Toggle navigation
วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
วิเคราะห์-บทความ-คอลัมน์
"โรงไฟฟ้าถ่านหินหัวไทร" หายนะหรือพัฒนาบนวิถีชุมชน?
"โรงไฟฟ้าถ่านหินหัวไทร" หายนะหรือพัฒนาบนวิถีชุมชน?
วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
Tweet
จากกรณีที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นหน่วยงานเดียวที่ให้รับผิดชอบการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาดกำลังการผลิตรวม 4,000 เมกะวัตต์ ตามแผนกำลัง การผลิตไฟฟ้าระยะยาวของประเทศฉบับปัจจุบัน หรือพีดีพี 2010 ซึ่งปัจจุบัน กฟผ.ยังไม่สามารถสร้างขึ้นได้แม้แต่โรงเดียว เนื่องจาก ยังอยู่ระหว่างการรับฟังความเห็นของชาวบ้าน
ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน นอกจากเพื่อใช้เป็นพลังงานสำรองทดแทนภายในประเทศแล้วแผนการดังกล่าวยังถูกกำหนด ขึ้นเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ร่วมด้วย เนื่อง จากในอีก 7-8 ปีข้างหน้า ไทยจะต้องเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้ากับประเทศเพื่อน-บ้านหลายประเทศ จนครอบคลุมทั้งอาเซียน ในอนาคต ซึ่งการผลิตไฟฟ้าจะคำนึงถึงการ ใช้ของคนในอาเซียนอีกจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 250 ล้านคน ดังนั้น การวางแผน พีดีพีในอนาคตจะต้องพิจารณาปริมาณการใช้ดังกล่าวเพิ่มขึ้นด้วย
ปัจจุบัน กฟผ.อยู่ระหว่างการทำ ความเข้าใจกับชาวบ้านเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้า ถ่านหินโรงแรกตามกรอบที่ กพช.กำหนดไว้ทั้งสิ้น 4,000 เมกะวัตต์
สำหรับที่ อ.หัวไทร จ.นครศรี-ธรรมราช นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.กระทรวงพลังงาน ได้เปิดเผยในช่วงเวลาที่ผ่านมาว่า..
"ล่าสุด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ได้ยื่น หนังสือมาว่าต้องการให้มีโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ถือเป็นเรื่องที่ดี และเพื่อให้ เกิดความมั่นใจว่าพื้นที่ต้องการโรงไฟฟ้าถ่านหินจริง กระทรวงจะแจ้งให้มีการลงชื่อ เพื่อให้มีหลักฐานประกอบในการทำแบบประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (อีเอไอเอ) เพราะที่ผ่านมาเสียเวลาไปกับการลงพื้นที่ เสียงบประมาณ แต่ไม่สามารถพัฒนาต่อได้"
แต่ในทางกลับกันถ้อยแถลงดังกล่าว ได้กลายเป็นสัญญาณการคุโชนขึ้นอีกครั้ง ของภาคประชาชนที่ไม่ต้องการถ่านหินมาเป็นเชื้อเพลิงให้ได้มาซึ่งพลังงานไฟฟ้า จากโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินที่หมายมั่นปั้นมือว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ในพื้นที่อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อให้เกิดการรวมตัวกันขึ้นมาของเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดลุ่มน้ำปากพนัง อีกครั้งหลังจากเฝ้าติดตามกระบวนการเคลื่อนไหว ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในพื้นที่มาโดยตลอด แม้ว่าจะพยายามตั้งคำถามไปยัง กฟผ.แต่ไม่ได้คำตอบที่เป็นชิ้นเป็นอันกลับมา แถลงการณ์อย่างเป็นทางการของ เครือข่ายรักษ์บ้านเกิดลุ่มน้ำปากพนังจึงเกิดขึ้น
"สืบเนื่องจากการออกมาระบุว่ามีการร้องขอให้สร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่อำเภอหัวไทรโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเห็นว่า มีความไม่ชอบมาพากล บางอย่างเกิดขึ้น โดยเฉพาะจากงบประมาณ จำนวน 2 ล้านบาทที่ใช้ในการเดินทางไปลงนามของกำนันผู้ใหญ่บ้านบางราย ขณะที่ประชาชนในพื้นที่ไม่ได้รับรู้ใน เรื่องนี้ และประชาชนไม่ได้คัดค้านเรื่องโรงไฟฟ้าแต่ที่คัดค้านคือการใช้ถ่านหินมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า อีกทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีโครงการสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่นครศรีธรรมราชถึง 2 โรงมีกำลังผลิตกว่า 1,600 เมกะวัตต์ แต่ทั้งจังหวัด นครศรีธรรมราช ใช้ไฟฟ้าเพียง 320 เม-กะวัตต์ต่อวันเท่านั้น จึงเกิดคำถามว่าสร้าง โรงไฟฟ้าชนิดนี้เพื่อรองรับระบบอุตสาหกรรม หนักหรือไม่ และยืนยันว่าประชาชนในพื้นที่ หัวไทรไม่พร้อมแบกรับความเสี่ยงจากมลภาวะที่เกิดขึ้น ที่ไม่มีใครสามารถรับประกันได้ จึงเรียกร้องให้ยุติโครงการนี้ในพื้นที่ทันที และพร้อมที่จะคัดค้านอย่างต่อเนื่องรวมทั้งเพิ่มความเข้มข้นขึ้นตามลำดับ" นายครองศักดิ์ แก้วสกุล ปธ. เครือข่ายรักษ์บ้านเกิดลุ่มน้ำปากพนังแถลงการณ์
นอกจากนี้ ปธ.เครือข่ายรักษ์บ้านเกิดฯ ยังบอกด้วยว่าตั้งแต่ปี 2553 เครือข่ายของพวกเราซึ่งไม่ปฏิเสธโรงไฟฟ้าแต่สิ่งที่เราปฏิเสธคือการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง!!!.. และยังเสนอให้มีการใช้พลังงานทางเลือก ได้เฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวและเฝ้าระวังมาโดยตลอด ประชาชนในพื้นที่ได้รับข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเพียงด้านเดียว ผ่านวิธีประชาสัมพันธ์ แจก สิ่งของแอบแฝงเข้ามาในเวทีทำแผนของหมู่บ้านเก็บรายชื่อชาวบ้าน จนเทศบาลตำบลเกาะเพชรต้องเปิดเวทีเชิญให้ กฟผ. นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ นักวิชาการในมหาวิทยาลัยมาให้ข้อมูลอย่างรอบด้านเพื่อให้ความรู้ประชาชน แต่กลับเป็นว่า กฟผ.ไม่ยอมส่งคนมา มีเพียงหนังสือแจ้งว่า กฟผ.ไม่มีแผนที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในเขตหัวไทร แล้วที่เคลื่อนไหวกันอยู่คืออะไรไม่ใช่มาหลอกต้มกันหรือ
แต่แนวทางการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ของเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดลุ่มน้ำปากพนัง กลับสวนทางกับ "ไพโรจน์ เอียดแก้ว" กำนันตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร ในฐานะประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านหัวไทร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ถูกหมายตาว่าจะเป็น พื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ได้สนับสนุนการก่อสร้างอย่างเต็มที่
"ผมคิดว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของฝ่ายปกครองคือหมายถึงกำนันผู้ใหญ่บ้าน แพทย์และผู้ช่วย สนับสนุนให้มีการสร้าง เห็นด้วยกับการก่อสร้างในพื้นที่ การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตได้พาพวกผมไปดูงานหลายแห่งแล้วเห็นว่ามีความน่าเชื่อถือ และหลายวัน ก่อนพวกผม 38 คนเดินทางไปลงนามบันทึกความร่วมมือกันที่กระทรวงพลังงาน ถึงการสนับสนุนให้สร้าง แต่ในพื้นที่ยอมรับ ว่ามีคนค้าน คนในพื้นที่ก็มีแต่คนนอกพื้นที่ เช่น ท่าศาลา หรือจะนะมาปลุกปั่นชาว-บ้านก็มาก แต่คนค้านยังเป็นส่วนน้อย" ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านหัวไทรแจง
ส่วนคนของ กฟผ.กลับอธิบายอีกทางหนึ่งว่าถ้าดูความคืบหน้าแล้วมั่นใจว่า จะเป็นกระบี่มากกว่านครศรีธรรมราช การ ทำงานขณะนี้ชุดในพื้นที่อาจเป็นชุดเดิม แต่ ฝ่ายควบคุมนั้นสับเปลี่ยนกันไปโดยใช้ฝ่าย ชุมชนสัมพันธ์ ลงพื้นที่ควบคุมกันเป็นหลัก
"ต้องพยายามขึ้นให้ได้ 1 แห่งก่อนตรงนี้เข้าใจว่าน่าจะกระบี่มากกว่า ที่รัฐมนตรี พูดนั้นเป็นนโยบายแต่คนทำคือ กฟผ. ถ้ามาไล่ดูเรียงตามจังหวัดแล้วคือ กระบี่ ประจวบ ตรัง และนครศรีธรรมราช 2 แห่ง คือหัวไทร ท่าศาลา น้ำหนักคงอยู่ที่หัวไทร ถ้าถามผมแห่งแรก ผมคิดว่าน่าจะเป็นกระบี่ นะไม่ใช่หัวไทร" นายไพโรจน์อธิบาย
แน่นอนว่าหากถามคน กฟผ.ในพื้นที่ นครศรีธรรมราช คงอธิบายเพียงแค่ว่าขั้นตอนมี 7 ขั้นที่จะต้องดำเนินการ เวลา นี้ยังอยู่ในขั้นตอนแรกคือทำความเข้าใจ ให้ความรู้เป็นขั้นตอนบนแผ่นกระดาษ ส่วนของจริงเกมที่กำลังเดินอยู่ใต้ดินคงเหลือเพียงแค่ปักเสาเข็มก่อสร้างอย่าง เต็มรูปแบบเท่านั้น
อนึ่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทยต้องการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาค ใต้ 9 โรง เฉลี่ยกำลังการผลิตไฟฟ้าโรงละ 700 เมกะวัตต์ หรือบางจังหวัด เช่น จังหวัด กระบี่ 800 เมกะวัตต์ เป็นการสร้างโรง ไฟฟ้าเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก ตามที่ระบุไว้ในแผนพัฒนาภาคใต้ของรัฐบาล
ส่วนล้อมกรอบ
+ ในการโรงไฟฟ้าถ่านหินต้องมีอีกหลายอย่างที่ต้องพิจารณาดังนี้ :
1.ท่าเรือขนส่งถ่านหิน 2.โรงไฟฟ้าซึ่งใช้ความร้อนประมาณ 1,050-1,100 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในห้องเผาไหม้ 3.ลานกองถ่านหิน ปริมาณสำรองประมาณ 45 วัน ประมาณ 300,000 ตัน ใช้เนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ 4.น้ำหล่อเย็น ระบบสูบและทิ้งน้ำหล่อเย็นในทะเล 5.สารเคมีที่ใช้ในระบบเสริมการผลิตหรือระบบสาธารณูปโภคของโครงการ 6.ระบบบำบัดน้ำเสียจากโรงไฟฟ้า กิจกรรมของคนงาน และการใช้น้ำดักหรือกำจัดฝุ่น สารอันตราย 7.แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งต้องมีการรอนสิทธิในที่ดิน ที่เป็นเส้นทางสายส่งไฟฟ้า
+ โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดมีจริงหรือ :
การผลิตไฟฟ้าต้องใช้ถ่านหินบิทูมินัส นำเข้าจากอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย มีองค์ประกอบของสารซัลเฟอร์ ร้อยละ 0.1-1 แต่มีสารหนู 0.73-0.85 แคดเมียมต่ำกว่า 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปรอทต่ำกว่า 0.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตะกั่วต่ำกว่า 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ มีโครเมียม ซีรีเนียม องค์ประกอบแบบนี้ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยบอกว่า มีโรงไฟฟ้า ถ่านหินสะอาด แต่ก็ยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพแน่นอน โรงไฟฟ้าจะใช้ถ่านหินมีกำลังผลิตไฟฟ้า 700 เมกะวัตต์ ต้องใช้ถ่าน 1.968,600 ตันต่อปี ถ้าผลิต ไฟฟ้า 800 เมกะวัตต์ ต้องใช้ถ่านหินเพิ่มมากขึ้น
+ ผลกระทบต่อสุขภาพ :
การมีโรงไฟฟ้าถ่านหินจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ ปอด หอบหืด ปอดบวม เกิดพังผืดในปอด มะเร็งจากสารอินทรีย์ระเหย โรคจากโลหะหนัก จะทำให้ระบบการหมุนเวียนเลือดล้มเหลว ทำลายตับ ไตวายเฉียบพลัน เลือดออกมากผิดปกติ ทำให้กระบวนการเมทาบอลิซึมบกพร่อง เป็นพิษต่อตับ ไต ท่อปัสสาวะ กระเพาะ ลำไส้ ม้าม ไขกระดูก หัวใจ ระบบประสาท ส่วนกลาง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
ภาษีบุหรี่: ความล่าช้า 4 หมื่นล้านบาทที่...
...
ภาษีบุหรี่ ค้างคา "แช่แข็ง" ไม่เดินหน้...
...
อะไรคือ ? โจทย์ใหญ่ กระทรวงการคลัง ที่มา...
...
ttb analytics มองเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็ง...
...
มาตรการ MPOWER เสาหลักกฎหมายควบคุมผลิตภั...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ