Toggle navigation
วันพุธ ที่ 30 เมษายน 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
หุ้น-กองทุนรวม
ANAN เจ้าตลาดคอนโดฯแนวรถไฟฟ้า
ANAN เจ้าตลาดคอนโดฯแนวรถไฟฟ้า
วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557
Tweet
ภายหลังการรัฐประหารในเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา ก็ได้ช่วยปลดล็อกให้กับหลายธุรกิจที่กลับมาวางแผนงานในอนาคตได้อีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มอสังหาฯ ที่ตกหล่มในไตรมาส 1/57 เมื่อลูกค้าต่างไม่มีอารมณ์ในการซื้อที่อยู่ ผนวกกับธนาคารเองก็เริ่มเข้มงวดมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อบ้าน แต่เมื่อการเมืองคลี่คลาย ยอดซื้อขายบ้านก็กลับมาคึกคักกันทีเดียว สังเกตจากราคาหุ้นอสังหาฯ หลายตัวที่วิ่งขึ้นกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งหุ้นตัวหนึ่งที่น่าจับตาไม่น้อยก็คือ ANAN
ANAN หรือ อนันดา พร็อพเพอร์ตี้ เป็นบริษัทอสังหาฯ ขนาดกลางที่เติบโตเร็วมากในระยะ 2-3 ปีมานี้ จากการเกาะเทรนด์ condo fever ที่คนยุคใหม่ ที่กลัวน้ำท่วม, เบื่อรถติด หรืออยากแยกออกมาใช้ชีวิตส่วนตัวจากพ่อแม่ ทำให้กระแสการใช้ชีวิตในคอนโดฯ ขยายตัวขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน Segment ของคอนโดฯแนวรถไฟฟ้า ที่หากดูราคาเฉลี่ย 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาขายได้ปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 30% จากราคา ตร.ม.เฉลี่ย 6-7 หมื่นบาท ขึ้นแตะหลักแสน และหากเป็นคอนโดฯ high end หน่อยราคาขึ้นไปอยู่ที่ราวๆ 1.5-1.8 แสนบาท/ตร.ม. ทำให้มีแรงซื้อเข้ามาทั้งจาก real demand และ speculate อย่างมาก
ทั้งนี้ ANAN ซึ่งเคลมตัวเองว่าเป็นเจ้าตลาดคอนโดฯฯ แนวรถไฟฟ้า (หรือไม่เกิน 300 ม.จากสถานีรถไฟฟ้า) สังเกตดูได้จาก brand ของ ANAN เช่น Ideo Mobi, Ashton, Elio, Ideo เหล่านี้ที่ผุดขึ้นตามสถานีรถไฟฟ้าต่างๆ จุดเริ่มต้นของ ANAN อยู่ที่การมองตลาดฯ ใน segment นี้ได้ล่วงหน้า แล้วใช้ฝีมือในการกว้านซื้อที่ดินบริเวณสถานีรถไฟฟ้าเก็บใส่พอร์ตไว้ แม้ปัจจุบันจะมีคู่แข่งหันเข้ามาในตลาดคอนโดฯ แนวรถไฟฟ้านี้ แต่พูดถึงยอดขาย รวมถึง backlog ในมือแล้ว ก็ยังต้องยอมรับฝีมือของ ANAN อยู่อีกทั้งหากดูอัตรา resale คอนโดฯ ของ ANAN รวมถึงการปล่อยเช่า ซึ่งที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนแก่ผู้ซื้อในอัตราที่สูง นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มีกลุ่มลูกค้าเดิม ตามซื้อโครงการเปิดใหม่ของ ANAN อยู่อย่างสม่ำเสมอ
ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของ Developer ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมาคือ การขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ เนื่องจากตลาดอสังหาฯ เติบโตเร็วมาก ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว รวมถึงปัญหาคุณภาพการก่อสร้าง ที่เกิด defect หลังสร้างเสร็จ จนต้องตามล้างตามเช็ดกันให้วุ่น ไม่ว่าจะเป็น PS, SIRI หรือกระทั่ง AP ก็ตาม ซึ่ง ANAN เองก็ได้แก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยใช้รูปแบบก่อสร้างสำเร็จรูปคล้ายกับ LPN โดยทำ precast ซึ่งสามารถควบคุมคุณภาพได้ ทำให้ปิดการโอนได้อย่างรวดเร็ว อันจะส่งผลดีต่อการรับรู้รายได้ และ Cash flow
หากถามว่าอะไรคือจุดเด่นของ ANAN ที่สามารถแทรกตัวขึ้นมาเป็นหนึ่งในผู้เล่นในตลาดอสังหาฯ บ้านเราที่มีการแข่งขันสูงจากเจ้าตลาดเดิมได้ ก็ต้องบอกเลยว่าคือการ “คิดต่าง” จากผู้เล่นรายอื่น ซึ่งเริ่มจากการ “จับ” ตลาดคอนโดฯแนวรถไฟฟ้าก่อนเพื่อน ซึ่งทำให้มีประสบการณ์ รวมถึงการทำ research ก่อนที่จะเข้าซื้อที่ดิน ทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าคอนโดฯ แนวรถไฟฟ้าได้มาก สังเกตจากยอดขาย, ราคา และการขายต่อ (resale) ของคอนโดฯ ในแนวรถไฟฟ้าอยู่ในระดับที่ดีมากโดยตลอด แม้กระทั่งในช่วงครึ่งปีแรกที่ธนาคารเข้มงวดการปล่อยสินเชื่ออสังหาฯ Cancellation rate อยู่เพียง 3.1% และ 2.1% (Q1-Q2/57) เท่านั้น
เมื่อดูจากผลประกอบการของ ANAN พบว่ามีอัตราการเติบโตที่น่าสนใจ โดยใน 6 เดือนแรกปี 57 ยอดขายเติบโตขึ้นถึง 116% (YoY) โดยมีกำไรสุทธิ 429 ลบ. เทียบกับขาดทุน 91 ลบ.ในครึ่งแรกปี 56 อันเป็นผลจากการควบคุมต้นทุนที่ดีขึ้น
ทั้งนี้แม้ยอดขายครึ่งปีแรกจะดี แต่ครึ่งหลังของปี 57 น่าจะดีกว่าอีก โดยคาดจะรับรู้รายได้อีกราวๆ 4 พันลบ. ซึ่งจะทำให้กำไรทั้งปีได้ไม่ต่ำกว่า 900 ลบ. และ เมื่อดูจาก blacklog project อีกราวๆ 1.7 หมื่นลบ. น่าจะช่วยให้ยอดขายของ ANAN ใน 3 ปีข้างหน้าเติบโตได้เฉลี่ยราวๆ 20% โดยเฉพาะในปี 59-60 คาดยอดขายจะพุ่งไปแตะระดับ 1.7 และ 2.7 หมื่นลบ. ได้จากการรับรู้รายได้ในหลายโครงการที่เริ่มก่อสร้าง รวมถึงโครงการที่วางแผนจะซื้อต่อ และการร่วมทุนก่อสร้างกับ partner
ในช่วงตั้งแต่เดือน พ.ค. 57 ที่ผ่านมา สัญญาณยอดขายของ ANAN เริ่มมีสัญญาณดี ส่งกลิ่นให้ทั้ง VI และ Funds หลายแห่งขอเข้าพบผู้บริหาร หลังจากนั้นจึงเห็นการไล่ซื้อเก็บหุ้น จนราคาพุ่งขึ้นจาก 1.8-1.9 บาท ขึ้นมาแตะแถวๆ 3 บาท ในระยะเวลาเพียง 3 เดือน แต่ก็ยังไม่ใช่ราคาสูงสุดที่ ANAN เคยทำได้ตอนเข้าตลาดในช่วงแรกที่ราคาแถวๆ 5 บาท
แม้ราคาหุ้น ANAN จะปรับขึ้นมากว่า 50% รับข่าวกำไร และการจ่ายปันผล แต่เชื่อว่าจากการรับรู้รายได้ในครึ่งหลังปี 57 ซึ่งจะสูงกว่าครึ่งปีแรก รวมถึงคาดการณ์อัตราการเติบโตของกำไรใน 3 ปีข้างหน้า ยิ่งด้วย PER และ PBV ที่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม แม้จะมีความเสี่ยงบ้างเรื่อง DE ratio แต่หากมอง growth rate ในอัตราที่สูง ผนวกกับแนวโน้มเศรษฐกิจใน 2 ปีข้างหน้าภายใต้ฝีมือการบริหารเบ็ดเสร็จของ คสช. ที่คาดว่าจะ GDP จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 5% แล้ว ราคาหุ้นแถวๆ 3 บาท ก็ยังน่าซื้อลงทุนอยู่ไม่น้อย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
BAM โชว์กำไรปี 67 โตต่อเพิ่มขึ้น 4.4% เ...
...
นับถอยหลัง 3 วัน สุดท้าย แลกหุ้น TIDLOR ...
...
ภาคตลาดทุนพร้อมรองรับการลงทุนในกองทุน Th...
...
BAM มั่นใจธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง หลัง TRI...
...
Gold2Go by Intergold เปิดตัวเหรียญ “บิทค...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ