Toggle navigation
วันเสาร์ ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
อสังหาริมทรัพย์
มอบฉันทะและลงคะแนนเสียงเข้าร่วมประชุมใหญ่
มอบฉันทะและลงคะแนนเสียงเข้าร่วมประชุมใหญ่
วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
Tweet
มีเจ้าของร่วมของนิติบุคคลอาคารชุดฯ แห่งหนึ่งมีข้อสงสัยและประสงค์ที่จะทราบเกี่ยวกับประเด็นเรื่องของการประชุมใหญ่เจ้าของร่วมของนิติบุคคลอาคารชุดฯ ของท่าน ท่านเกริ่นให้ทราบว่า ท่านได้เข้ามาอยู่ที่อาคารชุดแห่งนี้กว่า 5 ปี แล้ว การบริหารงานของนิติบุคคลอาคารชุดฯ ของท่าน ดูไม่ค่อยโปร่งใสเท่าไหร่ คณะกรรมการฯ เป็นรายเดิมๆ ไม่เห็นมีการเปลี่ยนแปลงอะไรในทางบวก
แต่ตนเองก็มิได้สนใจในรายละเอียดมากนัก บังเอิญในช่วงประมาณปลายปีนี้ ที่อาคารชุดฯ จะมีการประชุมใหญ่เจ้าของร่วม สัปดาห์ก่อนได้ไปชำระค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่สำนักงานฯ เจ้าหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดฯ จึงสอบถามตนเองว่า จะเข้าร่วมประชุมใหญ่ที่จะจัดขึ้นในเดือนหน้าหรือไม่หากไม่เข้าร่วมประชุม ขอให้ลงนามในหนังสือมอบฉันทะให้ด้วย ท่านจึงเกิดความสงสัยประกอบกับการดำเนินงานของนิติบุคคลอาคารชุดฯ ตามความรู้สึกของท่านในตลอดช่วงที่ผ่านมาดูไม่ค่อยที่จะชัดเจนเท่าไหร่นักตามที่แจ้งแล้ว
และก็ไม่ได้ประสงค์ที่จะมีปัญหากับใคร จึงแจ้งเจ้าหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดฯ ไปว่าจะเข้าร่วมประชุม แต่ก็เห็นมีเจ้าของร่วมรายอื่นลงนามในเอกสาร ที่เจ้าหน้าที่ดังกล่าวส่งให้ จึงประสงค์ที่จะทราบว่า การมอบฉันทะในการเข้าร่วมประชุม ใหญ่เจ้าของร่วมนี้สามารถทำได้และมีข้อห้ามในเรื่องอื่นใดหรือไม่อย่างไร....? ครับ
ก่อนอื่นต้องขอชื่นชมครับ ที่ท่านไม่ดูดายเห็นอะไรไม่ถูกต้อง/สงสัยก็สอบถาม ข้อมูลมา ในประเด็นเรื่องของการมอบฉันทะในการเข้าร่วมประชุมใหญ่เจ้าของร่วม ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 ได้ระบุไว้ในมาตรา 47 ดังนี้ครับ
{quot}เจ้าของร่วมอาจมอบฉันทะเป็นหนังสือให้ผู้อื่นออกเสียงแทนตนได้ แต่ผู้รับมอบฉันทะคนหนึ่งจะรับมอบฉันทะให้ออกเสียงในการประชุมครั้งหนึ่งเกิน สามห้องชุดมิได้ และบุคคลดังต่อไปนี้จะรับมอบฉันทะให้ออกเสียงแทนเจ้าของร่วมมิได้
(1) กรรมการและคู่สมรสของกรรมการ (2) ผู้จัดการและคู่สมรสของผู้จัดการ (3) พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลอาคารชุดหรือของผู้รับจ้างของนิติบุคคล อาคารชุด (4) พนักงานหรือลูกจ้างของผู้จัดการ ในกรณีที่ผู้จัดการเป็นนิติบุคคล{quot}
ในส่วนของรูปแบบหนังสือมอบฉันทะ ตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว มิได้กำหนดรูปแบบของหนังสือมอบฉันทะไว้ครับ เพียงแต่กำหนดให้การมอบฉันทะต้อง ทำเป็นหนังสือเท่านั้น เพื่อความชัดเจนก็ขอให้คำแนะนำว่า หนังสือมอบฉันทะดังกล่าว ควรระบุเกี่ยวกัยรายละเอียด ของชื่อ/ชื่อสกุล/ที่อยู่-ภูมิลำเนา ทั้งในส่วนของผู้มอบฉันทะ และผู้รับมอบฉันทะ รวมถึงรายละเอียดของห้องชุด และที่สำคัญกิจการที่มอบให้ต้องระบุอย่างชัดเจน อีกประเด็นที่สำคัญคือ การลงลายมือชื่อของผู้มอบฉันทะต้องเหมือนกับลายมือชื่อที่ท่านได้ลงนามไว้เมื่อครั้งไปทำธุรกรรมเกี่ยวกับห้องชุดของท่านในคราวสุดท้าย และต้องให้พยานลงลายมือชื่อ รวมถึงติดอากรแสตมป์ด้วยนะครับ
สำหรับประเด็นเรื่องการลงคะแนนเสียง ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด ฉบับ พ.ศ.2522 ได้ระบุไว้ในมาตรา 45 ดังนี้ครับ {quot}ในการลงคะแนนเสียง ให้เจ้าของร่วมแต่ละรายมีคะแนนเสียงเท่ากับอัตราส่วนที่ตนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางถ้าเจ้าของร่วมคนเดียวมีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงทั้งหมดให้ลดจำนวนคะแนนเสียงของผู้นั้นลงมาเหลือเท่ากับจำนวนคะแนนเสียง ของบรรดาเจ้าของร่วมอื่นๆ รวมกัน{quot}
ในเรื่องนี้อาจมีข้อสงสัย กรณีที่เจ้าของร่วมคนเดียว มีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมด จะมีประเด็นในการลงมติได้หรือไม่อย่างไรนั้น เนื่องจากมีคะแนนเสียงข้างมาก กรณีนี้พระราชบัญญัติอาคารชุด ได้กำหนดไว้แล้วตามวรรคสองของมาตราดังกล่าว ดังนั้นหากเจ้าของร่วมคนเดียวที่มีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมด ก็ให้ลดคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมรายนั้นลงมาเหลือเท่ากับจำนวนคะแนนเสียงเจ้าของร่วมรายอื่นๆ รวมกันครับ
นอกจากนี้ในมาตรา 18/1 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 ได้ระบุว่า {quot}ในกรณีที่เจ้าของร่วมไม่ชำระเงินตามมาตรา 18 ภายในเวลาที่กำหนดต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละสิบสองต่อปีของจำนวนเงินที่ค้างชำระโดยไม่คิดทบต้นทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบังคับ เจ้าของร่วมที่ค้างชำระเงินตามมาตรา 18 ตั้งแต่หกเดือนขึ้นไปต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละยี่สิบต่อปี และอาจถูกระงับการให้บริการส่วนรวมหรือการใช้ทรัพย์ส่วนกลางตามที่กำหนด ในข้อบังคับ รวมทั้งไม่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมใหญ่เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามมาตรา ๑๘{quot}
ซึ่งหากท่านค้างชำระเงินดังกล่าวตามมาตรา 18/1 ระบุไว้ข้างต้น ท่านก็จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในเรื่องต่างๆ ในการประชุมใหญ่เจ้าของร่วม ของท่านด้วยนะครับ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติอาคารชุดทั้งสองที่กล่าวถึงข้างต้น ได้ระบุเงื่อนไข/ข้อห้ามไว้แล้ว ในส่วนของรายละเอียดในแต่ละมาตรานั้น หากยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ก็มีหนังสือของผู้รู้หลายท่าน ได้เขียนอธิบายไว้แล้ว ท่านสามารถหาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป...... ครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
เปิดตัว “เดอะ คอนเนค ประชาอุทิศ” บ้านทรง...
...
"เสนา" กางแผนธุรกิจปี 68 ลุยเจ้าตลาด Aff...
...
“พฤกษา” เสิร์ฟโปรปัง “เดอะ ไพรเวซี่ พาร์...
...
“แอสเซทไวส์” ประกาศแผนธุรกิจปี 68 เดินห...
...
“เอทีที แอสเสท” เปิดตัว “อาเว่ บางนา-สุข...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ