Toggle navigation
วันเสาร์ ที่ 14 ธันวาคม 2567
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
วิเคราะห์-บทความ-คอลัมน์
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ (5)
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ (5)
วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
Tweet
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่องค์นี้ นับว่าเป็นพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ที่สร้างจากแม่พิมพ์ที่อยู่ใน "กลุ่มพิมพ์A" อีกแม่พิมพ์หนึ่ง ไม่ซ้ำกับพิมพ์ที่เคยนำเสนอไปแล้ว พระองค์นี้นับว่าเป็นพระที่สวยสมบูรณ์มากองค์หนึ่ง กดพิมพ์ได้ลึกชัดทั้งส่วนที่เป็นองค์พระ ฐาน และเส้นซุ้ม มีวรรณสีน้ำตาลอ่อน เนื้อค่อน ข้างละเอียด ซึ่งเนื้อแบบนี้จัดกันว่าเป็นเนื้อนิยมของพระสมเด็จวัดระฆัง พระพิมพ์นี้จะแลดูชะลูดกว่าพระ "พิมพ์ A" ที่แล้วมา ท่อนแขนทั้งซ้ายและขวาจะทิ้งดิ่งตรงลงมามากกว่า "พิมพ์ A" อื่นๆ จุดเด่นหรือเอกลักษณ์สำคัญของพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่พิมพ์นี้ ก็คือ เราจะเห็นท่อนขาข้างซ้ายขององค์พระที่นั่งสมาธิแบบราบอย่างชัดเจนตั้งแต่หัวเข่าถึงปลายนิ้วเท้าซึ่งถูกซ้อนโดยขาท่อนขวา
การออกแบบแม่พิมพ์ใครเห็นก็ต้องยอมรับว่า เป็นศิลปะชั้นครูที่ลอกเลียน แบบกันไม่ได้ พอพูดถึงเรื่ององค์ความรู้ต่างๆ ของบรรพชนคนไทย ที่คนรุ่นหลังทำกันไม่ได้ ทำกันไม่เป็น และไม่มีการบันทึกเป็นหลักฐานไว้ ผู้เขียนต้องขอแสดงความคิดเห็นว่า เป็นเพราะวิชาการ และองค์ความรู้ต่างๆ ไม่ได้รับการถ่ายทอด กันต่อๆ มา ซึ่งอาจจะมีอยู่หลายสาเหตุ แต่ที่แน่ๆ ที่ผู้เขียนเห็นอยู่ประการหนึ่งก็คือ "การหวงวิชา" เราจะเห็นว่า มีคำกล่าวกันอยู่เสมอว่า อาจารย์จะเก็บวิชาที่สุดยอดไว้ ไม่ถ่ายทอดให้ศิษย์จนหมด คือมีอยู่สิบระดับ ก็สอนไปแค่เก้า ระดับ ระดับที่สิบให้ศิษย์ไปคิดค้นเอาเอง ศิษย์ที่คิดไม่ออกก็สอนศิษย์รุ่นต่อมา แค่แปดระดับ และก็มีคตินิยมอีกว่า "ศิษย์ต้องไม่คิดล้างครู" เป็นอย่างนี้นานๆ เข้า หลายรุ่นเข้า องค์ความรู้ก็หมดไป เห็นได้จากตัวอย่างชัดๆ ก็เรื่องการสร้าง พระสมเด็จวัดระฆังนี่แหละ จนบัดนี้ก็ยังไม่มีผู้รู้เลยว่าสร้างกันอย่างไร ทำไมทั้งมวลสาร ทั้งแบบพิมพ์ จึงทำได้อย่างงดงาม และดูมีเสน่ห์เช่นนี้
กลับมาพิจารณาดูด้านหลังของพระองค์นี้ จะเห็นเป็นแบบที่เรียกกันว่า "หลังเรียบ" ซึ่งก็ไม่ได้เรียบแบบพระที่สร้างใหม่ มีรอยพรุนรูเข็ม รอยหนอนด้น และร่องรอยต่างๆ ที่แสดงถึงความเก่าแบบธรรมชาติ ตามสูตรของพระสมเด็จ วัดระฆังแท้นิยมเล่นหากัน จะเห็นคราบขาวที่เรียกกันว่า "แป้งโรยพิมพ์" อยู่บ้างประปราย พิจารณาให้ละเอียดลงไปอีก จะดูเหมือนว่าพระองค์นี้เคยลงรักน้ำเกลี้ยงมาก่อน ต่อมาถูกแช่น้ำซึ่งก็คือน้ำมนต์ ทำให้รักและคราบแป้งโรยพิมพ์ถูกกัดกร่อนออกจึงเป็นสภาพตามที่เห็น
เรื่องพระสมเด็จวัดระฆังแช่น้ำมนต์นี้ ผู้เขียนมีความเห็นว่า เป็นไปได้อย่างยิ่ง เพราะการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง มีจุดประสงค์ที่จะให้ผู้คนเอาไปใช้ทำน้ำมนต์ เช่นเดียวกับพระกริ่ง แต่พระกริ่งนั้นเป็นพระสำหรับชนชั้นสูง สืบทอดคติการสร้างมา ตั้งแต่สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พระสมเด็จวัดระฆังที่เจ้าพระคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างขึ้นนี้ เป็นพระที่ให้สามัญชนใช้ทำน้ำมนต์ได้เฉก เช่นเดียวกับพระกริ่ง เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ในบ่อน้ำมนต์ที่วัดระฆังซึ่งศักดิ์สิทธิ์หลายๆ บ่อ จะไม่ใส่พระสมเด็จวัดระฆังที่ท่านได้สร้างไว้เชียวหรือ
อดุลย์ ฉายอรุณ : โทร. 081-8131701
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
อย. สหรัฐฯ ชู กฎหมายคุมบุหรี่ไฟฟ้าได้ผลอ...
...
ถอดรหัสความสำเร็จจากยุค 90s สู่ T-Pop กั...
...
น้ำท่วมหนัก! สัญญาณเตือนวิกฤตอาหารและโลก...
...
ผ่ามุมมองการสร้างบริษัทโทรคมแห่งอนาคตผ่า...
...
อย่า! เอาแต่กระตุ้นเศรษฐกิจ จนลืมปรับโคร...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ