Toggle navigation
วันอังคาร ที่ 8 กรกฎาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
วิเคราะห์-บทความ-คอลัมน์
คุณภาพประชาธิปไตยพลเมืองมีส่วนร่วมสร้าง
คุณภาพประชาธิปไตยพลเมืองมีส่วนร่วมสร้าง
วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556
Tweet
คำจำกัดความของประชาธิปไตยที่สั้น ง่าย ได้ใจความ และถูกอ้างอิงมาก ที่สุด มักอ้างอิงจากสุนทรพจน์อมตะ ของประธานาธิดีอับราฮัม ลินคอล์น ที่ได้ให้นิยามประชาธิปไตยว่า คือ "การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน"
ประการแรกที่ว่า คือการปกครอง "ของประชาชน" นั้นย่อมแสดงว่าประชาธิปไตยคือการปกครองที่ประชาชนเป็นเจ้าของ และในความเป็นเจ้าของนั้นหากประชาชนจำเป็นต้องมอบหมายให้ใคร หรือสถาบันใดใช้อำนาจแทนตน บุคคลหรือสถาบันเหล่านั้นย่อมจะต้องได้รับฉันทานุมัติจากประชาชนก่อน
ประการที่สอง ประชาธิปไตยเป็น การปกครอง "โดยประชาชน" นั้นหมายความว่าประชาชนย่อมมีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกระบวน การทางการเมืองการปกครองได้ทุกขั้นตอน และประการสุดท้าย การปกครองที่เป็นไป "เพื่อประชาชน" ย่อมสะท้อนถึงจุดมุ่งหมายของการปกครองที่มุ่งคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และสวัสดิการของประชาชนเป็น สำคัญ ดังนั้น การปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยพื้นฐานต้องเป็นการปกครองที่ ประชาชนยอมรับ มีส่วนร่วมและพึงพอใจ
การศึกษาในอดีตเกี่ยวกับประชาธิปไตยในประเทศกำลังพัฒนามักยืนยันข้อมูลตรงกันว่าประชาชนในประเทศเหล่า นี้มีความสนใจทางการเมืองในระดับต่ำ และไม่รู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถทาง การเมืองเท่าที่ควร
งานวิจัยเก่าแก่และถูกอ้างอิงถึงมาก ที่สุดเล่มหนึ่งคือหนังสือชื่อ No Easy Choice : Political Participation in Developing Countries ของเซมมวล ฮันติงตัน และโจอัน เนลสัน ซึ่งถูกตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ.1976 พบว่าประชาชนที่ยากจนในประเทศกำลังพัฒนาทั้งที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชนบทมักจะไม่กระตือรือร้นที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง เนื่องจากประชาชนกลุ่มนี้ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนา มักมองว่าการเมืองเป็นเรื่องไกลตัวและไม่ เกี่ยวข้องกับความห่วงกังวลขั้นพื้นฐานของ พวกเขา การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาสำหรับฮันติงตันและเนลสัน จึงเป็นไปในลักษณะ ที่ประชาชนถูกระดมโดยผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ เช่น ผู้นำชุมชน หัวหน้า ผู้นำทางจิตวิญญาณ ไม่ใช่การมีส่วนร่วมที่เกิดจากการ ตัดสินใจของประชาชนเอง แนวทางการพัฒนาประชาธิปไตยสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในช่วงเวลานั้น จึงเสนอให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจก่อน แล้วประชาธิปไตยจะพัฒนาตามมาเองเมื่อความวิตกกังวลในเรื่องการทำมาหากินของประชา-ชนส่วนใหญ่เริ่มผ่อนคลายลง
คำอธิบายและข้อสรุปเช่นนี้ ถูกค้นพบเช่นเดียวกันในกรณีของประเทศไทย และกลายเป็นคำอธิบายที่ครอบงำความคิดและ การมองเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองของคนไทยในช่วงกว่าสามทศวรรษที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยชิ้นใหม่ๆ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา (และยากจน) ทั่วโลก ได้ค้นพบหลักฐานใหม่ที่ค่อนข้างสอดคล้อง กันว่าค่านิยมและพฤติกรรมทางการเมือง ของคนยากคนจนในประเทศกำลังพัฒนาได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว
ตัวอย่างงานวิจัยที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง คือผลงานชื่อ Poverty, Participation, and Democracy : A Global Perspective ของอนิรุธ กฤษณะ และคณะ ที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ.2008 งานวิจัยชิ้นนี้อาศัยข้อมูลจากการวิจัยเชิงสำรวจใน 24 ประเทศ กระจายไปในทวีปต่างๆ ทั้งเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ทำการวิเคราะห์และได้ผล การศึกษา ที่แสดงให้เห็นว่าคนจนในประเทศ กำลังพัฒนาไม่ได้ให้คุณค่าแก่ประชาธิปไตยด้อยไปกว่าคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าในประเทศเดียวกันแต่อย่างใด การเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของคนจนในประเทศเหล่านี้ก็ไม่ได้แตกต่างจากคนกลุ่มอื่นๆ ทั้งในแง่ปริมาณและ คุณภาพมากนัก ในขณะที่ความยึดมั่นศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตยของคน จนๆ ก็มีพอๆ กับพลเมืองอื่นๆ
ข้อค้นพบในทำนองเดียวกันนี้ มีการ ยืนยันและถูกนำเสนอออกมาอย่างต่อเนื่อง หนักแน่นมากขึ้นในกรณีของประเทศ ไทย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าปัญหาของระบอบประชาธิปไตยที่ยังไม่มั่นคงและหยั่ง รากฝังลึกในประเทศกำลังพัฒนา (ซึ่งรวม ถึงประเทศไทยด้วย) ในปัจจุบันนั้น แท้ที่จริงแล้ว อาจมิได้เป็นเพราะความยากจนยังมีอยู่และกระจายตัวอย่างกว้างขวางในประเทศเหล่านั้น เนื่องจากฐานะทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันของประชาชนไม่ ใช่คำอธิบายที่ทรงพลังสำหรับการมีทัศนคติและการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ที่แตกต่างกันของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาอีกต่อไป
สิ่งที่กำลังท้าทายระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยในปัจจุบัน จึงเป็นเรื่อง ของการสร้างระบบการปกครองที่ยอมรับ ว่าสิทธิของปัจเจกบุคคล มิใช่สิ่งที่คอยคุก คามความมั่นคงแห่งรัฐหรือสังคม หากแต่ สิทธิของปัจเจกบุคคลนั้นถือเป็นราก ฐานสำคัญในการสร้างสิ่งที่เรียกว่า "ผลประโยชน์ร่วมกัน" การเปลี่ยนผ่านจากระบอบเผด็จการอาจมิได้นำไปสู่ระบอบประชาธิปไตยเสมอไป การเปลี่ยนแปลงเพื่อมุ่งสู่ความเป็นประชาธิปไตยอาจส่งผลในเชิงลบคือการเกิดขึ้นของระบอบเผด็จการรูปแบบใหม่หรืออาจเกิดประชาธิปไตยที่ไม่เข้มแข็งและยั่งยืนขึ้นแทนการ ปกครองแบบเผด็จการแบบเดิมๆ ก็เป็นได้
ปรากฏการณ์ความไม่แน่นอนของการพัฒนาประชาธิปไตยดังกล่าวทำให้นักวิชาการในปัจจุบันจำนวนมากหันไปให้ความสำคัญกับการประเมินคุณภาพประชาธิปไตยมากขึ้น นั่นคือ แทนที่จะให้น้ำหนักกับการแสวงหาคำตอบว่าทำไมกระบวนการพัฒนาไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยจึงสำเร็จ (ในบางประเทศ) หรือล้ม เหลว (ในบางประเทศ)
นักวิชาการกลุ่มนี้ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ พยายามอธิบายเกี่ยวกับระบอบ การปกครองที่ถูกสถาปนาขึ้นมาใหม่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ (เช่น การปฏิวัติประชาธิปไตยหรือการสละ/ผ่อนคลายอำนาจของรัฐบาลเผด็จการ) ว่ามีลักษณะสำคัญอย่างไร และจะทำอย่าง ไรให้ระบอบการปกครองที่ถูกสถาปนาขึ้นมาใหม่นั้นมีคุณภาพ "ดี" หรือมีการพัฒนา "ดีขึ้น" อย่างสอดคล้องกับหลักการพื้นฐาน (ในอุดมคติ) ของประชาธิปไตย
นอกจากนี้ วิธีการยกระดับคุณภาพ ประชาธิปไตยดังกล่าว ก็ไม่ได้มีความหมาย เพียงการสร้างเครื่องมือตรวจวัดเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการออกแบบกระบวนการเพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการปรับปรุงการทำ งานของสถาบันทางการเมืองสำคัญๆ รวมถึงการเสริมสร้างพลังอำนาจให้แก่ประชา-ชนและภาคประชาสังคมไปพร้อมๆ กันด้วย
ในความหมายนี้ เป้าหมายของการพัฒนาประชาธิปไตยในปัจจุบันไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่การทำให้ระบอบประชาธิป ไตยในวันนี้ (และวันข้างหน้า) อยู่รอดปลอดภัยจากการแทรกแซงหรือโค่นล้มโดยอำนาจเผด็จการเท่านั้น แต่จุดหมายปลายทางที่สำคัญกว่าก็คือการทำให้ระบอบ ประชาธิปไตยที่ถูกสถาปนาขึ้นมาเป็นระบอบการเมืองที่มีหลักประกันในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมให้พลเมืองมีความเท่า เทียมกันมากขึ้น (ทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม) และเอื้ออำนวยให้ประชาชนทุกกลุ่ม/ชนชั้นมีศักยภาพที่เพียงพอใน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง จนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจทางการเมืองได้อย่างมีศักดิ์ศรี
การพัฒนาประชาธิปไตยในโลกปัจจุบันจำเป็นต้องอาศัยมุมมองที่สามารถก้าวข้ามการแสวงหาและกำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนในสังคมการ เมืองเพื่อออกแบบโครงสร้างและนิยามความหมายประชาธิปไตยให้สอดรับกับคุณลักษณะนั้นๆ ไปสู่การเข้าใจว่าประชาธิปไตยเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และแปรเปลี่ยนโดยเป็นผลของการกระทำ การตอบสนอง ต่อการกระทำ และการปฏิสัมพันธ์ของ ผู้คนในสังคมการเมืองนั้นๆ เป็นประชาธิปไตยที่ทุกคนร่วม "แบ่งปัน (sharing)" ความเป็นเจ้าของและแสดงออกซึ่งศักดิ์และสิทธิใน "การปกครองตนเอง (self-government)"
ปัญหาของประชาธิปไตยไทย (และของโลก) ปัจจุบันจึงไม่ใช่ปัญหาของการนิยามความหมายของประชาธิปไตยให้สอดคล้องตรงกัน แต่เป็นปัญหาของการไม่ยอมรับ และมองไม่เห็นความสำคัญของการเป็นส่วนที่เติมเต็มซึ่งกันและกันของพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยที่ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกันมากกว่า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
ภาษีบุหรี่: ความล่าช้า 4 หมื่นล้านบาทที่...
...
ภาษีบุหรี่ ค้างคา "แช่แข็ง" ไม่เดินหน้...
...
อะไรคือ ? โจทย์ใหญ่ กระทรวงการคลัง ที่มา...
...
ttb analytics มองเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็ง...
...
มาตรการ MPOWER เสาหลักกฎหมายควบคุมผลิตภั...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ