Toggle navigation
วันศุกร์ ที่ 25 เมษายน 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
การเงิน-ธนาคาร
8 กลยุทธ์บริหารเงินเพื่อการศึกษาบุตร!
8 กลยุทธ์บริหารเงินเพื่อการศึกษาบุตร!
วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557
Tweet
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทาง MoneyGuru ได้เสนอเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการออมของคนไทยมาเเล้ว สำหรับสัปดาห์นี้ เรามีบทความเกี่ยวกับการบริหารการเงินมาฝากอีกเช่นกัน แต่เป็นกลยุทธ์การบริหารการเงินสำหรับบรรดาผู้ปกครอง ที่กำลังมีบุตรหลาน หรือมีบุตรหลานในวัยเรียน เพื่อใช้ในการศึกษาต่อไปในอนาคต โดยบทความนี้ผู้เขียนเห็นว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจ สืบเนื่องจากผลสำรวจของมาสเตอร์การ์ดที่ชี้ว่า ครอบครัวของคนไทยมีสัดส่วนการออมเงินเพื่อการศึกษาของลูกสูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ทาง MoneyGuru จึงขอเสนอ 8 กลยุทธ์ในการบริหารการเงินเพื่อการศึกษาให้เกิดผลดีและคุ้มค่าที่สุด
1. ถามตัวเองก่อนว่า ต้องการอะไรให้กับลูก : ลองถามกับตัวเองก่อนเป็นอันดับแรกเลยว่า อะไรคือสิ่งที่เราอยากให้ลูกของเรา บางรายอาจมองว่า การให้ลูกมีความสุขที่สุด คืออันดับเเรก จึงตามใจด้วยการซื้อของเล่น ซื้อของต่างๆนานาให้ตั้งแต่เด็ก แต่ขณะเดียวกันพ่อแม่อีกไม่น้อยสอนให้ลูกรู้จักค่าของเงินและการออมเพื่อการศึกษาในอนาคต โดยชี้ให้เห็นความสำคัญของการศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่พ่อแม่ในกลุ่มนี้จะเริ่มต้นด้วยการเปิดบัญชีออมทรัพย์ให้ลูกน้อยนั่นเอง
2. พิจารณาสิ่งที่ลูกน้อยต้องการในทุกๆ ปีของการเติบโต เพื่อการใช้จ่ายที่คุ้มค่า : พ่อแม่ในยุคปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะทำงานไปด้วยทั้งนั้น ด้วยค่าครองชีพที่สูงขึ้นทุกๆ ปี ทำให้ในหลายๆ กรณีพ่อหรือแม่ไม่สามารถลาออกมาเลี้ยงดูบุตรได้ ดังนั้น สถานเลี้ยงเด็กในช่วงกลางวัน หรือ โรงเรียนเตรียมอนุบาล จึงเป็นที่นิยมมากขึ้น และมีราคาที่ค่อนข้างสูง คุณผู้ปกครองจึงควรสำรวจดูให้ดีว่า ที่ไหนดีและคุ้มค่ากับราคาที่สุด
3. คุยกับฝ่ายบุคคลของที่ทำงาน อาจจะมีกองทุนเพื่อการศึกษาบุตรของพนักงานก็เป็นได้ : การทำงานกับบางบริษัทเอกชน และการเป็นข้าราชการ คุณสามารถเบิกค่าเล่าเรียนบางส่วน หรือทั้งหมดของค่าเทอมของบุตรได้ เพราะฉะนั้น อย่าเพิกเฉยผลประโยชน์ที่คุณควรได้รับ ศึกษากฏระเบียบของผลประโยชน์ดังกล่าวจากฝ่ายบุคคลของคุณ อย่างน้อยคุณก็มีเงินเหลือเพิ่มเพื่ออนาคต หรืออาจเอาส่วนตรงนี้ไปให้ลูกเรียนพิเศษเพิ่มเติมก็ได้ ยิ่งในยุคปัจจุบันนี้ เด็กเรียนพิเศษกันมากจนแทบจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นเลยทีเดียว
4. เตรียมการอนาคตของลูกหลังอายุ 18 ปี : พูดคุยกับลูกของคุณว่าเขาอยากเรียนอะไร ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษา เพราะในแต่ละสายงานสายอาชีพ ค่าใช้จ่ายในการเรียนแตกต่างกัน การที่คุณรู้จุดมุ่งหมายแต่เนิ่นๆ จะทำให้คุณวางแผนการเงินได้ง่ายขึ้น
5. อย่าจำกัดทางเลือกการศึกษาแค่ในประเทศ : การศึกษาในต่างประเทศไม่จำเป็นว่าจะถูกที่สุดเสมอไป เพราะบางทีคุณอาจจะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นนิดหน่อย แต่ขณะเดียวกันกลับได้ประโยชน์มากกว่าหลายเท่า เพราะฉะนั้น อย่าจำกัดตัวเลือกให้กับลูกของคุณ ตัวอย่างเช่น การเรียนมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนแบบสองภาษา หรือแบบนานาชาติล้วนในประเทศ อาจมีค่าใช้จ่ายไม่ต่างมากนักกับการเรียนในต่างประเทศที่ลูกของคุณอาจจะได้ประโยชน์มากขึ้น อาทิ อินเดีย หรือ ประเทศในแถบยุโรป อย่าง ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ ที่ขึ้นชื่อเรื่องค่าเทอมที่ไม่แพงเกินจริง แต่คุณภาพสูง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีทุนการศึกษาของรัฐบาลในหลายๆ ประเทศจำนวนมากที่ให้ทุนตั้งแต่ระดับมัธยมปลายจนถึงมหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้น คุณผู้ปกครองอาจจะต้องทำงานหนักในการหาข้อมูลบ้างเท่านั้นเอง
6. มองหาช่องทางลดหย่อนภาษีจากการจ่ายค่าเทอมบุตรหลาน : ศึกษาขั้นตอนการลดหย่อนภาษีจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพราะบางที สิ่งที่คุณจ่ายไปในการศึกษาของบุตร อาจได้รับการลดหย่อนภาษีก็เป็นได้ โดยส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับประเภทของโรงเรียนที่ลูกของคุณเข้าเรียน หากคุณมีภาระทางการเงินที่หนักพอควรอยู่แล้ว คุณอาจจะเลือกประโภทโรงเรียนที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งในจำนวนนั้น ก็มีโรงเรียนที่มีคุณภาพสูงรวมอยู่ด้วยเช่นกัน จึงไม่ใช่เสมอไปที่ว่า โรงเรียนเรียนรัฐบาลที่ลดหย่อนภาษีได้ จะมีคุณภาพด้อยกว่าโรงเรียนของเอกชน เป็นต้น
7. ถ้าไม่มั่นใจ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอาจช่วยได้ : บางทีการวางแผนเองหมดทุกอย่าง อาจทำให้เกิดความเครียดได้ หรือไม่ก็ การตัดสินใจครั้งสำคัญบางอย่าง อาจไม่วางอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงเต็มร้อย อาจมีการใช้อารมณ์หรือความรู้สึกมากจนเกินไป ดังนั้น หากคุณอยากได้ผู้ช่วย หรือต้องการคนนอกมาช่วยตัดสินใจตามความเป็นจริงล้วนๆ คุณสามารถหาผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน โดยคุณเพียงให้รายละเอียดปัจจัยทางด้านการเงินต่างๆ เพื่อให้เขาช่วยตัดสินใจวางแผนการเงินให้คุณได้
8. ลองพิจารณาพันธบัตรดู : วิธีหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนระยะยาว และความเสี่ยงไม่สูงนัก เพื่อนำเงินไปใช้ในการศึกษาบุตรเมื่อถึงเวลา คือการซื้อพันธบัตร ซึ่งมีการันตีอัตราดอกเบี้ยคงที่ และยังปลอดภัยอีกด้วย ดังนั้น หากคุณมีกองทุนเพื่อการศึกษาของลูกน้อยอยู่แล้ว หรือ มีการออมเงินในทุกทุกเดือนในส่วนนี้ ลองเอาเงินจำนวนนั้นไปลงทุนในรูปพันธบัตรดูสิ บางที เมื่อถึงเวลาใช้จริง อาจจะมีกำไรเพิ่มขึ้นมา สามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้ อาทิ ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายประจำวันเป็นต้น
ท้ายที่สุดนี้ หวังว่าบทความของ MoneyGuru จะให้ไอเดียไม่มากก็น้อยในการบริหารการเงินเพื่อการศึกษาของลูกในอนาคต อย่างน้อย ก็น่าจะช่วยให้ใครหลายๆ คนมีคำแนะนำเอาไว้คอยเตือนตัวเองว่า เรากำลังเดินมาถูกทางหรือเปล่า เพราะอย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า "การเลี้ยงลูกและการศึกษาของลูก คือการลงทุนครั้งสำคัญ" เพราะฉะนั้น เราควรวางแผนให้ดี เพื่อไม่ให้เสียดายทีหลังเมื่อเวลาผ่านไปในอีก 10 ถึง 20 ปีข้างหน้านั่นเอง....
หากมีเรื่องปรึกษาด้านการเงิน การลงทุน ติดต่อได้ที่ info@moneyguru.co.th หรือ www.moneyguru.co.th
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
กลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทย เปิด...
...
Money20/20 Asia เคาะสตาร์ทอัพมาแรงของวงก...
...
เปิดงาน "Money20/20" คาดอุตสาหกรรมการชำร...
...
กลุ่มซีไอเอ็มบี แต่งตั้ง วุธว์ ธนิตติราภ...
...
ธนาคารกสิกรไทย แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1 ป...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ