Toggle navigation
วันอาทิตย์ ที่ 27 เมษายน 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
TBEC ผุดก๊าซชีวภาพใหญ่สุด เฟส 2
TBEC ผุดก๊าซชีวภาพใหญ่สุด เฟส 2
วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556
Tweet
บริษัท ไทย ไบโอแก๊ส เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (TBEC) ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ กระทรวงพลังงาน ตั้งแต่ปี 2551 โดยได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 10 ล้าน บาท เพื่อนำน้ำเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม มาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ โดยปัจจุบันระบบดังกล่าวสามารถรองรับน้ำเสียได้วันละประมาณ 23,334 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือปีละประมาณ 7 ล้านบาทลูกบาศก์เมตร ซึ่งนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 14.6 ล้านหน่วยจำหน่ายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มมาผลิตก๊าซชีวภาพของ TBEC ตั้งอยู่ที่อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี วงเงินลงทุน 157 ล้านบาท มีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า 2.8 เมกะวัตต์ ซึ่ง TBEC ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรม
นายผจญ ศรีบุญเรือง เจ้าหน้าที่ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไทย ไบโอแก๊ส เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (TBEC) เปิดเผย "สยามธุรกิจ" ว่า หลังจาก ประสบความสำเร็จในเฟสแรก ทาง TBEC จึงมีแผนขยายโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพเฟส 2 วงเงินลงทุน 190 ล้านบาท กำลังการผลิต 4.2 เมกะวัตต์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นขอใบอนุญาตประกอบ กิจการโรงงาน (รง.4) คาดว่าประมาณปลายปีนี้จะเริ่มก่อสร้างได้ กำหนดแล้วเสร็จจ่ายไฟเข้าระบบภาย ในปี 2558
"การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียโรง สกัดน้ำมันปาล์มทั้งสองโครงการจะมีการผลิตกระแส ไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้ กฟภ. รวม 7 เมกะวัตต์ นับเป็นการผลิตไฟจากน้ำเสียโรงสกัดปาล์มที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย"
ด้านนายเสมอใจ ศุขสุเมฆ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผน พลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ปัจจุบันโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพมีกำลังการผลิตทั้งประเทศประมาณ 300 เมกะวัตต์ ขณะที่ได้ ตั้งเป้าหมายสูงถึง 600 เมกะวัตต์ ในปี 2564 ซึ่งถือว่ายังต่ำกว่าเป้าหมาย จึงมีแนวคิดที่จะเพิ่มเงินสนับสนุนเป็นระบบ ฟีดอินทารีฟระยะยาวตลอดอายุโครงการ 20 ปี และอาจใช้ระบบโซนนิ่งให้อัตราเงินสนับสนุนค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกับตาม ระดับความยากง่ายในการผลิตแต่ละพื้นที่ด้วย
นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการ สนพ. กล่าวว่า กระทรวงพลังงานมีการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการพึ่งพาการ นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงและพลังงานชนิดอื่น ช่วยกระจายความเสี่ยงในการจัดหาเชื้อเพลิงเพื่อการผลิตไฟฟ้า และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้ ในปี 2564 ความต้องการพลังงานในอนาคต ของประเทศจะเพิ่มขึ้น 99,838 ktoe จากปัจจุบัน 71,728 Ktoe โดยแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกให้ได้ 25% ใน 10 ปี (พ.ศ.2555-2564) หรือแผน AEDP กำหนดให้มีสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 7,413 ktoe เพิ่มเป็น 25,000 ktoe ในปี 2564 หรือคิดเป็น 25% ของการใช้พลังงานรวม
ในการส่งเสริมการผลิตและการใช้ก๊าซชีวภาพ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนอย่างกว้าง ขวาง ด้วยการสนันสนุนการผลิตก๊าซชีวภาพในระดับครัวเรือน การส่งเสริมให้งานวิจัยเป็นเครื่อง มือในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนแบบครบวงจร อาทิ วิจัยและพัฒนาผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียผสม (Co-Digestion) โดย เฉพาะการนำชีวมวลบางประเภทหรือพืชพลังงาน มาหมักผสมกับมูลสัตว์ พัฒนาการใช้ก๊าซชีวภาพ เพื่อการคมนาคมขนส่ง (CBG) ให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
วธ.ประเดิมงาน 1 ครอบครัว 1 Soft Power เป...
...
เปิดเมืองบุรีรัมย์ต้อนรับสงกรานต์ “แนน ช...
...
"YOLK" แบรนด์ทาร์ตไข่คนไทย ปลึ้มยอดขายทะ...
...
พาณิชย์ – DITP จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค...
...
“วธ.” ปักธงเดินหน้านโยบาย 1 ครอบครัว 1 S...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ