Toggle navigation
วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
วิเคราะห์-บทความ-คอลัมน์
ปูสันติภาพ..ปลายด้ามขวาน "พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์" ไขภารกิจดับไฟใต้
ปูสันติภาพ..ปลายด้ามขวาน "พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์" ไขภารกิจดับไฟใต้
วันพฤหัสบดีที่ 04 เมษายน พ.ศ. 2556
Tweet
สถานการณ์ "ไฟใต้" ยังคุกรุ่นและคงความรุนแรงไว้อย่างต่อเนื่อง แต่โดยพลันที่รัฐเริ่มปูพรม "สันติภาพปลาย ด้ามขวาน" ด้วยการเปิดโต๊ะเจรจา กับกลุ่มก่อความไม่สงบ "บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต" ก็ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์ขึ้นมากมาย ทั้งผลบวกและผลลบต่อรัฐบาล
ทว่าภาพเหล่านี้ ยังไปสะกดความรู้สึกของผู้คนให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้นจากสถานการณ์ความรุนแรงในรอบ 9 ปีของปัญหาไฟใต้ แต่ก็เป็นเพียงห้วงระยะเวลาอันสั้น เพราะหลังจากนี้ไป "เส้นทางแห่งสันติภาพ" ได้วางทอดยาวไว้แล้ว ขึ้นอยู่กับว่า...จะเอื้อมไปถึงหรือไม่เท่านั้น?!!
ขณะเดียวกัน "ฟันเฟืองชิ้นสำคัญ" ที่นอกเหนือจากหน่วยงานด้านความมั่นคงแล้ว ยังคงต้องกล่าวถึงกองทัพที่มีบทบาทเป็นอันมากต่อการรุกคืบแก้ไขสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอ "กระสุนตก" ในจังหวัดสงขลา
โดยเฉพาะการทำหน้าที่ของ "เสธ.เมา" พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ ที่ช่วยวางรากฐานอันเข้มแข็งต่อแนวทาง "ดับไฟใต้" โดยใช้ประสบการณ์กว่า 36 ปีในพื้นที่สุดเขตด้ามขวานทอง และตลอด 2 ปีครึ่งในบทบาทแม่ทัพภาคที่ 4 ที่ได้สร้างคุณูปการไว้อย่างมากมาย
ในวาระที่ .พล.ท.อุดมชัย. เตรียมอำลาตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 4...เปิดทางให้ คนใหม่เข้ามาทำหน้าที่สานงานต่อ "สยามธุรกิจ" ได้มีโอกาส "สัมภาษณ์พิเศษ" ถึงทิศทางไฟใต้บนสถานการณ์ที่ลุกโชน และความเป็นไปของปัญหา...!!!
+ ความซับซ้อนของปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
"ปัญหาใน 3 จังหวัดที่ว่าซับซ้อน แต่จริงๆ มันไม่ได้ซับซ้อน...โดยปัญหาบีอาร์เอ็นก็เป็นปัญหาของคน คนหนึ่งที่มาตั้งตนเป็นองค์กรลับเพื่อแบ่งแยกเป็นประเทศอิสระ โดยมีสัญลักษณ์เฉพาะเชื้อ ชาติและความเชื่อ มันจึงไม่น่าจะซับซ้อน แต่เหตุการณ์ความไม่สงบมากมายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เป็นเพราะมันไปเชื่อมโยงกับหลายๆ อย่าง เพราะบีอาร์เอ็นส่วนหนึ่งไป อาศัยฐานด้านเศรษฐกิจจากกลุ่มที่ก่ออาชญากรรม และบีอาร์เอ็นก็ตกเป็นเครื่องมือของ กลุ่มผลประโยชน์ เช่น พวกค้าของเถื่อน มันเลยผูกปัญหาให้กลายเป็นเรื่องซับซ้อน แต่ถ้าแยกปัญหาออกมาจริงๆ มันจะไม่ซับ ซ้อน ซึ่งปัญหาหลักคือการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งมีบีอาร์เอ็นเป็นตัวหลัก"
+ กองทัพคิดอย่างไรกับแง่มุมการเจรจา
"เป็นสูตรทั่วไปในการทำสงครามและ การทำธุรกิจ คือชีวิตประจำวันการเจรจาเป็นเรื่องปกติพื้นฐาน ถ้าไม่ทำคงจะเป็นเรื่องผิดปกติ มันเป็นการเจรจาเพื่อล้วงข้อมูล เจรจาเพื่อความได้เปรียบ เจรจาเพื่อการสมยอม ก็แล้วแต่ที่จะทำเพื่ออยู่ร่วม กันอย่างสันติ มันก็เป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งผมว่าก็เป็นเรื่องธรรมดาในการดำเนินการเจรจา"
+ การใช้ทหารนำในการแก้ปัญหาคิดว่ามาถูกทางหรือเปล่า
ที่ถามว่าใช้ทหารนำ ความจริงมันไม่ใช่ เพราะในพื้นฐานการทำสงครามของ ฝ่ายที่มีกำลังน้อยซึ่งต่อสู้กับรัฐที่มีกองกำลังมาก วิธีการจะเอาชนะฝ่ายก่อการร้าย มันค่อนข้างจะยากและซับซ้อน แต่โดยธรรมดาของสงครามทุกสงคราม ต้องถูกชี้นำโดยการเมือง จะไม่มีการทหารนำ ต้องกำหนดจากฝ่ายการเมืองให้ชัดเจนก่อนว่า คนพวกนี้เขาต่อสู้เรา เขาไม่พอใจ เขาไม่อยากอยู่เพราะปัญหาประชาชาติ และปัญหาศรัทธาของเขา เพราะฉะนั้นเวลาเรากำหนด แนวทางการต่อสู้ ต้องกำหนดทิศทางในการชนะทางประชาชาติและศรัทธาให้ได้ ซึ่งมันเป็นเรื่องทางการเมือง แต่ในทางการทหารเราเอามาเพื่อจะป้องปรามเพื่อไม่ให้สงครามขยายตัว เพราะฝั่งตรงข้ามใช้วิธีการก่อการร้าย ใช้วิธีอื่นแบบไม่จำกัดและไม่ได้อยู่ในกรอบของกฎหมาย เพราะฉะนั้นการกำหนดทิศทางต้องมาจากฝ่ายการเมืองเพื่อชนะทางจิตใจ ส่วนในทางการทหารเป็นการป้องปรามไม่ให้ขยายวงการที่บอกว่าใช้ทหารนำในการแก้ปัญหามันจึงไม่ใช่...
+ ข้อเสนอกรณีรัฐปัตตานี
เป็นเรื่องธรรมดา แต่ตรงไหนที่เรารับได้หรือรับไม่ได้...คนที่รับนโยบายลงไปต้องไปดู แต่ถ้าถามผมว่าผมเป็นบีอาร์เอ็น ผมก็ต้องเสนอ อย่างเช่นให้ถอนทหาร ปกครองแบบมหานคร มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ มันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ขึ้นอยู่กับฝ่ายเราจะมีพื้นฐานการเจรจาอย่างไร
+ 2 ปีครึ่งที่ทำหน้าที่มทภ.4 ทิศทางและสถานการณ์..เปลี่ยนไปอย่างไร
"ผมชี้ได้ว่า รัฐที่เคยถูกกล่าวหาว่าโหดร้ายทารุณใช้ความรุนแรง ผมว่ามันหมดไป ถึงจะมีก็มีน้อยมาก เพราะว่าเป็น นโยบายที่รัฐต้องปฏิบัติภายใต้กฎหมายอย่างจริงจัง และในเมื่อเราปฏิบัติตามกฎหมาย เรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชน ทิศทางมันจะชัดเจน นอกจากนี้รัฐยังเปิดโอกาสให้ผู้เห็นต่างได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา โดยการเปิดเวทีเสวนาให้นำเสนอแนวคิด แสดงความคิดเห็น อยากแยกรัฐก็ให้พูดได้ สถานการณ์มันจึงผ่อนคลาย อีก อย่างหนึ่งคือสำหรับผู้ที่เห็นว่าการก่อการ ร้ายไม่ทำให้อะไรดีขึ้น รัฐก็มีทางถอยให้ ไม่ตามเข่นฆ่าไปจนตาย ตรงนี้ทำให้ความ ไว้ใจระหว่างรัฐกับคนพื้นที่เริ่มกลับมา เพราะ รัฐไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ละเมิดกฎหมาย และยังมีการเปิดสภาสันติสุข มีเวทีต่างๆ มากมายให้เขาได้แสดงความคิดเห็น ให้เขาได้ระบาย อย่างนักศึกษาด่ารัฐ ด่ากันโจ๋งครึ่ม เราก็ไม่ว่า แต่อย่าใช้อาวุธก็พอ จากแต่ก่อน ที่ประชาชนเคยด่ารัฐ เริ่มด่าน้อยลง เริ่มหันมาฟัง เพราะเรามีเวทีให้เขาได้แสดงความ คิดเห็นคือ...ผมเห็นทิศทางมันดีขึ้น"
+ แนวทางของรัฐหลังเจรจากับผู้ก่อการร้าย
"ต้องดูว่าการเจรจาหรือการลงนาม เป็นลักษณะใด เพราะการเจรจารอบนี้ไม่ใช่ การเจรจาสันติภาพ แต่เป็นการบันทึกเจต-นารมณ์ของคนส่วนใหญ่ที่จะเข้ามาพูดคุยกัน และรัฐบาลไทยก็ไม่ใช่ผู้เจรจาแต่มอบให้สภาความมั่นคง (สมช.) ซึ่งเป็นคน กลุ่มหนึ่งไปเจรจากับคนกลุ่มหนึ่งคือบีอาร์เอ็น แต่ก็ยังไม่มีการตั้งประเด็น โดยประเด็นหลักๆ คือ ต้องอยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญ ผมเองก็เคยพูดถ้าคุณไม่รับรัฐธรรมนูญก็อย่ามาเจรจา ซึ่งวันที่ 28 มี.ค.เป็นการกำหนดกรอบเจรจา ผมคิดว่าคงคุยกันในเรื่องง่ายก่อน ส่วนเรื่องยากเอาไว้ทีหลังโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นตัวตั้ง โดยจะทำอย่างไรให้สถานการณ์หลุดพ้นจากความขัดแย้ง"
+ กองทัพอยู่ในกระบวนการเจรจามาโดยตลอดหรือไม่
"ทางทหารมันอยู่ที่กรอบนโยบายแห่งรัฐ กรอบนโยบายจะมีกรอบ 9529 ในข้อที่ 8 พูดถึงการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เกื้อกูลให้ออกจากความขัดแย้งด้วยวิธีรุนแรง การสร้างสภาวะแวดล้อมเตรียมใช้ ม.21 เป็นสภาวะแวดล้อม เปิดให้คนมี ความเห็นต่าง พูดคุยกับคนที่ต่อสู้เบื่อแล้ว กลับบ้าน ที่ผมกล่าวไปนี้มันอยู่ในข้อที่ 8 ซึ่งทหารต้องปฏิบัติตามแนวนโยบายแห่งรัฐที่มาจากประชาชน เรามากำหนดนโยบาย คนพวกนี้ที่มาจากรัฐบาลมันมีความ ต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นประชาธิปัตย์ เพื่อไทย หรือรัฐอื่นๆ ล้วนเห็นปัญหาของประชาชน ในต่างมุมมอง แต่โดยพื้นฐานนโยบายจะไม่ทำลายประชาชน ไม่ใช้ความรุนแรงแต่ บังคับใช้กฎหมาย จะเป็นในลักษณะนี้"
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังๆ จะเห็นว่านโยบายทางด้านการทหาร ในช่วงที่ผมทำยึดถือหลัก "การเมืองนำการทหาร" ปฏิบัติการทุกครั้งจะต้องได้ใจประชาชน ถ้าเราไม่ได้ใจประชาชนเราจะไม่ทำ เช่นการปิดล้อมตรวจค้น คือถ้าฆ่าตายก็เท่ากับได้ใจประชาชนส่วนใหญ่แน่ นอน แต่ถ้าไม่ฆ่าไปเอากำนัน ผู้ใหญ่ พ่อแม่พี่น้องของเขามาพูดคุย เราก็จะได้ใจพวกเขาส่วนหนึ่ง เราต้องชั่งน้ำหนัก แต่มันมีสิ่งหนึ่งที่คนพวกนี้ยอมรับได้ก็คือถ้าเขาใช้อาวุธกับเราก่อนเราก็ใช้อาวุธ เขาก็ยอมรับในส่วนนี้ แต่คนเราก็ยังมีความเคียดแค้น ผมหลีกเลี่ยงประเด็นนี้ในการที่จะใช้อาวุธกับเขา เพราะฉะนั้นนโยบายการทหารก็ทำเพื่อป้องปรามไม่ได้มุ่งการทำลายเป็นหลัก ยึดถือว่าเราทำไปแล้วต้อง ได้ใจประชาชน แต่นโยบายด้านการทหาร อีกอันก็คือสิ่งใดที่การจัดการทางทหารแล้ว เกิดผลกระทบเชิงลบต่อพี่น้องประชาชน เราจะหลีกเลี่ยง
ในอีกประการหนึ่งการทหารมันเป็น การใช้ชั่วคราว มันไม่ได้มุ่งไปสู่การนำอำนาจรัฐในส่วนอื่นเข้ามา เพราะทหารไม่ ได้มีครบในทุกองค์กร มันต้องทำแบบเป็ด ต้องนำอำนาจรัฐใน 17 กระทรวง 66 หน่วยงานเข้ามาดำเนินการให้ได้ ขณะนี้ไม่มีการ ดำเนินการในพื้นที่ 4 อำเภอ เพราะว่าสถานการณ์มันเบาบางลง เราก็พยายามที่จะให้นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เข้ามาใช้อำนาจรัฐ มาใช้งานทางด้านการพัฒนา แต่เราก็ยังหนุนเสริมในด้านการจัดการ
+ ข้อเสนอเรื่องนิรโทษกรรม
"มันมีจุดยืนชัดเจน จุดยืนแห่งรัฐ หรือถ้าพื้นที่ดีขึ้น สถานการณ์ดีขึ้น ลดระดับความรุนแรงลง ก็จะยกเลิกกฎหมาย พิเศษ แล้วนำกฎหมายความมั่นคงมาใช้ ก็คือการประกาศใช้ ม.21 โดยใน ม.21 มันเป็นกฎหมายที่ให้อภัยซึ่งกันและกัน คนที่ก่อเหตุโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แล้วกลับมาให้ประโยชน์ต่อรัฐเพื่อความสงบ คนที่ถูกกระทำก็จะได้รับการดูแลเยียวยา ถ้าไม่เข้าองค์ประกอบนี้ก็จะเป็น ป.วิ อาญา ตามปกติ ถ้าหากเข้าองค์ประกอบนี้ก็จะมีการสืบสวนสอบสวน มีการเยียวยา มีการดำเนินกรรมวิธีมา แล้วผู้อำนวยการรักษา ความมั่นคงภายใน ถึงจะมอบให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ลงนาม ให้อัยการ จากนั้นอัยการก็ส่งให้ศาล และศาลก็ยังจะถามผู้ที่ก่อเหตุอีกว่ายินดีเข้ามาตรา 21 หรือไม่ ถ้าไม่ยินดีก็ต้องกลับไป ป.วิ อาญา เหมือนเดิม แต่ถ้ายินดีศาลก็ยังวินิจฉัยตามข้อเสนอของ กอ.รมน.ภาค 4 ว่าจะให้เข้าฝึกอบรมไม่เกิน 6 เดือน หรือบางคนก็อาจมี 4 เดือน หลังจากนั้นคดีตาม ความผิดที่มีก็จะหมดไป อันนี้จึงเป็นกฎหมาย ที่ให้อภัยและคุ้มครอง ถือเป็นนิติศาสตร์ในเชิงรัฐศาสตร์"
+ นอกจากเกลียดและเคียดแค้นบีอาร์เอ็นมีการเมืองหรือไม่
"เป็นพรรคการเมืองนี่แหละ แต่ใช้อาวุธเดินไปสู่การได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ นั่นคือการเป็นรัฐอิสระ เขาอยู่ภายใต้เราไม่ได้ เขาจึงสอนลูกหลานว่าสยามมาทำลาย เป็นเงื่อนไขทำให้คนสู้ ทำให้คนเป็นแนวร่วมทางความคิด สยามมาทำลายมลายูที่ยิ่งใหญ่ และมาทรมานบรรพบุรุษมลายูไป ทำให้คนมลายูเป็นแนวร่วมทางความ คิดที่จะเข้าร่วมต่อสู้ พอแนวร่วมทางความ คิดอุดมการณ์ชาตินิยม ก็จัดตั้งคนกลุ่ม ยังไม่เป็นแนวร่วมทางความคิด แต่จัดตั้งกองกำลังเฟ้นเข้าไป ไอ้กองกำลังนี้เข้าไปสู้ เกลียดแค้นชิงชัง มันเป็นขั้นๆ การต่อสู้ บางทีเราจะต้องเข้าใจ"
+ มีข่าวรัฐบาลวางเป้า 2-3 ปีต้องยุติ..
"ก็เหมือนคน ถ้าไม่ตั้งเป้าหมายไว้ชัดเจนมันก็เหมือนคนเลื่อนลอย ทิศทางจะไปยังไงก็ได้ ใครเข้ามาก็เรื่อยๆ มันต้อง ถูกประเมิน 2 ปี มีประชาคมอาเซียน ต้องยุติให้ได้ แต่ก่อนนี้มาเลเซียไม่ยอมรับว่ามี แต่ตอนนี้มาเลเซียยอมรับแล้ว มันก็เป็น สิ่งที่ดีใช่ไหม อย่าติเรือทั้งโกลน ใครคิดจะทำอะไร ประเทศไทยโดน ไม่ว่าประชาธิปไตย หรือใครมา เราก็สนับสนุนการดำเนินงานในการแก้ไข"
+ แนวที่เดินมา พอ มทภ. 4 เปลี่ยนคน แล้วยังเดินต่อหรือไม่
"ผมว่ามันเดินอยู่แล้ว เพราะสิ่งที่บอกว่าประสบการณ์ ทักษะ องค์ความรู้ที่เราสั่งสมมา อยู่ดีๆ จะมาทำลายเฉยๆ ใช้กำลังทหารบุกเข้าปิดล้อม ฆ่าจนราบเป็นหน้ากลองมันก็ทำไม่ได้ เพราะทหารจะ ทำอย่างนั้นไม่ได้ ทหารก็มาจากประชาชน คือปัญหาสมัยก่อน 3 จังหวัดมันทำให้คนไม่ได้เป็นข้าราชการ เพราะว่าไปเรียนทาง ด้านศาสนาเป็นหลัก องค์ความรู้ด้านสามัญ มีน้อย แต่ปัจจุบันมันขยับควบคู่กันไป ซึ่งคนเหล่านี้จะเป็นคนไทยใน 3 จังหวัดที่พัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ พัฒนาตัวเอง ได้ เพราะคนมีองค์ความรู้ โดยศาสนาอิสลามก็สอนให้มีองค์ความรู้ครบด้าน ไม่ใช่ มีความรู้ทางด้านศาสนาเพียงอย่างเดียว ปัญหามันจะได้คลี่คลาย เมื่อคน 3 จังหวัด มาเป็นทั้งทหาร ตำรวจ เป็นข้าราชการพลเรือน มันจะต่อสู้กับใคร เพราะมันก็จะนำไปสู่แนวทางที่ทุกคนต้องการคือระบอบ ประชาธิปไตย ถูกไหม.."
+ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา... การแก้ไขปัญหาใต้มาถึงจุดไหนแล้ว
"ผมว่า เข้าใจปัญหา เข้าใจภารกิจ เข้าใจผู้ที่ก่อเหตุ เข้าใจประชาชน พอเข้าใจก็ต้องไปถึงเรื่องการเข้าถึง เข้าถึงประชาชน เข้าถึงปัญหา แล้วก็พัฒนาอย่าง เป็นระบบ เป็นกระบวนการ เพียงแต่เราบอกว่าเราเข้าใจ มันเป็นตัวความรู้สึก ตัวความรู้ เราต้องเข้าไปให้ถึงตัวปฏิบัติ แล้วก็วางระบบ มันเริ่มเดินไปอย่างนั้น เริ่มเดิน ไปตามยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หลักในการแก้ปัญหา"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
ภาษีบุหรี่: ความล่าช้า 4 หมื่นล้านบาทที่...
...
ภาษีบุหรี่ ค้างคา "แช่แข็ง" ไม่เดินหน้...
...
อะไรคือ ? โจทย์ใหญ่ กระทรวงการคลัง ที่มา...
...
ttb analytics มองเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็ง...
...
มาตรการ MPOWER เสาหลักกฎหมายควบคุมผลิตภั...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ