GENTLEMANS CLUB.. ยุติความรุนแรงในครอบครัว

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

GENTLEMANS CLUB.. ยุติความรุนแรงในครอบครัว


ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวกลายเป็นเรื่องน้อยนิดมหาศาลที่เกิดบนจุดสำคัญที่สุดของสังคมไปแล้ว..

อย่างไรก็ดี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดย "ปกรณ์ พันธุ" อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้ริเริ่มโครงการดีๆ ที่ร่วมกับรัฐบาลใน "โครงการรณรงค์สร้างจิตสำนึกยุติความรุนแรงในครอบครัว" หรือ GENTLEMANS CLUB ประหนึ่งวัคซีนยุติความรุนแรงในครอบครัวที่ฉีดเข้าสู่กระแสหลักของสังคม ซึ่งโครงการดังกล่าว "ปกรณ์ พันธุ" ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ "สยามธุรกิจ" ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง

{gt}{gt} ที่มาที่ไปของโครงการรณรงค์สร้างจิตสำนึกยุติความรุนแรงในครอบครัว (GENTLEMANS CLUB)

"จริงๆ ต้องพูดถึงภาพรวมการรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงใน ครอบครัวของสังคมไทยในทุกวันนี้ค่อนข้างสูงอยู่พอสมควร จากตัวเลขปัจจุบันของกระทรวงสาธารณสุขเฉลี่ยแล้วมีการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัวอยู่ประมาณ 73 รายต่อวัน ถ้าสรุปเป็นนาที ก็จะพบว่าผู้หญิงและเด็กถูกกระทำ 20 นาทีต่อคน ซึ่งไม่ธรรมดา ถามว่าแรงกระเพื่อมสังคมไทยคิดอย่างไร พบว่า 71% มองว่าเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ อีก 19% คิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา ที่สำคัญ 43% บอกว่าไม่เคยเข้าไปมีส่วนร่วมกับการแก้ไขตรงนี้เลย ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้เกิดขึ้นกับจุดที่เล็กที่สุดและจุดที่สำคัญที่สุดคือครอบครัว เมื่อมีมุมมองอย่างนี้เกิดขึ้นกับครอบครัว กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จึงมองว่าเป็นปัญหาใหญ่ของ สังคมที่ไม่มีใครตระหนักถึง เพราะฉะนั้นตรงนี้เราจึงร่วมกันสร้างเป้าหมายกำหนดทิศทางว่า จะไม่ ให้เกิดความรุนแรงซ้ำขึ้นมาในครอบครัว เมื่อไม่ต้องการให้เกิดการกระทำซ้ำ มันต้องวางสเต็ปการแก้ไขไว้เป็นลำดับขั้น ไล่เรียงขึ้นไป เหมือนกับการสร้างห่วงโซ่ในการทำงานเป็นลำดับขั้นที่ สามารถเข้าถึงง่ายและสามารถทำ ได้ดี และทุกคนที่เข้าร่วมกระบวน การมีความสุข"

"จากนั้นก็เปิดเกมรุกเข้าสู่ปัญหา และสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะฉะนั้น การจะเข้าถึงง่าย คน ในสังคมก็ต้องมีจิตสำนึก ที่จะร่วมกันสร้างกระแสในการยุติความรุนแรงในครอบครัว แล้วถ้า มีการเฝ้าระวังและมีการเตือนภัย เราก็จะสามารถติดต่อและเข้าถึงปัญหาโดยง่าย หลังจากนั้นก็จะร่วมกันสร้างระบบการคุ้มครองที่ปลอดภัย และก็มีคุณภาพ จากนั้นผู้ที่ถูกกระทำจะสามารถกลับคืนสู่ครอบครัว อย่างมีความสุข และครอบครัวก็จะมีความเข้มแข็ง กระทั่งเกิดการ ต่อยอดและขยายฐานการยุติความรุนแรง คือหัวใจสำคัญมันต้องเริ่มจาก "THING BIG START SMALL" ..คิดใหญ่ได้แต่ต้องเริ่มต้นก่อน คือหนทางที่เหยียดยาวแต่มันต้องเริ่มจากก้าวแรกก่อน เพราะฉะนั้น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจึงเห็นว่ามันต้องเริ่ม มันต้องจุดประกายเหมือนบุเรงนองต้องลั่นกลองรบ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นคือการสร้างกระแส ซึ่งมีบางส่วนได้เริ่มดำเนินการแล้ว"

"ต่อจากนี้ก็ต้องสร้างแรงกระเพื่อมเพิ่มเข้าไปอีก มันจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่เกิดกิจกรรม GENTLEMANžS CLUB หรือโครงการรณรงค์สร้างจิตสำนึกยุติความรุนแรงในครอบครัว โดยเฉพาะสุภาพ-บุรุษ เพราะว่าเมื่อมีการกระทำต่อเด็กและสตรีในครอบครัว ส่วนใหญ่มักจะเป็นสุภาพบุรุษ เราจึงพยายามสร้างให้เขาไม่กระทำ ต่อจากนั้นต้องแสดงออกว่าตัวเองไม่ยอมรับกับเรื่องเหล่านี้ และที่สำคัญที่สุดคือต้องไม่นิ่งเฉย แต่ก่อนหน้าที่จะไม่ทำ ไม่ยอมรับ ไม่นิ่งเฉย สุภาพบุรุษต้องรับรู้รับทราบและเกิดจิตสำนึก ว่ามันถึงเวลา แล้วที่สุภาพบุรุษต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ มีความตระหนักรู้ และรับทราบถึงผลกระทบที่มันจะเกิดตามมา ตรงนี้เป็นไฮไลต์สำคัญที่เราจะจุดประกาย จะสร้างวันดีเดย์ วันคิกออฟของประเด็นเหล่านี้ สร้างแรงกระเพื่อมใหญ่ๆ ในสังคม คือตัวเราเองที่เป็นผู้ชาย ถ้าเรา ไม่ก่อมันก็จะไม่เกิด ถ้าเราไม่กระทำมันก็จะไม่เกิด แต่ถ้าเรากระทำ แล้วเราต้องหยุด จากนั้นเมื่อเราไม่ทำแล้วเราต้องไม่ยอมรับ และถ้าเกิดเราเห็นแล้วเราต้องไม่นิ่งเฉย แค่นี้แหละจะทำให้สังคมดีขึ้นทันตาเห็น มันจึงเป็นที่มาของโครงการนี้"

{gt}{gt} แนวทางดำเนินการต่อหลังจากจุดประกายติด

"หลังจากเกิดเป็นเครือข่ายตรงนี้ ก็จะมีการพัฒนาด้วยการเปิดสายด่วน 1300 รับเรื่องราวร้องทุกข์ต่างๆ ซึ่งทราบว่าท่านนายกฯ (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) จะเริ่มคิกออฟต้นเดือนเมษายนนี้ ซึ่งจะมีการรวบรวมทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย โดยสรุปออกมาเป็น 4 ปัญหาหลักคือ 1.ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 2.ปัญหา เรื่องค้ามนุษย์ 3.ปัญหาเรื่องแรงงานเด็ก และ 4.ปัญหาเรื่อง STOP TEEN MOM หรือ แม่วัยใส ซึ่ง 4 ปัญหาหลักของประเทศไทย สามารถเข้าถึงได้ทั้งด้วยการวอล์กอินเข้ามา หรือจะกด 1300 หรือ เปิดเว็บไซต์ที่จะเข้าถึงปัญหา ด้วยการประสานผ่านหน่วยรับเรื่องร้องทุกข์ทั่วประเทศไทยเป็นหมื่นๆ หน่วย ที่สามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง"

จากนั้นทุกหน่วยจะใช้ระบบไอทีเชื่อมต่อกัน และหน่วยต่างๆ เหล่านี้ จะมีการถ่ายทอดงานเพื่อเชื่อมติดต่อกัน แล้วจะส่งต่อกันได้ โดยจะมีไทม์มิ่งล็อก คือถ้าหน่วยไหนนิ่งเฉยไม่ปฏิบัติตามจะมีสัญญาณ เตือนส่งไปถึง เพราะฉะนั้น ถ้าท่านเดือดร้อนแล้วส่งมา แต่หน่วยนี้ ไม่ส่งต่อและไม่ปฏิบัติ ระบบเตือนภัยจะส่งสัญญาณทำให้แต่ละหน่วย ต้องรีบดำเนินการ ดังนั้น ญาติพี่น้องสามารถตามได้ว่ามันถึงตรงไหน เพราะฉะนั้น ทุกหน่วยจะต้องมีการวางโครงสร้างเพื่อตอบสนอง 4 ปัญหาหลักของประชาชนได้ และหนึ่งในนี้คือเรื่องความรุนแรงในครอบครัว เพราะฉะนั้น เราจะช่วยรัฐบาลในช่วงนี้ด้วยการปลุกกระแส ในทันทีออกไปก่อน เพื่อเมื่อถึงเวลาที่นายกฯ เริ่มคิกออฟ เราจะสามารถรองรับได้ทันที เสร็จแล้วหน่วยงานทั้ง 337 หน่วยของกรม พัฒนาสังคมและสวัสดิการ จะทำงานเป็นเครือข่ายของสายด่วน 1300 คือ ทุกหน่วยจะต้องเปิดโทรศัพท์ 24 ชั่วโมง เผื่อมีเรื่องเหลือบ่ากว่าแรง จะได้สามารถส่งหน่วยเคลื่อนที่เข้าไปแก้ปัญหาได้

{gt}{gt} ศูนย์ลักษณะอย่างนี้แม้จะสามารถเข้าถึงแล้วจะทำได้จริงหรือเปล่า

"ตอนนี้เราพยายามเทรนเจ้าหน้าที่ของเราในทุกหน่วย ซึ่งเทรนไปประมาณ 500 คนแล้ว และจะเพิ่มไปให้มากที่สุด คือเรา มีเจ้าหน้าที่อยู่แล้ว แต่เพียงว่าเราจะปรับบทบาทเขาให้มากขึ้นอีกนิด หนึ่งด้วยการอบรมเจ้าหน้าที่ และจะมีการปรับเปลี่ยนรถในการทำงาน เป็นรถสีชมพู และติดสัญลักษณ์สายด่วน 1300 แต่ถามว่าตรงนี้พอหรือเปล่า ยอมรับตามตรงว่าอย่างไรก็ไม่พอ ซึ่งหน่วยพวกนี้จะ ต้องสร้างเครือข่ายหาอาสาสมัครในการพัฒนาสังคม ในพื้นที่โดยดึง ชาวบ้านเข้ามาเป็นเครือข่ายในการสอดส่องดูแล แต่ถ้าเหลือบ่ากว่า แรง เจ้าหน้าที่ของรัฐก็จะส่งกำลังเข้าไปช่วยดูแล ซึ่งใหม่ๆ คงจะทำแบบปุ๊บปั๊บไม่ได้ แต่อย่างน้อยถ้ามันเหลือบ่ากว่าแรง เจ้าหน้าที่ รัฐก็จะสามารถเข้าไปดูแลได้ เพราะหน่วยอย่างนี้มันสามารถกำหนด โซนนิ่งทั่วประเทศได้"

{gt}{gt} ขยายความถึงเครือข่ายที่จะเข้ามาช่วย

"ผมเรียนก่อนว่า ลำพังหน่วยงานรัฐเพียงหน่วยงานเดียว ไม่ สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งโครงการนี้ หน่วยงานรัฐจะเป็นเครือข่ายหนึ่งที่เป็นหลักในการแก้ปัญหา คือ หน่วยผมจะเป็น กระโถนท้องพระโรง ถ้าหน่วยไหนไม่สามารถทำได้ หรือไม่มีแล้วก็จะมาลงที่หน่วยของผม แต่ก่อนจะมาถึงหน่วยของผมมันก็จะมีเครือ ข่ายในชุมชน ในหมู่บ้าน และจะมีหน่วยรับแจ้งที่ผมบอกว่ามีเป็นหมื่นๆ หน่วย พอเข้าระบบเครือข่ายปุ๊บทุกคนก็จะมีภาระความรับผิดชอบ อย่างน้อยก็ต้องแจ้งเข้าไปที่ศูนย์ และศูนย์ก็จะมีภาระรับผิดชอบ หาก เป็นเรื่อง STOP TEEN MOM ก็จะเป็นเรื่องของโรงพยาบาล ถ้า เป็นเรื่องการค้ามนุษย์ก็เป็นเรื่องของตำรวจ ถ้าเป็นเรื่องความรุนแรง ภายในครอบครัวก็จะเป็นหน่วยงานของผม และถ้าเป็นเรื่องแรงงาน เด็ก ก็จะเป็นเรื่องของกระทรวงแรงงาน ซึ่งจะเป็น 4 หน่วยงานหลัก ในการแก้ปัญหา เพราะฉะนั้น อย่างน้อยก็จะมีตัวเจ้าภาพหลัก ส่วน เจ้าภาพรองก็คือทุกหน่วยที่จะเป็นฝ่ายรับเรื่องร้องเรียน ซึ่งอย่างน้อย ก็จะมีหน่วยงานในการรับผิดชอบ ซึ่งดีกว่าในอดีตที่ไม่มีเจ้าภาพเลย"

{gt}{gt} ในด้านจิตวิทยาที่โครงการนี้จะลงไป จะทำอย่างไร ให้ชาวบ้านสัมผัสถึงความสุข

"เริ่มแรกเราต้องเข้าถึงชาวบ้านให้ได้ก่อน เมื่อเข้าถึงแล้วเขา ต้องได้รับการตอบสนอง ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนพอใจหรือไม่พอใจ แต่อย่างน้อยให้เขารู้ว่าเราเป็นที่พึ่ง ถ้าเดือดร้อนเขาต้องรู้ว่าจะพึ่ง ใครได้ ติดตามได้ว่าจะพึ่งได้ถึงแค่ไหน อันนี้คือเกมรุกของปัญหา แต่ ในขั้นต่อไปที่จะพัฒนาให้ยั่งยืนนั้น คงต้องอาศัยเวลาเข้าช่วย เมื่อทุกฝ่ายสามารถที่จะบูรณาการงานกันได้ แล้วมีเจ้าภาพหลักก็น่าจะ ราบรื่น ถ้าหาเจ้าภาพหลักไม่ได้โอกาสที่จะเชื่อมหรือพัฒนาประสิทธิ-ภาพมันจะยาก แต่เมื่อมีเจ้าภาพหลัก มีเจ้าภาพรองแล้ว โอกาสในการพัฒนาก็สูง และเมื่อนายกรัฐมนตรีลงมาเล่นเองอย่างนี้ ก็จะ มีความเป็นไปค่อนข้างสูงในการจัดการปัญหา"

นอกจากนี้ ยังมีระบบการติดตาม เมื่อได้รับเสียงเตือนจะไม่ใช่ แค่เตือนตัวผู้ปฏิบัติ แต่ได้เตือนไปถึงผู้บริหารเข้าไปสู่ระบบและส่ง ต่อเข้าไปที่ทำเนียบรัฐบาลด้วย ถือเป็นการเตือนในหลายระบบจำกัดความได้ว่าทุกอย่างสามารถเข้าถึงไว และหากทำได้ดีมันก็จะมีความสุข และเป็นขั้นตอนการทำงานที่จะบูรณาการปัญหาได้อย่างยั่งยืน

{gt}{gt} กิจกรรมโครงการที่จะดำเนินการต่อ หลังจากคิกออฟไปแล้ว

"ที่ได้อธิบายไปแล้วนั้น ถือเป็นเสี้ยวหนึ่งของตัวโครงการ โดย เราจะสร้างจิตสำนึกขึ้นมา เพื่อยุติความรุนแรงในครอบครัว มุ่งเน้น การคุมประเด็นในส่วนของผู้ชาย ถ้าผู้ชายไม่กระทำ ไม่ยอมรับ และ ไม่นิ่งเฉย ก็เชื่อได้ว่า สถิติการใช้ความรุนแรงที่สูงถึง 20 นาทีต่อ 1 คน ก็น่าจะลดลงด้วย ดังนั้น จะเราเปิดเกมในวันที่ 28 มี.ค.นี้ ตั้งแต่เวลา 17.00 น. ที่ลานหน้าห้างเซ็นทรัลเวิร์ลด์ เพื่อเป็นการคิกออฟให้เห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะตระหนักในความสำคัญของปัญหานี้ อีกทั้งผู้ชายก็ควรทำตัวเป็นสุภาพบุรุษ ถ้าไม่เป็นคนก่อ ก็ต้องไม่นิ่งดูดาย หรือถ้าเคยเป็นคนก่อก็ต้องหยุด แต่หากรู้เห็น ก็ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยระงับเหตุ อย่านิ่งดูดาย"

ทั้งนี้ ในงานวันที่ 28 มี.ค.ยังได้มีการจัดนิทรรศการ โดยจะชี้ให้เห็นว่าความรุนแรงได้ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง และมีทางออก อย่างไร จะรวมพลังกันอย่างไร หรือเพียงแค่กดไลค์บนหน้าเว็บ ก็ยังช่วยได้อีกทางหนึ่ง จากนั้นเราก็ไปว่ากันถึงเครือข่ายที่เข้ามาช่วย เหลือ ซึ่งมีทั้งมูลนิธิปวีณาที่ทำงานร่วมกันมาตลอด มีมูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิหญิงไทยพัฒนา กองทุนสหประชาชาติเกี่ยวกับเรื่อง ผู้หญิง ทางโรงพยาบาลตำรวจก็จะมาช่วยกับเรา มีหน่วยงานต่างๆ มาช่วยเป็นพลังตรงจุดนี้ โดยมีการแสดงคอนเสิร์ต มีจำอวดในเรื่อง ของสุภาพบุรุษ และกิจกรรมอีกมากมาย ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสร้างกระแส หรือสร้างแรงกระเพื่อมใหญ่ๆ ให้เกิดขึ้นในสังคม

อย่างไรก็ดี ได้มีการจัดเสวนาขึ้น โดยมีผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่านเข้ามาร่วมด้วย อาทิ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ และผู้แทน จากภาคส่วนต่างๆ จากนั้นทุกภาคีเครือข่ายจะร่วมเป็นสักขีพยาน และประกาศเจตนารมณ์เพื่อยุติความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งเราจะ ใช้เวทีตรงนี้เข้ามาช่วยให้เกิดการตื่นตัว สำหรับเป้าหมายที่วางไว้คือการสร้างแรงกระเพื่อมใหญ่ให้เกิดขึ้น แต่เราก็ไม่กล้าตั้งความหวัง ว่าความรุนแรงดังกล่าวจะหมดไป หรือลดลงให้ได้เท่านั้นเท่านี้ แม้เราไม่อยากให้ปัญหานี้เกิดขึ้น เพียงแต่ขอให้ลดลงได้ในระดับที่ น่าพึงพอใจ หรือเหลือสักครึ่งหนึ่งก็ยังดี ซึ่งต้องรอดูสถานการณ์ใน 1 ปีแรกก่อน ว่าถ้าทำเต็มที่แล้วจะอยู่ในระดับไหน

{gt}{gt} จะบอกต่อสังคมอย่างไรในการรณรงค์เพื่อลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

ในสังคมไทยครอบครัว คือสถาบันที่เล็กที่สุดแต่สำคัญที่สุด ที่บอกกันว่าชาติสุขสม สังคมดีได้นั้นมันเริ่มมาจากที่บ้าน ดังนั้น เมื่อ เกิดปัญหาขึ้นภายในครอบครัวจึงถือเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดา เพราะเมื่อจุดที่เล็กแต่สำคัญที่สุดได้เกิดปัญหา หรือเมื่อใดที่ครอบครัวเกิด ปัญหา มันจะขยายออกไปยังภายนอกทันที เราจึงต้องหยุดที่เหตุ กลับ มาแก้ปัญหาที่ครอบครัวเพื่อสร้างบ้านเราให้มีความสุข ส่วนวิธีการ ก็คือ อย่าให้ปัญหามันเกิด ไม่ก่อให้เกิดความรุนแรงในบ้านตัวเอง จึงถือเป็นจุดที่จะไม่ทำให้ปัญหาสังคมเกิดขึ้น เช่นใน พ.ร.บ. ที่เกี่ยว ข้องกับความรุนแรงในครอบครัวนั้น ก็ได้เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถ มีส่วนร่วมได้ ด้วยการแจ้งเหตุผ่านทางสายด่วน 1300 หากเห็นปัญหา ความรุนแรงในครอบครัวเป็นการช่วยกันระงับเหตุ ซึ่งทุกคนต้องไม่นิ่งดูดายและควรมีส่วนร่วมในการทำให้สังคมไทยดีขึ้น โดยเริ่มที่ ครอบครัวเป็นอันดับแรก และยังเป็นการช่วยเติมเต็มจิตสำนึกที่เขา หลงลืมไป

และนี่ก็คืออีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ จะเริ่มคิกออฟออกมาจรรโลงสังคมไทยให้ยั่งยืน


บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ