Toggle navigation
วันศุกร์ ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
อสังหาริมทรัพย์
การจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน
การจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน
วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556
Tweet
ต่อเนื่องจากฉบับที่แล้วนะครับ ตามที่ได้มีท่านคณะกรรมการของนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่ง สอบถามประเด็นในเรื่องเกี่ยวกับการจดทะเบียนภาระจำยอมและได้ให้ความเห็นไปแล้วนั้น ในเรื่องดังกล่าวเห็นว่ามีข้อมูลที่เกี่ยวข้อง อีกจึงได้ไปหาเพิ่มเติมมาให้ครับ เผื่อว่าท่านคณะกรรมการฯ ดังกล่าว และ/หรือจะมีท่านอื่นใดประสงค์ทราบรายละเอียด/รวมถึงเป็นแนวทางและวิธีการในการดำเนินงาน หรือหากมีบุคคลผู้สนใจทั่วไปได้รับทราบ กล่าวคือเรื่อง การจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน ซึ่งข้อมูลที่ไปค้นหามานั้น พอสรุปได้ดังต่อไปนี้ ครับ
สิทธิเหนือพื้นดิน คือ ทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง ซึ่งเจ้าของที่ดินอาจก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่บุคคลอื่น โดยให้ผู้ทรงสิทธิมีสิทธิเป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งเพาะปลูกบนดิน หรือใต้ดิน สำหรับประเภทของการจดทะเบียนฯ นั้น ประกอบไปด้วย
1.สิทธิเหนือพื้นดิน หมายถึง กรณีเจ้าของที่ดินก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินในที่ดินของตนทั้งหมด
2.สิทธิเหนือพื้นดินเฉพาะส่วน หมายถึง กรณีเจ้ารวมคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนในที่ดินแต่ไม่ใช่ทุกคนก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินในที่ดินเฉพาะส่วนของตน
3.แบ่งก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน หมายถึง กรณีเจ้าของที่ดินก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินบางส่วนไม่เต็มแปลง
4.ปลอดสิทธิเหนือพื้นดิน หมายถึง กรณีได้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินไว้แล้ว ต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าว และคู่กรณีตกลงกันให้ที่ดินแปลงที่แบ่งแยกออกไป หรือที่ดินแปลงคงเหลือไม่มีสิทธิเหนือพื้นดินต่อไป
5.โอนมรดกสิทธิเหนือพื้นดิน หมายถึง กรณีได้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินไว้แล้วต่อมาผู้ทรงสิทธิตาย ทายาทผู้ทรงสิทธิมาขอรับมรดกสิทธิเหนือพื้นดินที่ได้จดทะเบียนไว้
6.เลิกสิทธิเหนือพื้นดิน หมายถึง กรณีได้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินไว้แล้วต่อมาเจ้าของที่ดินและผู้ทรงสิทธิตกลงกันให้เลิกสิทธิเหนือพื้นดิน
นอกจากนั้นแล้ว สิทธิเหนือพื้นดิน จะก่อให้เกิดโดยมีกำหนดเวลา (ห้ามเกิน 30 ปี) หรือตลอดชีวิต เจ้าของที่ดิน หรือตลอดชีวิตผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินนั้นก็ได้ และสิทธิเหนือพื้นดินอาจโอนได้และรับมรดกกันได้และเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ขออนุญาตนำแนวทางการวินิจฉัยที่สำคัญเกี่ยวกับสิทธิเหนือพื้นดิน ตามมาตรา 1410 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งได้กำหนดว่า {quot}สิทธิเหนือพื้นดิน เป็นทรัพย์สิทธิ ซึ่งผู้ทรงสิทธิมีสิทธิเป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกบนดินหรือใต้ดินของผู้อื่น ส่วนเจ้าของที่ดินยังคงมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองอยู่ เพียงแต่ยอม ให้ผู้อื่นเข้ามามีกรรมสิทธิ์ในโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งเพาะปลูกที่อยู่บนดินหรือ ใต้ดินนั้นเท่านั้น
การรวมโฉนดที่ดินเมื่อโฉนดที่ดินบางแปลงมีการจดทะเบียนแบ่งก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินครอบติดอยู่ไม่เต็มทั้งแปลง โดยระบุแนวเขตสิทธิเหนือพื้นดินไว้แน่นอน สิทธิเหนือพื้นดินก็ย่อมอยู่แต่เฉพาะตามส่วนที่ได้จดทะเบียนกันไว้เท่านั้น ไม่ครอบคลุมไปเหนือที่ดินหมดทั้งแปลงทำนองเดียวกับการจดทะเบียนภาระจำยอมบางส่วน ดังนั้น การจดทะเบียนรวมและแบ่งแยกโฉนดที่ดิน ที่ดินแปลงรวมส่วนใดหรือที่ดินแปลงแยกใดจะมีสิทธิเหนือพื้นดินครอบติดอยู่หรือไม่ ก็ย่อม เป็นไปตามข้อเท็จจริง
สิทธิเหนือพื้นดินตามมาตรา 1410 แห่ง ป.พ.พ. เป็นทรัพย์สิทธิชนิดหนึ่งที่เจ้าของยังคงมีกรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครองอยู่ เพียงแต่ยอมให้ผู้อื่นเข้ามามีสิทธิ เป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งเพาะปลูกที่มีอยู่บนดินหรือใต้ดินเท่านั้น เจ้าของที่ดินมิได้โอนที่ดินให้แก่ผู้ทรงสิทธิด้วย แม้ที่ดินนั้นจะอยู่ในข้อกำหนดห้ามโอนตามนัยมาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน หรือเป็นที่ดินว่างๆ ไม่มีโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกบนดินหรือใต้ดินในขณะก่อให้เกิดสิทธิ ก็ชอบที่จะจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้ได้{quot}
ในการจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน ภาครัฐได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการดำเนินการไว้ดังนี้ครับ
1.การจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินโดยไม่มีค่าตอบแทน เป็นการจดทะเบียน ประเภทไม่มีทุนทรัพย์ คิดค่าธรรมเนียมแปลงละ 50.- บาท
2.การจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินที่มีค่าตอบแทนเป็นการจดทะเบียนประเภท มีทุนทรัพย์ คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์พิจารณาแล้ว ให้ถือเอาค่าตอบแทนที่คู่กรณีตกลงชำระให้แก่กันเป็นราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนตามราคาค่าตอบแทนที่คู่กรณีตกลงชำระให้แก่กัน ในอัตราร้อยละ 1
นอกจากการชำระค่าธรรมเนียมแล้วนั้น ท่านต้องชำระค่าอากรแสตมป์ ดังนี้ 1.การจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินโดยมีค่าตอบแทน พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องเรียกเก็บค่าอากรแสตมป์จากจำนวนค่าตอบแทน ตามประมวลรัษฎากร ตามลักษณะตราสาร 28.(ข) ใบรับแห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
2.การจดทะเบียนทรัพย์สิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น ภาระจำยอม สิทธิเก็บกิน สิทธิอาศัย กรณีไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่กัน ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียอากรแสตมป์ตามลักษณะแห่งตราสาร 28.(ข) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับ การจดทะเบียนทรัพย์สิทธิที่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่กัน เรียกเก็บอากรแสตมป์ ร้อยละ 0.5 จากจำนวนเงินค่าตอบแทน
ข้อมูลข้างต้นได้ค้นหามาจากสำนักงานที่ดินครับ และรายละเอียดของค่าธรรมเนียมและภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนฯ นั้น ท่านสามารถสอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน กรมที่ดิน หวังว่ารายละเอียดดังกล่าวพอเป็นข้อมูลเพิ่มเติมได้นะครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
“ลลิล พร็อพเพอร์ตี้” ชี้ ศก.ไทยปี 68 โต...
...
“สัมมากร” จับเทรนด์ที่อยู่อาศัยปี 2568 ย...
...
เปิดตัว “เดอะ คอนเนค ประชาอุทิศ” บ้านทรง...
...
"เสนา" กางแผนธุรกิจปี 68 ลุยเจ้าตลาด Aff...
...
“พฤกษา” เสิร์ฟโปรปัง “เดอะ ไพรเวซี่ พาร์...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ