปรามประชาชนได้
ด้วยคำถามที่สะท้อนหลักคิดการทำหน้าที่แบบ "ใช้หัวเดินต่างเท้า" จึงทำให้บทบาทของนักสิทธิมนุษยชนบิดเบี้ยว ชนิดเอียงไปสูเกมการเมือง
และเป็นเกมการเมืองที่ยัดเยียดความผิดให้ นปช.และคนเสื้อแดงอย่างเจ็บปวด ชนิดทวนคำตัดสินของศาลอาญาว่า ความตายเกิดจากกระสุนปืนจากผู้ทำหน้าที่ตามคำสั่ง ศอฉ. และไม่มีชายชุดดำใดเลย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
ภาษีบุหรี่: ความล่าช้า 4 หมื่นล้านบาทที่...
...
ภาษีบุหรี่ ค้างคา "แช่แข็ง" ไม่เดินหน้...
...
อะไรคือ ? โจทย์ใหญ่ กระทรวงการคลัง ที่มา...
...
ttb analytics มองเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็ง...
...
มาตรการ MPOWER เสาหลักกฎหมายควบคุมผลิตภั...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ