กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามได้เสนอแนวทางควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกต้องภายใต้กฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในประเทศ แทนการแบนบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนที่สนับสนุนโดยกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขเวียดนามจะเสนอให้รัฐบาลยื่นเรื่องต่อรัฐสภาเพื่อออกกฎหมายแบนบุหรี่ไฟฟ้า โดยอ้างข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) แต่ข้อเสนอนี้กำลังถูกวิจารณ์อย่างแพร่หลาย เนื่องจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ แนวทางควบคุมในต่างประเทศ และข้อเท็จจริงจากประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกได้พิสูจน์ว่าการควบคุมให้ถูกกฎหมายนั้นเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุดความแตกต่างระหว่างนโยบายการแบนและการควบคุม
แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขเวียดนามจะเสนอให้แบนผลิตภัณฑ์ดังกล่าว แต่กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามได้เสนอแนวทางอื่นๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ความเป็นจริงในประเทศ เช่น อนุญาตจำหน่ายอย่างเป็นทางการหรือ “นำร่องจำหน่าย” ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของยาสูบ ซึ่งได้รับการควบคุมอย่างถูกกฎหมายภายใต้กฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบ ควบคุมการซื้อขายบนช่องทางออนไลน์ และมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขเสนอนโยบายสำหรับควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าโดยเฉพาะ
อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันกระทรวงที่เกี่ยวข้องรวมถึงหน่วยงานสาธารณสุขยังไม่ได้ข้อตกลงร่วมกันในทางเลือกดังกล่าว ทั้งนี้ เป้าหมายของมาตรการแบนที่เสนอโดยกระทรวงสาธารณสุขคือการมุ่งเน้นการป้องกันการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าในวัยรุ่น ขณะที่เป้าหมายของมาตรการควบคุมที่เสนอโดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าคือการป้องกันการลักลอบนำเข้าผ่านมาตรการทางกฎหมาย
เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆทั่วโลก แม้จะมีการบังคับใช้มาตรการแบนบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน แต่สถานการณ์การใช้บุหรี่ไฟฟ้าในวัยรุ่นนั้นยังคงมีอยู่และมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น
ในประเทศออสเตรเลีย มีรายงานว่าวัยรุ่นอายุ 15-19 ปีมีอัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าทุกวันอยู่ที่ร้อยละ 15.1 ในปี 2023 และอัตราดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในระยะเวลาเพียง 1 ปี แม้ออสเตรเลียจะมีนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าก็ตาม
ในบรรดาประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียน ประเทศไทยได้บังคับใช้มาตรการแบนบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนตั้งแต่ปี 2558 ทว่าจากข้อมูลชี้ว่าตั้งแต่ปี 2558 ถึง 2566 ในประเทศไทยมีเด็กและเยาวชนอายุ 13-15 ปีที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามากถึงร้อยละ 17.6 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2558 (ร้อยละ 3.3) แม้จะมีมาตรการแบนก็ตาม
ในทางตรงกันข้าม ประเทศที่อนุญาตให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่อื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา มีอัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนลดลงอย่างต่อเนื่อง ตามรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (US CDC) และ องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US FDA) ระบุว่าในปี 2019 อัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเยาวชนอเมริกันอยู่ที่ 27.7 อย่างไรก็ตาม ภายในปี 2023 อัตรานี้จะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 10
ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการตลาดการค้าและช่องทางตลาดออนไลน์จากหลายประเทศแสดงให้เห็นว่า "ตลาดมืด" เป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่ต้องแก้ไข นอกจากการแบนจะทําให้สูญเสียภาษีโดยสิ้นเชิงแล้ว ยังนำมาซึ่งความล้มเหลวในการควบคุมตลาดมืดเพื่อป้องกันการเข้าถึงของเด็กและเยาวชนอีกด้วย
ข้อมูลของหน่วยงานด้านภาษีของออสเตรเลียระบุว่า รัฐบาลออสเตรเลียสูญเสียรายได้ภาษีที่อาจเก็บได้จากบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ไปกว่า 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงปี 2021 – 2022 ขณะที่ในเวียดนาม การลักลอบนําเข้าบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบไร้ควันทําให้รัฐบาลเวียดนามสูญเสียอย่างน้อย 8.5 พันล้านดองต่อปี (ประมาณ 12 ล้านบาท)
/////////////////////////////////////////////////
อ้างอิง: https://daidoanket.vn/co-nen-cam-thuoc-la-dien-tu-va-thuoc-la-lam-nong-10286470.html