Toggle navigation
วันเสาร์ ที่ 25 มีนาคม 2566
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
Classicfind
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
Www.siamturakij.com
Home
วิเคราะห์-บทความ-คอลัมน์
พระเครื่องรุ่นแรกของเมืองไทย (2)
พระเครื่องรุ่นแรกของเมืองไทย (2)
วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
Tweet
พระกริ่งคลองตะเคียน นอกจากจะเป็นพระเครื่ององค์แรกของเมืองไทยเราแล้ว รูปลักษณ์ก็ยังโดดเด่น ไม่มีพระเครื่องรุ่นใหนเทียบเคียงได้ เป็นพระกริ่งเนื้อดินที่มีพุทธลักษณะเร้าใจ เพียงแค่ได้เห็น ก็รู้ว่าเป็นพระดี ตลอดทั้งรูปร่าง เนื้อหา อักขระเลขยันต์และเม็ดกริ่งที่อยู่ภายใน มีทั้งที่ปลายแหลมและปลายไม่แหลม พระกริ่งคลองตะเคียนองค์ที่มีปลายแหลมซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพระกริ่งคลองตะเคียน เห็นที่ไหนก็รู้ทันที สมัยก่อนเรียกว่า "พิมพ์เล็บครุฑ" มาสมัยนี้คนไม่เรียกกันอย่างนี้แล้ว เรียกกันง่ายๆ แค่ว่า "พิมพ์ปลายแหลม" ซึ่งขลังสู้ของเก่าไม่ได้ ส่วนพิมพ์ที่ปลายไม่แหลมสมัยก่อนเรียกกันว่า "พิมพ์เล็บมือ" มาสมัยนี้เรียกว่า "พิมพ์ปลายมน" ในแต่ละพิมพ์ก็ยังแยกไปอีก เป็นพิมพ์หน้าใหญ่ หน้ากลาง หน้าเล็ก และพิมพ์สองหน้า ทุกพิมพ์ทุกขนาดจะมีการลงอักขระเลขยันต์ทั่วทั้งองค์ด้วยลายมือจาร ด้านหน้าเป็นพระพุทธ มีผนังโพธิ์ด้านหลัง ในพระพิมพ์หน้าใหญ่ ไหล่ยก องค์ที่โพธิ์ติดชัด จะนับใบโพธิ์ได้ 9 ใบ ทางด้านขวาขององค์พระ และนับได้ 8 ใบ ทางด้านซ้ายขององค์พระ
ในเรื่องสีของพระ ส่วนใหญ่จะเห็นเป็นสีดำเงา แสดงถึงความเก่าของรักที่ลงไว้ ซึ่งยิ่งเก่าก็ยิ่งดำเป็นเงา บางองค์สีดำจางลงสาเหตุจากอะไรก็แล้วแต่ ก็จะเห็นผิวชั้นในเป็นสีน้ำตาลของเนื้อดิน อาจจะเป็นสีเหลืองปนเขียว หรือสีอื่น ก็คือสีของ ดินที่เคยถูกรักที่ลงไว้ปกคลุมอยู่ทั้งนั้น เหมือนกับสีดินของพระรอด พระคง พระผงสุพรรณที่ไม่ได้ลงรัก ตามที่มีผู้เข้าใจว่าเนื้อพระกริ่งคลองตะเคียนมีผงใบลานเผาผสมอยู่ เนื้อพระจึงเป็นสีดำนั้น เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ผงใบลานเผาเป็นสีดำ ดินเป็นสีน้ำตาล ผสมกันแล้วก็ต้องเป็นสีน้ำตาลแก่ หรือสีดำอ่อน จะเป็นสีดำเข้มแบบสีของพระกริ่งคลองตะเคียนได้อย่างไร
ในเรื่องรูปลักษณ์ของพระกริ่งคลองตะเคียน โดยเฉพาะองค์ที่เป็นเรือธง หรือองค์ทีเป็นสัญลักษณ์ของพระกริ่งคลองตะเคียน ซึ่งได้แก่ พิมพ์หน้าใหญ่ ไหล่ ยก ปลายแหลมนี้ นับว่าพระอาจารย์ผู้สร้าง ในยุคสมัยเมื่อหลายร้อยปีก่อน สามารถ รังสรรค์พระเครื่องเยี่ยงนี้ขึ้นมาได้ น่าจะบ่งบอกได้ว่า ท่านต้องไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน
ความไม่ธรรมดาที่เห็นได้อีกประการหนึ่ง ของพระกริ่งคลองตะเคียน ก็คือเรื่องของ "กระบวนการสร้าง" พระที่สำเร็จออกมา ทั้งพิมพ์ ทั้งเนื้อ ทั้งกริ่ง และยันต์ที่จารด้วยมือทั้งองค์ ซึ่งไม่เคยพบเห็นการสร้างแบบนี้มาก่อน ก็ต้องนึกถึงกระบวนการสร้างว่าจะยุ่งยากสลับซับซ้อนถึงปานใด
เริ่มจากการเอาดินที่ละเอียดมาก (เป็นดินตะกอนสีน้ำตาลซึ่งหาได้ไม่ยากในพื้นที่ลุ่มภาคกลาง น่าจะเป็นดินที่เรียกว่า "ดินเหนียว" ที่ว่าต้องละเอียดมากนี้ ก็เพราะว่าผู้เขียนเคยเห็นพระกริ่งคลองตะเคียนบิ่นอยู่องค์หนึ่ง เนื้อในจะเป็นสีน้ำตาลและละเอียดมาก) นำมาปั้นเป็นก้อนขนาดเท่ากับพระแต่ละองค์ กดลงบนแม่พิมพ์แล้วแต่งด้านหลังให้สวยงาม การใส่เม็ดกริ่งก็สันนิษฐานว่า ขณะที่กดมวลสาร ลงพิมพ์นั้น ก็ต้องเสียบแท่งไม้ปลายมนขนาดเท่าหลอดกาแฟคาไว้ด้วย เมื่อแต่งด้าน หลังแล้ว ก็ดึงไม้ออก จึงมีที่ว่างกลวงภายในองค์พระ นำเม็ดกริ่งสองเม็ดที่แห้งสนิท บรรจุเข้าไปแล้วปิดรู (บรรจุสองเม็ดเพื่อให้กระทบกันเองจะมีเสียงดัง) นำพระที่ได้ ไปผึ่งจนแห้งสนิท (ถ้าเผาหรือถูกแดดแก่ พระจะแตกเพราะน้ำจะเร่งระเหยดันออก มา) เมื่อแห้งสนิทแล้วก็นำไปลงรัก รักแห้งดีแล้วก็เอามาจารเป็นเลขยันต์ทั้งองค์ตาม ที่เห็น เป็นอันเสร็จกระบวนการสร้างพระก่อนการปุลกเสก
อดุลย์ ฉายอรุณ : โทร.08-8696-5994
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
ความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนและโอกาสใหม่ขอ...
...
“CEO ERA THAILAND” คาดการณ์ทิศทางอนาคตธุ...
...
‘โลจิสติกส์’ กับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี...
...
เดินหน้าปลดล็อก “ทับลาน” ยัน! คืนความเป็...
...
เฉลิมฉลองครบรอบหนึ่งปีของโครงการรณรงค์ “...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ