สำนักงานเอเชีย-แปซิฟิก สถานีวิทยุโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งประเทศจีน(China Media Group : CMG) จัดงานการสัมมนา “ความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนและโอกาสใหม่ของโลก ณ ประเทศไทย” เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 17 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมจันทร์จรัส อาคารอธิการบดี ชั้น3 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กรุงเทพมหานคร
งานนี้มี ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดร.วิรุฬห์ พิชัยวงศ์ภักดี ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย – จีน นายภูวนารถ ณ สงขลา นายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน ร่วมกล่าวปาฐกถาพิเศษ
นอกจากนี้ยังมี พล.ท.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ผู้เชี่ยวชาญจีน นายแทนคุณ จิตต์อิสระ ที่ปรึกษากระทรวงพาณิชย์ นายหลิน เหว่ย ประธานบริหารสมาคมการค้าและอุตสาหกรรมไทย -จีน รศ.ดร.ธิตินันธุ์ ชาญโกศล รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์วิจัยและพัฒนาศักยภาพ องค์กร คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นายมงคล บางประภา นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นวิทยากรร่วมการเสวนา โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิด้านคลังสมอง ผู้แทนภาคธุรกิจ และสื่อมวลชนกว่า 100 คน เข้าร่วมสัมมนา
ในการสัมมนาดังกล่าวได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในประเด็นบทบาทความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีน และร่วมสร้างประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกันระหว่างไทย-จีน ผู้ร่วมเสวนาเห็นด้วยว่า แนวคิดความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนส่งผลต่อการพัฒนาของไทยรวมถึงอาเซียน และได้ส่งเสริมประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกันของจีน-อาเซียน แนวคิดความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนยังสร้างโอกาสการพัฒนาใหม่ให้แก่โลก มีส่วนสำคัญในการสร้างสันติภาพและการพัฒนาของโลก
ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรี อว. กล่าวปาฐกถาพิเศษมีใจความโดยสรุปว่า แนวคิดความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนแสดงให้โลกเห็นว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนนําประชาชนจีน 1,400 ล้านคน หลุดพ้นจากความยากจน และเดินหน้าสู่ความมั่นคั่งด้วยกันไม่ใช่เรื่องง่าย แนวคิด "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ข้อริเริ่มการพัฒนาระดับโลก และประชาคมร่วมชะตากรรมของมนุษย์ที่เสนอโดยจีนได้เปลี่ยนแปลงโลกอย่างลึกซึ้ง ขณะเดียวกัน ความทันสมัยแบบจีนก็ให้ประสบการณ์อันล้ำค่าต่อการพัฒนาประเทศไทยและอาเซียนด้วย ซึ่งความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนจะสร้างโอกาสแก่การพัฒนาของไทยและอาเซียน
ดร.วิรุฬห์ พิชัยวงศ์ภักดี ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย –จีน กล่าวว่า แนวคิดประชาชนสำคัญที่สุด ผลประโยชน์ร่วมกันและการพัฒนาอย่างสันติแบบ win-win เป็นหลักสำคัญของแนวคิดความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จีนใช้เวลาสิบปีในการส่งเสริมความร่วมมือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง และประเทศกำลังพัฒนาที่เข้าร่วมได้รับผลประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งเป็นการแสงให้เห็นถึงการสัมมนาความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนในการบริหารจัดการระดับโลก
นายภูวนารถ ณ สงขลา นายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน กล่าวว่า ความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนเป็นแผนงานของจีน การแสดงภูมิปัญญาแบบจีน เชื่อว่าความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนจะผลักดันให้จีนมีความเจริญรุ่งเรืองและมีส่วนร่วมในการพัฒนาโลก และส่งเสริมการร่วมสร้างประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกัน แนวคิดความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนทำให้นโยบาย หนึ่งประเทศสองระบบ ได้รับการปฏิบัติอย่างราบรื่น รวมถึงความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงของฮ่องกงและมาเก๊า ตลอดจนการส่งเสริมความเป็นเอกภาพของประเทศ ความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนสอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาของโลก เป็นหน้าที่ของสื่อไทยในการรายงานความทันสมัยแบบจีนอย่างเป็นกลางและเป็นจริง
พล.ท.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ผู้เชี่ยวชาญจีน กล่าวว่า ความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนเป็นความทันสมัยยึดหลักแนวคิดประชาชนสงสุด ความพึงพอใจและความสุขของประชาชนจีนเพิ่มมากขึ้น ประชาชนจีนมีความไว้วางใจต่อพรรคและรัฐบาล ในเวลาเดียวกัน ความไว้วางใจซึ่งกันและกันทางการเมืองระหว่างจีนและอาเซียนได้วางรากฐานของมิตรภาพและความร่วมมือ ความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีน นำโอกาสการพัฒนามาสู่ประเทศอาเซียนมากขึ้น ความทันสมัยไม่มีคำตอบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทุกประเทศควรเดินหนทางความทันสมัยที่เหมาะสมกับประเทศของตน และความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนทําให้โลกมองเห็นหนทางใหม่ของความทันสมัยที่สามารถพัฒนาอย่างสันติ
นายแทนคุณ จิตต์อิสระ ที่ปรึกษากระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ความทันสมัยแบบจีนได้ส่งเสริมการยกระดับอุตสาหกรรมของจีน การพัฒนาของจีนกําลังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาของอาเซียน จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไทย และเป็นกำลังสำคัญในการรักษาเสถียรภาพของห่วงโซ่อุตสาหกรรม ห่วงโซ่อุปทานโลก การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนได้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
มงคล บางประภา นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีน เป็นเส้นทางการพัฒนาของจีน และเป็นการค้นหาเส้นทางการพัฒนาของมนุษยชาติ ความน่าเชื่อถือและอิทธิพลของสื่อจีนกําลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สื่อไทยสามารถเรียนรู้ประเทศจีนโดยผ่านสื่อจีน สื่อไทยและจีนควรร่วมมืออย่างใกล้ชิด เพื่อให้โลกสามารถเรียนรู้ความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีน
นายหลิน เหว่ย ประธานบริหารสมาคมการค้าและอุตสาหกรรมไทย -จีน กล่าวว่า ความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนไม่ใช่เป็นของประเทศจีนเท่านั้น ยังส่งผลต่อความทันสมัยของประเทศอื่นๆ ด้วย รถไฟความเร็วสูง รถยนต์พลังงานใหม่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของจีนได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวไทย เพิ่มความสะดวกสบายและความสุขให้กับชีวติประจำวันของคนไทย เรียกได้ว่าความทันสมัยแบบจีนกำลังเปลี่ยนแปลงสังคมไทยอย่างลึกซึ้ง
รศ.ดร.ธิตินันธุ์ ชาญโกศล รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์วิจัยและพัฒนาศักยภาพองค์กร คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า ประเทศจีนมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จีนได้ฟื้นฟูชนบท พัฒนาเกษตรกรรม และมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายรวยด้วยกัน ซึ่งแสดงให้เห็นความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีน ความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนไม่เพียงปรากฏในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างแท้จริงด้วย