“ช้าง” ขอผงาดผู้นำนวัตกรรม ปั้น “ช้าง พาสเจอไรซ์” หนึ่งเดียวในไทย เบียร์สดในขวดเหมือนดื่มจากต้นกำเนิด เขย่าตลาดเบียร์เดิม ๆ น่าเบื่อให้มีสีสันคึกคัก คอเบียร์อยากลิ้มรสบินตรง ‘เชียงใหม่’ และ ‘เชียงราย’ เท่านั้น

วันพุธที่ 07 ธันวาคม พ.ศ. 2565

“ช้าง” ขอผงาดผู้นำนวัตกรรม ปั้น “ช้าง พาสเจอไรซ์” หนึ่งเดียวในไทย เบียร์สดในขวดเหมือนดื่มจากต้นกำเนิด เขย่าตลาดเบียร์เดิม ๆ น่าเบื่อให้มีสีสันคึกคัก คอเบียร์อยากลิ้มรสบินตรง ‘เชียงใหม่’ และ ‘เชียงราย’ เท่านั้น


ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกรุงศรี วิเคราะห์ว่า อุตสาหกรรมเครื่องดื่มในไทยโดยรวมในปี  2565-2567 ตลาดในประเทศมีแนวโน้มเติบโตได้ในระดับต่ำตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยตลาดเครื่องดื่มประเภทหลักทั้งน้ำอัดลม เบียร์ และสุรา นอกเหนือจากวิกฤต COVID-19 แล้วยังเผชิญข้อจำกัดจากผลของมาตรการภาครัฐในการลดอัตราการบริโภคเครื่องดื่มกลุ่มที่ส่งผลกระทบหรือมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลสูง เป็นต้น นอกจากนี้ กำลังซื้อของกลุ่มผู้บริโภคฐานรากที่อยู่ในระดับต่ำยังเป็นปัจจัยบั่นทอนอีกส่วนหนึ่งด้วย

ส่งผลให้คาดการณ์ว่าตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปี 2565-2567 น่าจะเติบโตในอัตราต่ำหลังจากหดตัวต่อเนื่องในช่วง 2 ปีก่อนหน้า (ปี 2563-2564) จากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ทยอยฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจจากการฉีดวัคซีน COVID-19 ครอบคลุมจำนวนประชากรมากขึ้น อย่างไรก็ตามภาครัฐยังคงควบคุมการทำตลาดและโฆษณา กำหนดโซนนิ่งห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และรณรงค์/จัดกิจกรรมงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงกระแสการใส่ใจสุขภาพจะเป็นปัจจัยจำกัดการเติบโตของธุรกิจ

แต่อย่างไรก็ตามตลาดเบียร์ ในประเทศน่าจะขยายตัวเฉลี่ย 3-4% ต่อปี ผลจากแนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มฟื้นตัว หลังสถานการณ์โควิดดีขึ้นทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคม การพบปะ สังสรรค์สามารถดำเนินได้บ้าง ประกอบกับได้มีการจัดมหกรรมกีฬาสำคัญ (ฟุตบอลโลกในปี 2565 ฟุตบอลยูโรและโอลิมปิกปี 2567) ที่จะเกิดขึ้น คาดว่าน่าจะส่งผลให้ตลาดในประเทศมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวได้ในปี 2565-2567 หลังจากหดตัวในปี 2564 อันเนื่องมาจากผู้ประกอบการทุกต่ายต่างก็ต้องออกมาลุยทำตลาดในช่วงที่ถือเป็นไฮซีซั่นในการขายเพื่อกระตุ้นยอดจำหน่ายผ่านช่องทางร้านอาหารและสถานบันเทิงที่กลับมาเปิดบริการได้อย่างปกติแล้ว

ล่าสุด “เบียร์ช้าง” หนึ่งในผู้นำตลาดเบียร์ของประเทศไทย สร้างเซอร์ไพรซ์ให้ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และนักดื่มเบียร์ชาวไทยส่งท้ายปี เปิดตัวนวัตกรรมเบียร์รูปแบบใหม่ “ช้าง อันพาสเจอไรซ์” ที่ไม่เคยมีเจ้าไดทำมาก่อนในประเทศไทย

นายเลสเตอร์ ตัน ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดสายธุรกิจเบียร์ประเทศไทย บริษัท ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า ถ้าหากมองย้อนกลับไปในช่วงโควิด  2 ปีที่ผ่านมา ตลาดเบียร์ค่อนข้างเติบโตลดลงมาก และเริ่มฟื้นตัวหลังจากเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาตลาดเบียร์มีการ เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจาก นีลเส็นไอคิว (ประเทศไทย) (มกราคม-ตุลาคม 2565) พบว่าตลาดเบียร์ในประเทศไทย มีมูลค่า 110,000 ล้านบาท และมีอัตราการเติบโต 8% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ด้วยปัจจัยการสนับสนุนจากการเปิดประเทศและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนใหญ่ยังอยู่ที่ตลาดเบียร์ขวดหรือเบียร์กระป๋อง ขณะที่สัดส่วนของเบียร์สดยังน้อยมากกว่า 5% ของตลาดรวม

อีกทั้ง เรามองว่าปัจจุบันมีเครื่องดื่มหลากหลายที่เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค เข้ามาสร้างสีสัน และดึงดูดผู้บริโภคให้มีตัวเลือกมากขึ้น ซึ่งส่งส่งผลให้หันผู้บริโภคไปทดลองเครื่องดื่มประเภทอื่นแทน โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ชื่นชอบ และทดลองอะไรใหม่ๆ จะเริ่มไปสู่ตลาดเครื่องดิ่มอื่นมากขึ้น ประกอบกับตลาดเบียร์ในเมืองไทยค่อนข้างนิ่ง มีแต่รูปแบบเดิม ๆ ไม่มีอะไรแปลกใหม่ ไม่มีนวัตกรรมใหม่ๆ  ดังนั้น ช้างเองเมื่อหลายปีที่ผ่านมาได้นำเสนอนวัตกรรมเข้ามาในตลาดเบืยร์อย่างต่อเนื่อง เช่น ช้างโคลด์ บรูว์ ในปี 2562 และช้าง เอสเปรสโซ ลาเกอร์ ในปี 2564 ที่ผ่านมา ก็ได้รับผลตอบรับจากกลุ่มผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น

ล่าสุด เราจึงได้เปิดตัวนวัตกรรมเบียร์รูปแบบใหม่ “ช้าง อันพาสเจอไรซ์” กับ 3 ความโดดเด่นได้แก่ 1) ครั้งแรกของนวัตกรรมเบียร์ที่โดดเด่นด้วยกระบวนการผลิตที่ไม่ผ่านความร้อน (Unpasteurized) เพื่อคงความหอมและสดใหม่อันเป็นเอกลักษณ์ 2) ครั้งแรกของนวัตกรรมเบียร์ที่ผลิตด้วยกระบวนการไนโตรจิเนชัน (Nitrogination) เพื่อให้อณูฟองที่ละเอียดและนุ่ม และ 3) ครั้งแรกของระบบการขนส่งพิเศษแบบโคลด์เชน (Cold Chain) ควบคุมอุณหภูมิให้ไม่เกิน 4 องศาเซลเซียส ตลอดการขนส่งตรงจากโรงงานกำแพงเพชร ถึงร้านอาหารและโรงแรมในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ภายในเวลา 4 - 6 ชั่วโมง เพื่อคงความสดใหม่และรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของเบียร์ช้างอันพาสเจอไรซ์ให้ถึงมือผู้บริโภค มุ่งเจาะกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่และนักท่องเที่ยวในระดับพรีเมียม ในรูปแบบเบียร์สด บรรจุขวดทรงแชมเปญพรีเมียมสีเขียวขนาด 1.5 ลิตร ราคา 500 บาท โดยจะนำร่องจำหน่ายเพียง 2 จังหวัด คือ เชียงราย และเชียงใหม่เท่านั้น ตามร้านอาหาร และโรงแรมชั้นนำ

นอกจากนี้  “ช้าง อันพาสเจอไรซ์” ยังให้ความสำคัญในการควบคุมคุณภาพในทุกมิติ ทั้งการอบรมพนักงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลเก็บรักษา การออกแบบตู้เย็นและอุปกรณ์การเสิร์ฟเบียร์ให้กับร้านอาหารและโรงแรม เพื่อเก็บรักษาคุณภาพของเบียร์ “ช้าง อันพาสเจอไรซ์” ให้คงความสดใหม่และรสชาติ

ผู้บริหารกล่าวต่อว่า สำหรับตลาดเมืองไทยในปัจจุบันนั้นเบียร์สดยังถือเป็นตลาดค่อนข้างเล็ก  เมื่อเทียบกับตลาดของเบียร์ขวดหรือเบียร์กระป๋องในไทยจะมีสัดส่วนที่มากกว่าอยู่มาก โดยเบียร์ยังสามารถยึดตำแหน่งเบอร์ 1 ปริมาณคนดื่ม รองลงมาเป็นเหล้าขาวซึ่งผู้บริโภคจะเป็นคนละกลุ่มชัดเจน แต่สำหรับนวัตกรรมเบียร์รูปแบบใหม่ “ช้าง อันพาสเจอไรซ์” นั้นแม้ว่าในช่วงแรกเราจะวางจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเท่านั้น แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลด้านการเติบโตในแง่ของส่วนแบ่งการตลาดและยอดขายของพื้นที่เชียงใหม่และเชียงราย  ซึ่งถือเป็นจังหวัดยุทธศาสตร์ของเบียร์ช้างที่เป็นเจ้าตลาด พร้อมวางแผนการบริหารตลาดในเชิงรุก

“เราเชื่อมั่นว่า “ช้าง อันพาสเจอไรซ์” จะมาเสริมความแข็งแกร่งในตลาดพรีเมียม ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่และจะกลายเป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ของทั้งจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายที่จะสามารถดึงดูดนักดื่มหน้าใหม่และกลุ่มนักดื่มที่มีกำลังซื้อสูงและนักท่องท่องเที่ยวกลุ่มประเทศที่คุ้นเคยกับเบียร์สดอยู่แล้วยิ่งให้ชื่นชอบเบียร์ตัวใหม่นี้มากยิ่งขึ้น”



บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ